การขัดเกลาทางสังคมซ้ำเพื่อสร้างพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ของเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ผู้วิจัย นภัสวรรณ บุญประเสริฐ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรดุษฎี บัณฑิต ปี ๒๕52
วัตถุประสงค์ของ การวิจัย
1.เพื่อสืบค้นการขัดเกลาทางสังคม ของเด็กและเยาวชนก่อนเข้ามาอยู่ใน ศูนย์ฝึกฯ เขต6 จังหวัดนครสวรรค์ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ 2. เพื่อสืบค้นการขัดเกลาทางสังคม ซ้ำที่เกิดขึ้น กับเยาวชนก่อนในศูนย์ฝึกฯ เขต6 จังหวัดนครสวรรค์ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติด เชื้อเอชไอวี/เอดส์
3.เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการขัดเกลา ทางสังคม และ การขัดเกลาทางสังคมซ้ำที่มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ของเยาวชน ในศูนย์ฝึกฯ เขต6 จังหวัดนครสวรรค์ 4.เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิง นโยบายในการจัดการขัดเกลาทาง สังคมซ้ำให้แก่เยาวชนในศูนย์ฝึกฯ เขต6 จังหวัดนครสวรรค์
ผลการศึกษาของเด็กและ เยาวชน
เด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรม เด็กและเยาวชน. เขต6 จังหวัดนครสวรรค์ เด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรม เด็กและเยาวชน เขต6 จังหวัดนครสวรรค์ -ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุที่พบมาก ที่สุด คือ 17 ปี -การศึกษา อยู่ระดับประถมศึกษา มาก ที่สุด รองลงมา คือ มัธยมศึกษา -อาชีพ ก่อนเข้ามาอยู่ในศูนย์ฝึกฯ คือ รับจ้างทั่วไป รองลงมา คือ ไม่ทำงาน -คดีที่กระทำความผิด ส่วนใหญ่ เกี่ยวกับการลักทรัพย์ รองลงมา คือ ยาเสพติด และการฆ่า และทำร้ายร่างกาย เช่น การกระทำ ชำเราหรือพรากผู้เยาว์
-พฤติกรรมด้านสุขภาพ มีพฤติกรรม การเที่ยวผับ ร้านอาหารที่มีสาวเสริ์ฟ มากที่สุด รองลงมา คือ ใช้สารเสพติดและดื่น แอลกอฮอล์ -พฤติกรรมทางเพศ มีเพศสัมพันธ์ ครั้งแรกส่วนใหญ่ คือ 15 ปี พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ คือ ไม่ใช้ถุงยางอนามัย -ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค เอดส์ มีความรู้ในระดับปานกลาง รองลงมา คือ มีความรู้ในระดับสูง -ทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดส์และวิธีการ ป้องกัน มีทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดส์ใน ระดับปานกลาง และได้รับความรู้จาก สาธารณสุขต่างๆมากที่สุด รองลงมา คือ โรงเรียน และจาก รายการโทรทัศน์
-พฤติกรรมที่ได้ความรู้เรื่องเพศ พบว่า ได้รับมาจากเกมส์ลามก/เกมส์ ออนไลน์ รองลงมา คือ หนังสือโป๊ Internet และCD/DVD -เด็กและเยาวชนเมื่อมีปัญหา ต่างๆที่เกี่ยวกับเพศ จะมีการปรึกษา บุคคลอื่นมากที่สุด คือ เพื่อนสนิท รองลงมา คือ บิดา มารดา และการเรียนรู้ด้วยตนเองทางสื่อต่างๆ ที่เด็กและเยาวชนได้รับมา
ผลการวิจัยเด็กและ เยาวชน
-กระบวนการขัดเกลาทางสังคม พบว่า การได้รับ การอบรมขัดเกลาจากบิดา มารดา เด็ก และเยาวชนได้รับการอบรมเลี้ยงดูและ ได้รับความรัก ความห่วงใยที่ดี สภาพทั่วไปในสังคม คือ มีการดุด่า ตำหนิบางเรื่องก็มีปากเสียง บางเรื่องก็ไม่สนใจที่จะเก็บเนื้อหากลับไป คิด -ผลจากการรับความรู้เรื่องเพศ พบว่า ส่วนใหญ่เรียนรู้จากสื่อลาก และมี เพื่อนที่มีพฤติกรรมสี่ยงและ จะมีประสบการณ์เช่นเดียวกันกับเพื่อนๆ รวมถึง การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย
ภายในศูนย์ฝึกและอบรมเด็ก และเยาวชน มีการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับ พฤติกรรม การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/ เอดส์ ที่เหมาะสม และจะต้อง ผ่านกระบวนการขัดเกลาทาง สังคมซ้ำจากทุกฝ่ายที่เข้มข้นและ มากพอ จึงจะสามารถสร้าง ความตระหนักได้มากขึ้นจน นำไปสู่ การมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้
ข้อเสนอแนะจาก งานวิจัย
1.ควรมีการศึกษาในหัวข้อการขัด เกลาทางสังคมซ้ำหลังจากที่เด็กได้รับ การปล่อยตัวออกไปอยู่ภายนอกแล้ว เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมต่างๆ 2.ควรมีการศึกษาวิจัยการขัดเกลา ทางสังคมซ้ำ ในประเด็นอื่นที่เกี่ยวกับความผิดด้วย การใช้ความรุนแรง เช่น การทำร้าย ร่างกาย 3.ควรมีการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบ การบริหารจัดการ ของศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ในประเด็น ของการจัดกิจกรรมเพื่อสร้าง พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอช ไอวี/เอดส์
ขอบคุณคะ