สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข บทบาททีมสหวิชาชีพในบริการปฐมภูมิและ "ทีมหมอครอบครัว" สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข สำนักอนามัย
คุณลักษณะหมอครอบครัว หมอครอบครัว คือ บุคลากรสาธารณสุขที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรขึ้นไป ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับ ด้านสาธารณสุข ในพื้นที่ที่รับผิดชอบของ รพ.สต./ศมส./หรือหน่วยบริการปฐมภูมิทุกสังกัด โดยรับผิดชอบประชากรประมาณ 1,250 – 2,500 คนต่อหมอครอบครัว
บทบาทของหมอครอบครัว ผู้ให้บริการ ครู นักจัดการ ผู้ประสานงาน / ผู้สนับสนุน นายประตู เฝ้าระวังปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้เป็นแบบอย่างที่ดี นักรณรงค์ / ผู้นำชุมชน ผู้เรียนรู้
บทบาทของแพทย์ในทีมหมอครอบครัว เป็นแพทย์ผู้ให้บริการปฐมภูมิ เป็นครู ถ่ายทอดวิชาความรู้ทางการแพทย์และความรู้ทางเวชศาสตร์ครอบครัวแก่บุคลากรทุกสาขา เป็นผู้นำและที่ปรึกษาแก่ทีมงาน เป็นนักจัดการเครือข่ายปฐมภูมิระดับอำเภอ
บทบาทของพยาบาลวิชาชีพ 1. บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในฐานะหมอครอบครัว ดูแลความเจ็บป่วยในครอบครัวที่รับผิดชอบ สนับสนุนพลังอำนาจครอบครัว ให้คำปรึกษา/แนะนำ ด้านสุขภาพ มีการประสานและปฏิบัติงานแบบเป็นหุ้นส่วน การพิทักษ์สิทธิ์ครอบครัวในความรับผิดชอบ ประสานงานการส่งต่อและติดตามผล
บทบาทของพยาบาลวิชาชีพ 2. บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในฐานะ Case manager ระดับตำบล จัดการข้อมูลสุขภาพและสังคมที่เกี่ยวข้องทุกครอบครัว ช่วยเหลือ สนับสนุนหมอครอบครัวในเขตรับผิดชอบ และติดตาม ประเมินผล ประสานทีมสนับสนุนในระดับตำบล ประสานทีมสหวิชาชีพจากทีมระดับอำเภอ เข้าดูแลร่วมกับทีมระดับตำบล ประสานการให้คำปรึกษา/ส่งต่อกับทีมระดับอำเภอ
บทบาทของพยาบาลวิชาชีพ 3. บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในฐานะทีมระดับอำเภอ มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอ ประสานงานช่วยเหลือ สนับสนุนกับทีมระดับตำบล บริหารจัดการธนาคารอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการทำงานในพื้นที่ ออกแบบระบบการจำหน่วยผู้ป่วยจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน
บทบาทนักกายภาพบำบัด การดูแลรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลันและระยะเรื้อรังในชุมชน งานออกชุมชน เพื่อรักษา ฟื้นฟูผู้ป่วยหรือผู้พิการ การคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว การส่งเสริมป้องกันปัญหาเกี่ยวกับโรคไม่ติดเชื้อ การอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครหรือจิตอาสาในชุมชน
บทบาทวิชาชีพจิตวิทยา ให้คำปรึกษาแก่ประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ร่วมให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านจิตใจ แก่ผู้ป่วยที่มีปัญหา ทางด้านสุขภาพจิต เป็นผู้ประสานงานการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน เป็นที่ปรึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ทีมหมอครอบครัวและทีมสหวิชาชีพ ให้บริการการส่งเสริม ป้องกัน ส่งต่อบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิต ร่วมสร้างเครือข่ายการบริการสุขภาพจิตในชุมชน เป็นผู้รวบรวมและจัดระบบองค์ความรู้ มีการประชุมเพื่อทบทวนองค์ความรู้อย่างสม่ำเสมอ
บทบาทวิชาชีพเภสัชกรรม พัฒนาระบบยาในหน่วยบริการปฐมภูมิ ได้แก่ งานบริหารเวชภัณฑ์ งานบริบาลเภสัชกรรม งานดูแลผู้ป่วยในระดับบุคคลและครอบครัวต่อเนื่อง ด้านเภสัชกรรม งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ งานส่งเสริมการพึ่งพาตนเองด้านสมุนไพรและสุขภาพ
บทบาทของทันตบุคลากร การจัดบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและการจัดบริการตามความจำเป็น การให้บริการทันตสุขภาพในระดับปฐมภูมิ การดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้าน
บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขในทีมหมอครอบครัว ให้สุขศึกษาสำหรับเพื่อนบ้านและชุมชนอย่างใกล้ชิด มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพของชุมชน ดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตามปฏิทินสุขภาพของชุมชนและตามกลุ่มวัย ให้ความร่วมมือกับเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพ ทีมหมอครอบครัว
บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขในทีมหมอครอบครัว สื่อสารข้อมูลระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและท้องถิ่น สำรวจและจัดทำข้อมูลด้านสุขภาพร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ติดตาม รวบรามและรายงานผลการดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ เป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นแกนนำด้านสุขภาพ