คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง การประยุกต์นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนการสอน โดยมีการพัฒนาโปรแกรมขึ้นเพื่อนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเสนอแบบติวเตอร์ (Tutorial) แบบจำลองสถานการณ์ (Simulations) หรือแบบการแก้ไขปัญหา (Problem Solving) เป็นต้น การเสนอเนื้อหาดังกล่าวเป็นการเสนอโดยตรงไปยังผู้เรียนผ่านทางจอภาพหรือแป้นพิมพ์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม วัสดุทางการสอนคือโปรแกรมหรือ Courseware ซึ่งปกติจะถูกจัดเก็บไว้ในแผ่นดิสก์หรือหน่วยความจำของเครื่องพร้อมที่จะเรียกใช้ได้ตลอดเวลา
ขั้นตอนการจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ขั้นตอนการวิเคราะห์ ขั้นออกแบบบทเรียน ขั้นตอนการจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ขั้นประเมินผล ขั้นการนำไปใช้ ขั้นพัฒนาบทเรียน
ขั้นตอนการจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ขั้นตอนการวิเคราะห์ (Analysis) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้ 1. การกำหนดหัวเรื่องและวัตถุประสงค์ทั่วไป 2. การวิเคราะห์ผู้เรียน 3. การวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 4. การวิเคราะห์เนื้อหา
ขั้นตอนการออกแบบ (Design) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้ 1 ขั้นตอนการออกแบบ (Design) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้ 1. การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียน) ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิง พฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) สื่อ กิจกรรม วิธีการ นำเสนอ และแบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test) 2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)(ขั้นตอนการเขียนผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่) 3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design) หมายถึง การจัดพื้นที่ของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และ ส่วนประกอบอื่นๆ สิ่งที่ต้องพิจารณามีดังนี้ 1. การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution) 2. การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ 3. การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 4. การกำหนดสี ได้แก่ สีของตัวอักษร (Font Color) ,สีของฉากหลัง (Background) , สีของส่วนอื่นๆ 5. การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน
3. ขั้นพัฒนาบทเรียน (Development) 3.1 เขียนรายละเอียดเนื้อหาตามรูปแบบที่ได้กำหนด (Script Development) โดยเขียนเป็นกรอบ ๆ จะต้องเขียนไปตามที่ได้ออกแบบไว้ โดยเฉพาะถ้าเป็น Interactive Multi Media : IMM จะต้องกำหนด ข้อความ ภาพ เสียง สี ฯลฯ ให้สมบูรณ์ 3.2 จัดทำลำดับเนื้อหา (Storyboard Development) เป็นการนำเอากรอบ เนื้อหาหรือที่เขียนเป็น Script ไว้ มาเรียบเรียงลำดับการนำเสนอที่ได้วางแผนไว้ 3.3 นำเนื้อหาที่ยังเป็นสิ่งพิมพ์นี้มาตรวจสอบหาค่าความถูกต้อง (Content Correctness) โดยเฉพาะการสร้าง IMMCI จะเป็นการเขียนตำราใหม่ทั้งเรื่อง 3.4 การสร้างแบบทดสอบส่วนต่าง ๆ ต้องนำมาหาค่าความยากง่าย อำนาจจำแนก ความเที่ยง และความเชื่อมั่นทุกแบบทดสอบ และต้องปรับปรุง ให้สมบูรณ์ ผลที่ได้ทั้งหมด ทั้งเนื้อหา และแบบทดสอบต่าง ๆ รวมกันจะเป็นตัว บทเรียน (Courseware)
ขั้นตอนการนำไปใช้ (Implement) การนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ไปใช้ โดยใช้กับกลุ่ม ตัวอย่างมาย เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียน ในขั้นต้น หลังจากนั้น จึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะ นำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของ บทเรียน และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความ เหมาะสมและประสิทธิภาพ
ขั้นตอนการประเมินผล (Evaluate) การประเมินการทำงานของบทเรียน ในส่วนของการ นำเสนอนั้นควรจะทำการประเมินก็คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ใน การออกแบบมาก่อนในการประเมินการทำงานของบทเรียน นั้น ผู้ออกแบบควรที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนหลังจาก ที่ได้ทำการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้ว โดยผู้เรียน จะต้องมาจากผู้เรียนในกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนนี้อาจจะ ครอบคลุมถึงการทดสอบนำร่องการประเมินผลจาก ผู้เชี่ยวชาญ
จัดทำโดย นางสาวพจมาลย์ จูมาศ รหัสนักศึกษา 541121026 นักศึกษาคณะครุศาสตร์ โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์