ศึกษาการบริหารจัดการ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนประภัสสรวิทยาชลบุรี กุลนิษฐ์ ศิลป์อุดม
วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาการบริหารจัดการระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนประภัสสรวิทยา
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มเป้าหมาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ ในโรงเรียนประภัสสรวิทยาโดยมีผู้บริหารสถานศึกษา (ผู้อำนวยการ) จำนวน 1 คน ผู้ช่วยผู้บริหาร(ผู้ช่วยผู้อำนวยการ) จำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 52 คน เจ้าหน้าที่ จำนวน 10 คน รวม 65 คน (ที่มา: ฝ่ายวิชาการโรงเรียนประภัสสรวิทยา 2556)
ผลวิเคราะห์/ตารางที่สำคัญ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของครูที่ปรึกษาใน การดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนประภัสสรวิทยา ครั้งนี้ผู้วิจัยได้ นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง ที่ศึกษา โดยการหาค่าร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตอนที่ 2 วิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในการดูแล ช่วยเหลือนักเรียน 5 ด้าน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรอง นักเรียน โดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จำแนกเป็นราย ข้อและรายด้าน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างครูโรงเรียนประภัสสรวิทยา
ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละจากกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำแนกตามเพศ
จากตารางที่ 1 ผู้ตอบแบบตอบถามทั้งหมด 65 คน เมื่อจำแนก ตามเพศ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ76.9 เป็นเพศหญิงร้อยละ 23.1 เป็นเพศ ชาย เมื่อจำแนกตามอายุพบว่าส่วนใหญ่อายุ ปีมีจำนวน 32 คนคิด เป็นร้อยละ 49.2 รองลงมา ปี 19 คน คิดเป็นร้อยละ 29 มากกว่า 45 ปี 12 คน คิดเป็นร้อยละ ต่ำกว่า 25 ปี 2 คน คิดเป็นร้อยละ 3.1 เมื่อ จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่าระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี 5 คนคิด เป็นร้อยละ 7.7 ระดับการศึกษาปริญญาตรี 56 คน คิดเป็นร้อยละ 86.2 ระดับการศึกษาปริญญาโท 2 คน คิดเป็นร้อยละ 3.1 ระดับการศึกษา ปริญญาเอก 2 คน คิดเป็นร้อยละ 3.1 เมื่อจำแนกตามตำแหน่งการ ปฏิบัติงานพบว่าผู้บริหาร 1คน คิดเป็นร้อยละ 1.5 ผู้ช่วยผู้บริหาร 2 คน คิดเป็นร้อยละ 3.1 ครูผู้สอน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 80.0 เจ้าหน้าที่ 10 คน คิดเป็นร้อยละ 15.4
ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนประภัสสรวิทยา ชลบุรีตามความคิดเห็นของผู้ตอบแบบตอบถาม จำแนกเป็นรายด้านและในภาพรวมทั้งหมด 5 ด้าน
5. สรุปผลการวิจัย 1. ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลจากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ของ โรงเรียนประภัสสรวิทยาเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ เนื่องจากจะต้องนำ ข้อมูลไปใช้ในการดำเนินงานสู่กระบวนการในชั้นต่อไป ซึ่งครูที่ปรึกษา จะต้องเป็นหลักในการดำเนินงาน สอดคล้องกับบุญหนา ศรีลาดเลา (2546) ได้ทำการวิจับเรื่องการพัฒนาดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในโรงเรียนแดนดงพิทยาคม พบว่า ครูที่ปรึกษานักเรียนเป็นบุคลากรหลัก ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนส่งผลให้นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้แสดงออกตามสภาพ
2. ด้านการคัดกรองนักเรียน โรงเรียนได้ดำเนินการคัดกรอง นักเรียนด้วยวิธีการหลายรูปแบบโดยครูที่ปรึกษา และผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องมีการใช้เครื่องมือคัดกรองที่มีคุณภาพและมีความครอบคลุม ในข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวนักเรียนสามารถคัดกรองนักเรียนได้ ตรงตามข้อมูลของแต่ละคน และนำข้อมูลมาจัดกลุ่มนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่มีปัญหา 3. ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน โรงเรียนได้ดำเนินการ โดยจัดให้มีกิจกรรมโครงการต่างๆ ในการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ให้เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถและดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมร ความสุข มีศักยภาพในความเป็นผู้นำและผู้ตาม และได้แสดงออกตาม ความรู้ ความสามารถ และตามแววอัจฉริยะของตนเอง
4. ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน โรงเรียนได้ ดำเนินการกับนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีปัญหา มีการประสานงานกับ ฝ่ายวิชาการในการแก้ปัญหาของนักเรียนด้านการเรียน ครูมีความรู้และ ทักษะในการให้คำปรึกษาตามหลักจิตวิทยาวัยรุ่น มีความจริงใจในการ ช่วย แก้ปัญหาของนักเรียนทุกคน 5. ด้านการส่งต่อนักเรียน มีการการประสานงานกับงานแนะ แนวและฝ่ายปกครองเพื่อการส่งต่อนักเรียน และติดตามผลอย่าง ต่อเนื่องขณะที่นักเรียนอยู่ในการดูแลช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญ รวมถึง การดำเนินการส่งต่อนักเรียนโดยไม่ทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกว่า ตนเองแปลกแยก ตามกระบวนการส่งต่อนักเรียนโรงเรียนประภัสสร วิทยาได้ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาของ นักเรียนที่มีปัญหา
ข้อเสนอแนะ จากผลการศึกษา ผู้จัดขอเสนอแนวทางเพื่อพัฒนาและส่งเสริม การบริหารงานระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนประภัสสร วิทยา 5 ด้านดังนี้ 1. ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ผลการศึกษาอยู่ในระดับ มาก มีสิ่งที่ควรปรับปรุงคือ ครูที่ปรึกษาควรจัดทำระบบข้อมูลพื้นฐาน ของนักเรียนให้ครบถ้วนและสร้างสัมพันธภาพระหว่างบ้านกับโรงเรียน ควรเยี่ยมบ้านและติดต่อประสานงานกับผู้ปกครองของนักเรียน 2. ด้านการคัดกรองนักเรียน ผลการศึกษาอยู่ในระดับมาก มีสิ่ง ที่ควรปรับปรุงคือผู้บริหารครูที่ปรึกษาพร้อมด้วยคณะครูผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรมีการประชุมวางแผนงานพิจารณาแนวทางการกำหนดเกณฑ์ในการ คัดกรอง
3. ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ผลการศึกษาอยู่ในระดับมาก ที่สุด มีสิ่งที่ควรปรับปรุงคือ จัดกิจกรรมควรส่งเสริมกิจกรรมที่นักเรียน สามารถแสดงออกได้ตามความรู้ความสามารถด้วยความสมัครใจ มีกิจกรรม ที่หลากหลาย 4. ด้านการป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน ผลการศึกษาอยู่ในระดับ มาก มีสิ่งที่ควรปรับปรุงคือ ครูที่ปรึกษาควรเอาใจใส่ดูแลนักเรียนโดยทั่วถึง เท่าเทียมกันทุกคนครูต้องคนที่ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์และเข้าถึงนักเรียน เข้าใจปัญหาของนักเรียนในแต่ละช่วงวัยเป็นอย่างดีที่สำคัญครูที่ปรึกษาหรือ ครูประจำชั้นต้องติดตามดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มเสี่ยง/มีปัญหาอย่าง ใกล้ชิดและต่อเนื่อง 5. ด้านการส่งต่อนักเรียน ผลการศึกษาอยู่ในระดับมาก มีสิ่งที่ควร ปรับปรุงคือ โรงเรียนประภัสสรวิทยาไม่เคยมีนักเรียนที่ต้องส่งต่อภายนอก แต่ควรมีการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆภายนอก
3. ควรศึกษาวิจัยเจตคติของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารจัดการระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาการบริหาร จัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ชุมชนกับการบริหารจัดการระบบการ ดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนประภัสสรวิทยา เพื่อเป็นแนวทางในการ บริหารจัดการต่อไป 2. ควรศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่สามารถ พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน ประภัสสรวิทยาต่อไป