โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ้านดงเมืองน้อย หมู่ที่ 1 ตำบลดงเมือง อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสาคาม นางสาว อรพิณ คำลือชา
1. ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาว อรพิณ คำลือชา 2 1.ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาว อรพิณ คำลือชา 2.หลักการและเหตุผล จากการศึกษาในรายวิชาสารสนเทศท้องถิ่นจึงเป็นที่มาของการจัดทาโครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่นของจังหวัดมหาสารคามและได้ ศึกษาข้อมูลท้องถิ่นของ บ้านดงเมืองน้อย ตำบลดงเมือง อำเภอยางสีสุราชจังหวัดมหาสารคาม ในเรื่องประวัติหมู่บ้าน วิถีชีวิต อาชีพ สภาพความเป็นอยู่ และสถานที่สําคัญต่างๆรวมไปถึงปราชญ์ชาวบ้านที่สําคัญหมู่บ้านดังกล่าวอาจจะอยู่ห่างไกลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม แต่ก็เหมาะแก่การเป็นแหล่งเรียนรู้ในการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีดังนั้นผู้จัดทําได้มองเห็นความสําคัญของการศึกษาข้อมูลท้องถิ่นและจะนํามาเผยแพร่ให้ความรู้ส่วนของข้อมูลท้องถิ่นของ บ้านดงเมืองน้อย ตำบลดงเมือง อําเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคามแก่ผู้ที่สนใจศึกษาและสาธารณะโดยเผยแพร่ผ่านทางการจัดทําเว็บไซต์ โดยให้ทั่วถึงและเกิดประโยชน์สูงสุด
3. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลท้องถิ่น บ้านดงเมืองน้อย ตำบลดงเมือง อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม 2. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ บ้านดงเมืองน้อย ตำบลดงเมือง อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม ทำเสนอผ่านเว็บไซต์ข้อมูลท้องถิ่น 3. เพื่อประชาสัมพันธ์ท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคามให้ผู้สนใจและต้องการทราบข้อมูลของท้องถิ่นบ้านดงเมืองน้อย ตำบลดงเมือง อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม 4. กลุ่มเป้าหมาย หมู่บ้านดงเมืองน้อย ตำบลดงเมือง อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
5. วิธีการดำเนินการ ลำดับ กิจกรรม ระยะเวลา 1. สำรวจ เก็บข้อมูล 1เดือน 2. จัดทำข้อมูล ทำ PowerPoint 1 วัน 3. เผยแพร่ นำเสนอ 4. เผยแพร่สู่สาธารณะชน จัดทำเว็บไซต์ 3 วัน 5. ประเมินผลโดย อาจารย์ สอบถาม ตรวจสอบความถูกต้อง
6. เครื่องมือ/อุปกรณ์/ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงาน 1. กล้อง 2 6. เครื่องมือ/อุปกรณ์/ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงาน 1. กล้อง 2. คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 3.โทรศัพท์มือถือ 7. งบประมาณที่ใช้จ่าย 1. ค่าน้ำมัน 300 บาท 2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ 100 บาท 3. อื่นๆ 100 บาท 4. รวม 500บาท
8. สถานที่ดำเนินงาน บ้านดงเมืองน้อย ตำบลดงเมือง อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม 9. ระยะเวลาดำเนินงาน 1 สิงหาคม 2559 – 30 กันยายน 2559 10. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถานที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน วัดดงเมืองน้อย
11. การติดตามการประเมินผล 1. ประเมินจากอาจารย์ 2 11. การติดตามการประเมินผล 1. ประเมินจากอาจารย์ 2. ประเมินจากเพื่อนในห้องเรียน 12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักศึกษาทีมีความรู้ มีความสามารถในการทำงานมากยิ่งขึ้น 2. ข้อมูลที่จัดทำได้เผยแพร่สู่ประชาชนและบุคคลที่สนใจมากขึ้น 3. บุคคลที่สนใจได้รับความรู้จากโครงการและสามารถนความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำงาน
13. ผู้ดำเนินงาน นางสาวอรพิณ คำลือชา สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 14. ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอรพิณ คำลือชา หลักสูตรสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ รหัส 583130060118 และ อาจารย์นัยนา ประทุมรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
ประวัติหมู่บ้าน หมู่บ้านดงเมืองน้อย ก่อตั้งได้ประมาณ 150 ปีมาแล้ว ตั้งแต่อดีตได้มี ผู้คนอพยพมาแต่บ้านหัวช้างด้านทิศตะวันตก ห่างจากบ้านดงเมืองน้อยประมาณ5กิโลเมตร ได้อพยพมาอยู่โนนดงเมืองเก่า ต่อมาได้สร้างวัดเป็นสถานที่พักของพระและชาวบ้าน เมื่อ พ.ศ. 2465 ต่อมาบ้านดงเมืองน้อยเคยเป็นดงเก่า เป็นเมืองเก่า มีปรางค์ก่อวัง เป็นเมืองนครจำปาศรีเก่า เลยตั้งชื่อว่า บ้านดงเมืองน้อย เพราะเคยเป็นดงเมืองเก่า ต่อมามีบ้านเรือนมากขึ้นจึงได้แยกออกเป็น 5หมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านดงเมืองน้อย หมู่ที่ 2 บ้านดงเมืองใหม่ หมู่ที่ 3 บ้านป่าขาม หมู่ที่ 4 บ้านหนองเหล็ก หมู่ที่ 5 บ้านโพธิ์งาม พ่อประจักษ์ อรกุล.(2559).ประวัติหมู่บ้านดงเมืองน้อย.สัมภาษณ์
ผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน 1. พ่อบุญมี อันสีแก้ว 2. พ่อทองคาน ทุริดไธสง (คนปัจจุบัน)
จำนวนครัวเรือนและประชากร ประชากรทั้งหมด ชาย หญิง 107 453 218 235
สภาพภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง บ้านดงเมืองน้อยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ อ ที่ตั้ง บ้านดงเมืองน้อยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ อ.ยางสีสุราช มีระยะทางห่างจากตัวอำเภอ 5 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 75 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 20.5 ตารางกิโลเมตร มีลำห้วย 2 สาย และป่าสาธารณประโยชน์บางส่วน มีอาณาเขตติดต่อกัน ทิศเหนือ ติดกับ ต.บ้านกู่ อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม ทิศใต้ ติดกับ ต.หนองบัวสันตุ อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม ทิศตะวันออก ติดกับ ต.หนองบัวสันตุ อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม ทิศตะวันตก ติดกับ ต.ขามเรียน อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม
วิสัยทัศน์/ อัตลักษณ์ของชุมชน วิสัยทัศน์หมู่บ้าน ร่วมกันพัฒนา ชาวประชามั่นคง อัตลักษณ์ของชุมชน อัตลักษณ์ของชุมชนภูมิปัญญาวิถีชีวิตและการร่วมกันพัฒนา บ้านดงเมืองน้อยหมู่ที่ 1 คือ การทำนา การเลี้ยงสัตว์ หมู่บ้านศีล5
แนวโน้ม/ทิศทางการพัฒนา จากมุมมองตามกระบวนการชุมชนในการกำหนดอัตลักษณ์ของหมู่บ้าน เพื่อค้นหาองค์ความรู้ภูมิปัญญา วิถีชีวิตและความเป็นมาชุมชนของหมู่บ้านเพื่อให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาอาชีพ เพื่อเป็นองค์ความรู้ความสามารถนำไปสู่การพัฒนาหมู่บ้านตนเองให้เท่าเทียมกับหมู่บ้านอื่น ซึ่งจากลักษณ์ทั่วไปในด้านอาชีพของชุมชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพการทำนาเป็นหลัก อาชีพเสริมคือรับจ้างทั่วไป
ประเพณีวัฒนธรรมของชาวบ้าน ประชาชนในหมู่บ้านยังยืดถือขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของหมู่บ้าน ได้สืบทอดมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย ยังยืดถือขนบธรรมเนียมประเพณีมาตั้งแต่เดิม โดยเฉพาะ ฮีต 12 ครอง 14 และได้ มีกิจกรรม เป็นประจำทุกปี ถึงแม้ว่าบางพิธีกรรมอาจลืมเลือนลงไปบ้างแต่ก็ยังคงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจนถึงปัจจุบัน งานประเพณีที่ถือปฏิบัติ “ฮีตสิบสอง 1. เดือนอ้าย “บุญเข้ากรรม” 2. เดือนยี่ “ทำคูณลาน” 3. เดือนสาม “บุญข้าวจี่”
4. เดือนสี่ “บุญเผวส” 5. เดือนห้า “บุญสงกรานต์” 6. เดือนหก “บุญบั้งไฟ” 7. เดือนเจ็ด “บุญซำฮะ” 8. เดือนแปด “บุญเข้าพรรษา” 9. เดือนเก้า “บุญข้าวประดับดิน” 10. เดือนสิบ “บุญข้าวสาก” 11. เดือนสิบเอ็ด “บุญออกพรรษา” 12. เดือนสิบสอง “บุญลอยกระทง”
คลองสิบสี่ คลองสิบสี่ หมายถึง แนวทางปฎิบัติวิถีทางที่ดีที่นักปราชญ์บรรพบุรุษชาวอีสานวางไว้ เพื่อให้ผู้ปกครองนำไปเป็นแนวทางในการปกครอง พ่อแม่นำไปสอนลูกปู่ย่าตายายนำไปสอนหลาน พระนำไปสอนพุทธศาสนิกชนและประชาชนเพื่อนำไปปฏิบัติ และเป็นแนวทางปฏิบัติที่มีทั้งหมด 14 ข้อซึ่งเป็นแนวปฏิบัติระดับบุคคลครอบครัวและส่งผลต่อส่วนรวม ซึ่งยกได้ 2แนวคือบุคคลทั่วไปและสำหรับท้าวพระยาข้าราชการผู้ปกครองบ้านเมือง ซึ่งความเป็นจริงคลองสิบสี่มีความเป็นมาจากประเทศลาวเพราะกฎหมายมีคลองสิบปรากฎชัดเจนและชาวอีสานก็ใช้ภาษาอักษรลาวและคบประชนแก่ก็อ่านออกได้มากทำให้คลองสิบสี่ถูกนำเข้าสู่อีสานได้ง่าย เป็นแบบอย่างฮีตคลองจนถึงปัจจุบัน
ประเพณีที่สำคัญ วันเลี้ยงปู่ตา ชาวบ้านดงเมืองน้อยจะกำหนดหลังจากประเพณีสงกรานต์ไปแล้ว เมื่อกำหนดวันแล้ว ก็จะมีการพัฒนาผู้ชายจะมาทำความสะอาดบริเวณดอนปู่ตา และเตรียมเครื่องเซ่น ได้แก่ ไก่ต้ม ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว นับว่าเป็นอีกประเพณีที่ชาวบ้านดงเมืองน้อยสืบทอดกันมายาวนาน เพื่อทำการเสี่ยงทายว่าฝนฟ้าจะดีหรือไม่ ข้าวปลาจะอุดมสมบูรณ์หรือไม่ ขั้นตอนสุดท้ายจะมีการขอฟ้าขอฝนจุดบั้งไฟเสี่ยงทายฝนฟ้าจะตกตามฤดูกาลหรือไม่
สถานที่สำคัญของหมู่บ้าน
ดอนปู่ตา
วัดดงเมืองน้อย ประตูโขง โบสถ์
กศน.ตำบลดงเมือง
ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน
ปราชญ์ชาวบ้าน
ปราชญ์ชาวบ้านด้าน พ่อประจักษ์ อรกุล อายุ 65 ปี พ่อประจักษ์ อรกุล อายุ 65 ปี บ้านเลขที่ 16 หมู่1 บ้านดงเมืองน้อย
ปราชญ์ชาวบ้านผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น แม่สุจิตรา หามาลา อายุ 43 ปี บ้านเลขที่ 68 หมู่1 บ้านดงเมืองน้อย ตำบลดงเมือง อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
พ่อ ศิลา บงกาวงศ์ อายุ 75 ปี บ้านเลขที่ 70 หมู่1 บ้านดงเมืองน้อย ตำบลดงเมือง อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
สินค้า O-TOP การทำกระติบข้าว การกระติบข้าวชาวบ้านส่วนใหญ่ทำเป็นอาชีพเสริมและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ทำให้มีรายได้เสริมจากการทำขนมข้าวแตนน้ำแตงโม การรวมตัว เนื่องจากชาวบ้านได้ไปอบรมเรื่องงานฝีมือในอำเภอ การหารายได้เสริมรองยามว่างเว้นจากการทำนา จึงรวมตัวกันไปอบรมที่อำเภอ แล้วจัดตั้งเป็นกลุ่มขึ้นมา เพื่อหารายได้เสริมจากการกระติบข้าว
อุปกรณ์ในการทำกระติบข้าว
1. ต้นคล้า
2. มีด
3.ด้ายไนล่อน
4.เข็มขนาดใหญ่
5.กรรไกร
6.เลื่อย
7.เหล็กหมาด (เหล็กแหลม)
8.ก้านตาล
ขั้นตอนการทำกระติบข้าว
1.เตรียมคล้ามาตัดหัวท้าย ตัดให้เป็นท่อน
2. จักตอก
3. เหลาตอก
4. นำตอกไปตากแห้ง
5. นำมาสาน ใช้ขึ้นลาย 2 ยาวตามขนาดต้องการ เล็ก กลาง ใหญ่
6. ได้ตามขนาดต้องการ นำมาต่อเป็นวงกลมแล้วจึงสานต่อไปให้ได้ความสูงทั้ง 2 ข้าง ล่าง/บน ตรงกลางไว้พันสันทบเป็นส่วนริมของกระติ๊บข้าว
7. ใช้ไม้ไผ่จักตอกขนาด 1 ½ ซม 7. ใช้ไม้ไผ่จักตอกขนาด 1 ½ ซม. เหลาให้บาง สานลายขัดไว้ปิดส่วนก้นกระติ๊บข้าว
8. การเย็บฝากระติ๊บใช้เข็มใหญ่สุด และเชือกไนล่อน และใช้ไฟแช็คตัดเชือก ขั้นตอนนี้จะเย็บทุกส่วน คือ ฝา ก้น ตีน หูหิ้ว ร้อยเชือกไว้สะพาย