การมองตนเองในภาวะคืนสู่ครอบครัวและสังคมของเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำ ในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน ผู้วิจัย คนึงนิจ วิหคมาตย์ หลักสูตร สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ปี ๒๕๕๒
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1.เพื่อศึกษาการมองตนเองของเด็กและเยาวชน ที่กระทำผิดในช่วงเวลาที่ได้รับการปล่อยตัวจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนแล้ว กลับคืนสู่ครอบครัวและสังคม 2.เพื่อศึกษาประสบการณ์ของเด็กและเยาวชนภายหลังการปล่อยตัวจากศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน
3.เพื่อศึกษาเงื่อนไขหรือสภาพการณ์ที่ มีผลให้เด็กและเยาวชนตัดสินใจกระทำผิดซ้ำภายหลังการปล่อยตัวจากศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน 4. เพื่อศึกษาความต้องการของเด็กและเยาวชนภายหลังการปล่อยจากศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน
ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของเยาวชน
พบว่า เด็กและเยาวชนต้องตกอยู่ในสถานะ ทั้งที่เป็นเหยื่อและผู้ถูกกระทำเพิ่มจำนวนมากขึ้น มีการกระทำความผิดซ้ำที่ซับซ้อนรุนแรงขึ้นและ มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ทั้งที่เกี่ยวกับ ทรัพย์ ชีวิตและร่างกาย เพศ ยาเสพติด อาวุธต่างๆ เป็นไปในทิศทางที่เพิ่มปริมาณมากขึ้น
ผลการวิจัยความเครียดของเยาวชน
พบว่า การกระทำความผิดนั้น มักจะเป็นไปทิศทางที่กำหนดสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ตนเองสามารถดำรงตัวตนมีพื้นที่และเห็นคุณค่าในตนเองมากขึ้น นอกจากทัศนะคติแล้วยังมีความเป็นพลวัตร ซับซ้อนและลึกซึ้งยากที่จะเข้าใจ เพื่อเข้าใจถึงตัวตนของเขาอย่างแท้จริงแล้วเขามีต่อตนเองมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานทางความคิด
ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย
1.ศึกษากลุ่มเด็กและเยาวชนที่ไม่กลับมากระทำความผิดซ้ำ เพื่อทำความเข้าใจถึงบริบท ที่แตกต่าง ปัจจัยที่ส่งผลให้เขาสามารถกลับตัวได้ โอกาสที่ได้รับจากสังคม วิธีการเผชิญปัญหา หรือแม้กระทั่งการมองเห็นคุณค่าในตัวเอง
2.ศึกษาวิจัยในเชิงการติดตามและประเมินผล การเตรียมความพร้อมของเด็กและเยาวชน ก่อนปล่อยและหลังปล่อยศึกษาเป็นรายกรณีไป เพื่อสามารถนำมาประยุกต์ปรับกระบวนการเตรียมเด็กและเยาวชน ก่อนปล่อย สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือหลังปล่อย เพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำ
ขอบคุณครับ