ระดับทะเลปานกลาง (MSL) ระดับทะเลปานกลางคือ ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำทะเล ซึ่งคำนวณจากผลการตรวจวัดระดับน้ำทะเลขึ้น-ลง ในที่ใดที่หนึ่งที่ได้บันทึกไว้ ติดต่อกันไว้ เป็นระยะเวลานาน การตรวจวัดระดับน้ำครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มขึ้นเมื่อใด ไม่มีหลักฐานบันทึกไว้แน่นอน การตรวจในสมัยก่อนตรวจโดยวิธีใช้บรรทัดปักไว้ในทะเล โดยมิได้เทียบกับเส้นเกณฑ์ใด ๆ รัชกาลที่ ๖ จึงได้มีการว่าจ้างชาวยุโรป ชื่อมิสเตอร์มาสเตอร์ (Master) เมื่อ ก.ย.๒๔๕๓ ให้ทำการสร้างสถานีวัดระดับน้ำแบบถาวรขึ้นที่เกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ และเริ่มใช้เครื่อง วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๔๕๓ โดยทำการตรวจวัดระดับน้ำอย่างต่อเนื่อง ถึงเดือน เม.ย.๒๔๕๔ รวม ๖ เดือนเศษ จากนั้นจึงนำผลที่ได้คำนวณหาค่าเฉลี่ย ซึ่งถือเป็นเส้นเกณฑ์อันหนึ่งเรียก ระดับทะเลปานกลาง (Mean Sea Level) และกำหนดให้ระดับทะเลปานกลาง มีค่าเป็นศูนย์ จากเส้นเกณฑ์ดังกล่าว ได้ทำการโยงระดับถ่าย ค่าไว้ที่หมุดระดับชายฝั่งของเกาะหลัก ซึ่งสร้างเป็นรอยบากบนหินทรายและให้ชื่อหมุดระดับว่า หมุด BMA มีค่าสูงกว่าระดับทะเลปานกลาง ๑.๔๔๓๙ เมตร หมุดนี้เป็นหมุดระดับแรกที่กำหนดให้เป็น เส้นเกณฑ์มาตรฐานในการโยงระดับความสูงของประเทศไทย หมุดระดับแห่งแรกของประเทศไทย รอยบากบนหินทราย หมุด BMA สถานีวัดระดับน้ำเกาะหลักเรือนเก่า
หมุดระดับที่สร้างไว้บนพิพิธภัณฑ์ กำเนิดพื้นเกณฑ์ระดับทะเลปานกลางมาตรฐานของประทศไทย หลังจากจัดทำหมุด BMA แล้วการตรวจระดับน้ำที่เกาะหลักยังดำเนินต่อไปจนถึงเดือน ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๘ รวมเวลาตรวจวัดประมาณ ๕ ปี จึงได้มีการนำเอาค่าที่บันทึกไว้ มาคำนวณ หาค่าเฉลี่ยใหม่อีกครั้งหนึ่ง ผลที่ได้ปรากฏว่า ระดับทะเลปานกลางใหม่ต่ำกว่าเดิม ๐.๐๐๓๘ เมตร ค่าของหมุด BMA จึงเปลี่ยนเป็น ๑.๔๔๗๗ เมตร เหนือระดับทะเลปานกลางเกาะหลัก ระดับทะเลปานกลางใหม่นี้ ได้ใช้เป็นพื้นเกณฑ์ระดับทะเลปานกลางมาตรฐานของประเทศไทย และจากหมุด BMA นี้ กรมแผนที่ทหารได้ทำการโยงระดับถ่ายค่าไปยังหมุดระดับทั่วประเทศเพื่อใช้เป็นพื้นเกณฑ์อ้างอิงในงานสำรวจแผนที่ทั้งทางบกและในทะเล งานวิศวกรรมชายฝั่งงานก่อสร้างและอื่น ๆ สถานีวัดระดับน้ำเกาะหลักปัจจุบัน หมุดระดับที่สร้างไว้บนพิพิธภัณฑ์ หน้าศาลากลางจังหวัด