ระบบบ่งชี้อัตโนมัติ Automatic ldentificatoin สมาชิกกลุ่ม นางสาว วรีพร เพ็ชรประเสริฐ เลขที่ 4 นาย จักรพันธุ์ อดทน เลขที่ 5 นางสาว ปราณี อาทร เลขที่ 6 สาขาโลจิสติกส์ ปวส.พ 2/6
-ระบบบ่งชี้อัตโนมัติมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันด้านใดบ้าง -ระบบบ่งชี้อัตโนมัติสามารถแบ่งออกได้กี่ประเภทอะไรบ้าง -ระบบรหัสแท่งมีกี่รูปแบบอะไรบ้าง -ระบบสมาร์ทการ์ดนำมาใช้ประโยชน์ในด้านใดบ้าง -ระบบอาร์เอฟไอดี(RFID)ในอดีตกับปัจจุบันแตกต่างกันอย่างไร
Auto-ID : Automatic identification ระบบบ่งชี้อัตโนมัติ Barcode เทคโนโลยีรหัสแท่ง Smart card เทคโนโลยีสมาร์ตการ์ด Microchip ไมโครชิป Contactless Auto-ID เทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติแบบไร้สัมผัส Optical character recognition : OCR ระบบการอ่านอักขระด้วยแสงหรือโอซีอาร์ Biometric Symbol ระบบรหัสแทนตัวตนของสิ่งมีชีวิต Radio frequency identification : RFID คลื่นความถี่วิทยุ unique font รูปแบบเฉพาะตัว Authentication การยืนยันตัวบุคคล
ระบบบ่งชี้อัตโนมัติ Automatic identification ระบบบ่งชี้อัตโนมัติ Automatic identification ในปัจจุบันระบบบ่งชี้อัตโนมัติ (Automatic identification) หรือ Auto ID ถูกพัฒนาเพื่อนำมาใช้งานมากขึ้นทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การให้บริการโลจิสติกส์ กระบวนการผลิต การขนถ่ายสินค้าหรือวัตถุดิบ ฯลฯ โดยระบบบ่งชี้อัตโนมัติ จะหน้าที่แทนแป้นพิมพ์(Keyboard) เพื่อเพิ่มความรวดเร็วและลดข้อบกพร่อง ในการจัดเก็บข้อมูล ระบุสถานะของ คน สัตว์ สิ่งของ
ประเภทของระบบบ่งชี้อัตโนมัติ ระบบบ่งชี้อัตโนมัติมีอยู่หลายแบบตามลักษณะการใช้งานสามารถแบ่งออกได้เป็น5ระบบหลัก 1.ระบบรหัสแท่ง(Barcode) 2.ระบบการอ่านอักขระด้วยแสงหรือโอซีอาร์ (OCR : Optical Character Recognition) 3.รหัสแทนตัวตนของสิ่งมีชีวิต(Biometric) 4.ระบบสมาร์ทการ์ด(smart card) 5.ระบบอาร์เอฟไอดี(RFID)
ระบบรหัสแท่ง(Barcode) รหัสแท่งเป็นเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติที่มีการใช้งานมายาวนาน และยังคงเป็นที่นิยมใช้งานอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีราคาถูก ในปัจจุบันรหัสแท่งมี 2 แบบคือ แบบ 1 มิติ และแบบ 2 มิติ
1. รหัสแท่ง 1 มิติ รหัสแท่ง 1 มิติประกอบด้วยแท่งสีดำที่มีความกว้างยาวขนาดต่างๆ พิมพ์เรียงติดกันโดยมีช่องห่างระหว่างแท่งเป็นสีขาวที่มีความกว้างต่างกันขั้นระหว่างแท่งสีดำ ทั้งนี้ได้มีการกำหนดมาตรฐานเพื่อใช้เป็นรหัสแท่งแทนตัวอักษรและตัวเลขต่างๆ โดยรหัสแท่งหนึ่งชุดสามารถใช้แทนรหัสตัวเลขหรือตัวอักษรได้ประมาณ 20 ตัวอักษร
2.รหัสแท่ง 2 มิติ เป็นเทคโนโลยีที่ได้พัฒนามาจากเทคโนโลยีรหัสแท่ง 1 มิติ กล่าวคือรหัสแท่ง 1 มิติเก็บข้อมูลได้เฉพาะในแนวนอน ในขณะที่รหัสแท่ง 2 มิติได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ดังนั้นรหัสแท่ง 2 มิติจึงเก็บข้อมูลได้มากกว่ารหัสแท่ง 1 มิติ ประมาณ 200เท่า (หรือ 4,000 ตัวอักษร) ในพื้นที่เท่ากันหรือเล็กกว่า นอกจากนี้รหัสแท่ง 2 มิติยังสามารถถอดรหัสได้แม้ว่าภาพบางส่วนของรหัสแท่งจะขาดหายไป รหัสแท่ง 2 มิติได้ถูกนำมาใช้งานในหลายด้าน ได้แก่ ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์, ด้านกระบวนการผลิตสินค้า, ด้านการขนส่งสินค้า, ด้านการจัดการคลังสินค้า, ด้านปศุสัตว์, และด้านการแพทย์
ระบบการอ่านอักขระด้วยแสงหรือโอซีอาร์(OCR Optical Character Recognition) การอ่านอักขระด้วยแสงหรือโอซีอาร์ (OCR) เป็นเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติอีกแบบหนึ่งที่มีใช้งานมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 โดยจะทำการออกแบบตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลขให้มีรูปแบบเฉพาะตัว(unique font) ที่สามารถอ่านได้ด้วยสายตามนุษย์และเครื่องอ่าน OCR ซึ่งมีหลายรูปแบบ ระบบ OCR ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานในเชิงพาณิชย์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือทางด้านธุรกิจธนาคารนั่นคือตัวเลขที่ปรากฏอยู่ด้านล่างของเช็ค (cheque) แต่ละใบจะเป็นรหัส OCR แต่นิยมใช่กันมากคือมาตรฐาน “OCR–A Full Alphanumeric” ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือการเลือกใช้เครื่องอ่านจะต้อง มั่นใจว่าสามารถรองรับมาตรฐาน OCR ตามที่ต้องการได้ หรือมิฉะนั้นก็เลือกใช้เครื่องอ่าน OCR ที่สามารถอ่านรหัสได้หลายมาตรฐาน
เครื่องอ่านOCRที่ใช้โดยทั่วไป
รหัสแทนตัวตนของสิ่งมีชีวิต(Biometric Symbol) รหัสแทนตัวตนของสิ่งมีชีวิต(Biometric Symbol) เป็นมาตรฐานเทคโนโลยีรหัสบ่งชี้อัตโนมัติแบบใช้การสัมผัสเช่นเดียวกับมาตรฐานบาร์โค้ด และ OCR ซึ่งความหมายของการสัมผัสนั้น อาจหมายถึงการสัมผัสกันตรงๆหรือใช้ลำแสงสัมผัสก็ได้ เทคโนโลยีนี้แยกเป็น 2 ประเภท คือ การตรวจสอบโดยใช้ลายนิ้วมือ (Finger Scan) และการตรวจสอบโดยใช้เสียงพูด (Voice Recognition)
เทคโนโลยีอ่านลายนิ้วมือ(Fingerprint)
เทคโนโลยียืนยันเสียงพูด (Voice Recognition)
ระบบสมาร์ตการ์ด(smart card) สามารถแบ่งออกได้หลายประเภทดังนี้ 1 ระบบสมาร์ตการ์ด(smart card) สามารถแบ่งออกได้หลายประเภทดังนี้ 1.บัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic) เป็นเทคโนโลยีไอดีอัตโนมัติ (Automatic Identification) ที่มีผู้ใช้เป็นจำนวนมากที่สุด ได้แก่ บัตรเครดิต บัตรเครื่องถอนเงินด่วน (ATM) เป็นต้น
2.บัตรพร็อกซิมิตี้ (Proximity) หัวอ่านบัตรสามารถอ่านบัตรในระยะห่าง 2-5 ซม.ได้ หัวอ่านไม่มีการสึกหรอ ผู้ใช้เพียงทาบบัตรใกล้กับหัวอ่าน จึงเพิ่มความคล่องตัวในการใช้งานของผู้ใช้ บัตรมีหลายชนิดตามบริษัทผู้ผลิต ส่วนใหญ่บัตรประเภทนี้จะใช้งานภายในองค์กร (Closed-Loop) ไม่มีการทำงานร่วมกันกับภายนอก
3.บัตรสมาร์ทการ์ด ชนิดไม่สัมผัสกับหัวอ่าน (Contactless) เป็นแบบบัตรพร็อกซิมิตี้คือหัวอ่านบัตรสามารถอ่านบัตรในระยะห่างได้ มีระยะอ่านบัตรได้ไกลขึ้นและมีความสามารถอื่นๆมากขึ้น บัตรสมาร์ทการ์ดประเภทนี้เป็นที่นิยมมากขึ้น มีความปลอดภัยมาก การทำสำเนาบัตรทำไม่ได้ สามารถเก็บข้อมูลได้บนบัตรสำหรับการใช้งานจำเพาะบัตรสมาร์ทการ์ดนี้จัดเป็นอุปกรณ์ด้านการรักษาความปลอดภัย จึงนำมาเป็นบัตรประจำตัว บัตรโดยสาร บัตรเงินสด บัตรผ่านทางเข้าออก บัตรที่จอดรถ
4.บัตรสมาร์ทการ์ด ชนิดสัมผัสกับหัวอ่าน (Contact) มีความสามารถเหมือนบัตรสมาร์ทการ์ดชนิดไม่สัมผัสหัวอ่าน แต่การใช้งานต้องเสียบบัตรเข้ากับหัวอ่าน ซึ่งทำให้มีขั้นตอนที่เสียเวลาเพิ่มขึ้น จึงไม่เหมาะสมกับการใช้ผ่านเข้าออกที่ต้องการความรวดเร็ว ข้อดีของบัตรชนิดนี้คือบัตรมีความจุข้อมูลที่มากขึ้น สามารถเก็บข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์เพื่อเรียกดูได้ทันที เช่น รูปถ่าย ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลลายนิ้วมือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ การยืนยันตัวบุคคล (Authentication) บัตรชนิดนี้ได้ถูกนำไปใช้เป็นบัตรประชาชนใหม่ของหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย
5.บัตรวิซินนิตี้ (Vicinity) เป็นบัตรสามาร์ทการ์ดชนิดไม่สัมผัสกับหัวอ่าน ระบบสามารถอ่านบัตรในระยะห่างถึง 3 เมตรได้ แต่บัตรประเภทนี้มีข้อจำกัดในด้านหน่วยความจำบนบัตร มักถูกนำมาใช้งานด้านไอดีอัตโนมัติ (Automatic Identification) ที่เป็นออนไลน์ (On-line) ได้มีการพัฒนาให้รหัสสินค้าในรูปบาร์โค้ดมาตรฐาน (Universal Product Code,UPC) มาอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Product Code, EPC) ซึ่งมีพื้นฐานจากเทคโนโลยีนี้ มีห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศที่ลูกค้าไม่ต้องหยิบสินค้าออกจากรถเข็น แล้วเครื่องอ่านสามารถอ่านรหัสสินค้าทุกชิ้นเพื่อคำนวณราคาที่ได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาที
ระบบอาร์เอฟไอดี(RFID) RFID ย่อมาจาก Radio Frequency Identification เป็นระบบฉลากที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 โดยที่อุปกรณ์ RFID ที่มีการประดิษฐ์ขึ้นใช้งานเป็นครั้งแรกนั้น เป็นผลงานของ Leon Theremin ซึ่งสร้างให้กับรัฐบาลของประเทศรัสเซียในปี ค.ศ. 1945 ซึ่งอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาในเวลานั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องมือดักจับสัญญาณไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวระบุเอกลักษณ์อย่างที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน
RFID ใน ปัจจุบันมีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID Tag) ที่สามารถอ่านค่าได้โดยผ่านคลื่นวิทยุจากระยะห่าง เพื่อตรวจติดตามและบันทึกข้อมูลที่ติดอยู่กับป้าย ซึ่งนำไปฝังไว้ในหรือติดอยู่กับวัตถุต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ กล่อง หรือสิ่งของใดๆ สามารถติดตามข้อมูล ของวัตถุ 1 ชิ้นว่า คืออะไร ผลิตที่ไหน ใครเป็นผู้ผลิต ผลิตอย่างไร ผลิตวันไหน และเมื่อไหร่ ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนกี่ชิ้น และแต่ละชิ้นมาจากที่ไหน รวมทั้งตำแหน่งที่ตั้งของวัตถุนั้นๆ ในปัจจุบันว่าอยู่ส่วนใดในโลก โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสัมผัส (Contact-Less) หรือต้องเห็นวัตถุนั้นๆ ก่อน ทำงานโดยใช้เครื่องอ่านที่สื่อสารกับป้ายด้วยคลื่นวิทยุในการอ่านและเขียน ข้อมูล
เทคโนโลยี RFID สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เช่น การผลิตในอุตสาหกรรม, การประยุกต์ใช้กับห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์, การควบคุมการเข้า-ออกสถานที่, การปศุสัตว์, และธุรกิจการเงิน เป็นต้น ปัจจุบันนี้เทคโนโลยี RFID ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากความต้องการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ที่เคยมีข้อจำกัดทางเทคโนโลยีในอดีต
คำถาม 1. รหัสแท่ง 1 กับ 2 มิติมีความแตกต่างกันอย่างไร 2 คำถาม 1.รหัสแท่ง 1 กับ 2 มิติมีความแตกต่างกันอย่างไร 2.บัตรสมาร์ทการ์ดแบบใดที่นำไปใช้เป็นบัตรประชาชนแบบใหม่ 3.บัตรพร็อกซิมิตี้(Proximity)มีลักษณะการใช้งานอย่างไร 4.ระบบอาร์เอฟไอดี(RFID)มีลักษณะอย่างไร 5.เทคโนโลยีRFIDสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานด้านใดบ้าง