เป็นหลักสำคัญในการนำเสนอเนื้อหา ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ ควร นำเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ประกอบ กับคำอธิบายสั้นๆ ง่ายๆ แต่ได้ใจความ การใช้ภาพประกอบจะทำให้ผู้เรียน เข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้นและมีความคงทนใน การจำได้ดีกว่าการใช้คำอธิบายเพียงอย่าง เดียว โดยหลักการที่ว่า ภาพจะช่วยอธิบาย สิ่งที่เป็นนามธรรมให้ง่ายต่อการรับรู้ แม้ใน เนื้อหาบางช่วงจะมีความยากในการที่จะคิด สร้างภาพประกอบแต่ก็ควรพิจารณาวิธีการ ต่างๆ ที่จะนำเสนอด้วยภาพให้ได้แม้จะมี จำนวนน้อย แต่ก็ยังดีกว่าคำอธิบายเพียงคำ เดียว
ภาพที่ใช้ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอนจำแนกออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพลายเส้น ภาพ 2 มิติ ภาพ 3 มิติ ภาพถ่ายของจริง แผนภาพ แผนภูมิ และกราฟ อีกส่วนหนึ่งได้แก่ ภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพวิดีทัศน์ ภาพจาก แหล่งสัญญาณดิจิตอลต่างๆเช่น จากเครื่อง เล่นภาพโฟโต้ซีดี เครื่องเล่นเลเซอร์ดิสก์ กล้องถ่ายภาพวิดีทัศน์ และภาพจาก โปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการใช้ภาพประกอบ เนื้อหาอาจไม่ได้ผลเท่าที่ควร หากภาพ เหล่านั้นมีรายละเอียดมากเกินไป ใช้เวลา มากไปในการปรากฏบนจอภาพ ไม่ เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ซับซ้อน เข้าใจยาก และไม่เหมาะสมในเรื่องเทคนิคการ ออกแบบ เช่น ขาดความสมดุลย์ องค์ประกอบภาพไม่ดี เป็นต้น
การเลือกภาพที่ใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ใหม่ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึง ควรพิจารณาในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1. เลือกใช้ภาพประกอบการนำเสนอ เนื้อหาให้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ส่วนที่เป็นเนื้อหาสำคัญๆ 2. เลือกใช้ภาพเคลื่อนไหว สำหรับเนื้อหา ที่ยากและซับซ้อนที่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นลำดับขั้น หรือเป็นปรากฏการณ์ที่ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3. ใช้แผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ สัญลักษณ์ หรือภาพเปรียบเทียบ ในการ นำเสนอเนื้อหาใหม่ แทนข้อความ คำอธิบาย
4. การเสนอเนื้อหาที่ยากและซับซ้อน ให้เน้น ในส่วนของข้อความสำคัญ ซึ่งอาจใช้การขีด เส้นใต้ การตีกรอบ การกระพริบ การเปลี่ยนสี พื้น การโยงลูกศร การใช้สี หรือการชี้แนะ ด้วยคำพูด เช่น สังเกตที่ด้านขวาของภาพ เป็นต้น 5. ไม่ควรใช้กราฟฟิกที่เข้าใจยาก และไม่ เกี่ยวข้องกับเนื้อหา 6. จัดรูปแบบของคำอธิบายให้น่าอ่าน หาก เนื้อหายาว ควรจัดแบ่งกลุ่มคำอธิบายให้จบ เป็นตอนๆ 7. คำอธิบายที่ใช้ในตัวอย่าง ควรกระชับและ เข้าใจได้ง่าย
8. หากเครื่องคอมพิวเตอร์แสดงกราฟฟิก ได้ช้า ควรเสนอเฉพาะกราฟฟิกที่จำเป็น เท่านั้น 9. ไม่ควรใช้สีพื้นสลับไปสลับมาในแต่ละ เฟรมเนื้อหา และไม่ควรเปลี่ยนสีไปมา โดยเฉพาะสีหลักของตัวอักษร 10. คำที่ใช้ควรเป็นคำที่ผู้เรียนระดับนั้นๆ คุ้นเคย และเข้าใจความหมายตรงกัน 11. ขณะนำเสนอเนื้อหาใหม่ ควรให้ผู้เรียน ได้มีโอกาสทำอย่างอื่นบ้าง แทนที่จะให้ กด แป้นพิมพ์ หรือคลิกเมาส์เพียงอย่าง เดียวเท่านั้น เช่น การปฏิสัมพันธ์กับ บทเรียนโดยวิธีการพิมพ์ หรือตอบคำถาม
e-online/content-edu/16513.html
1. นางสาวสุดา ระรื่น รหัส นักศึกษา นางสาวจิราพร จันทร์ศิริ รหัส นักศึกษา นางสาวเมราณี ดอกบัว รหัส นักศึกษา คณะครุศาสตร์ โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์