งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การสร้างโมเดลจำลองความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูล E-R Model

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การสร้างโมเดลจำลองความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูล E-R Model"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2 การสร้างโมเดลจำลองความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูล E-R Model
ระบบฐานข้อมูล การสร้างโมเดลจำลองความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูล E-R Model สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โดย อาจารย์กิตติพงษ์ ภู่พัฒน์วิบูลย์

3 เนื้อหา แนวความคิดเกี่ยวกับ E-R Model ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี

4 แนวความคิดเกี่ยวกับ E-R Model
แบบจำลองอี-อาร์ (Entity-Relationship Model : E-R Model) เป็นแบบจำลองข้อมูลที่ประยุกต์มาจากแนวคิดเรื่อง รูปแบบเชิงภาษา (Semantic Model) และมีการพัฒนามาเป็น E-R Model โดยเชน (Chen) ในปีค.ศ.1976 และได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

5 แนวความคิดเกี่ยวกับ E-R Model
1. ความหมายและความสำคัญของแบบจำลองอี-อาร์ แบบจำลองอี-อาร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบฐานข้อมูล ที่แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างเอนทิตีหรือสิ่งที่เราต้องการจะจัดเก็บไวในฐานข้อมูล โดยนำเสนอในรูปของของแผนภาพ ที่เรียกว่า อี-อาร์ไดอะแกรม (E-R Diagram) ด้วยการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ

6 แนวความคิดเกี่ยวกับ E-R Model
2. องค์ประกอบของแบบจำลองอี-อาร์ 1) เอนทิตี (Entity) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เราสนใจต้องการเก็บข้อมูลเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเอนทิตีอาจเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สามารถจับต้องได้สัมผัสได้ 2) แอททริบิวท์ (Attribute) หมายถึง ข้อมูลที่แสดงคุณลักษณะหรือคุณสมบัติต่างๆ ของเอนทิตีหนึ่งๆ

7 แนวความคิดเกี่ยวกับ E-R Model
3) คีย์ (Key) คือ ชุดของแอททริบิวท์ที่เล็กที่สุดที่ใช้อ้างถึงระเบียนต่างๆ ในเอนทิตีที่ต้องการอ้างอิง โดยแอททริบิวท์ที่แทนค่าคีย์จะมีค่าซ้ำกันไม่ได้ (unique) ทุกเอนทิตีต้องมีคีย์หลักเสมอ คีย์หลักมีคุณสมบัติพิเศษต่างจากคีย์อื่นๆ คือ มีค่าเป็นนัล (null character) ไม่ได้

8 ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี (Relationship)
1. ระดับชั้นของความสัมพันธ์ (Relationships Degree) 1) ความสัมพันธ์เอนทิตีเดียว (Unary Relationships) หมายถึง ความสัมพันธ์ของเอนทิตีหนึ่งๆ ที่มีความสัมพันธ์กับตัวมันเอง

9 ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี (Relationship)
1. ระดับชั้นของความสัมพันธ์ (Relationships Degree) 2) ความสัมพันธ์สองเอนทิตี (Binary Relationships) หมายถึง ความสัมพันธ์ของเอนทิตีสองเอนทิตีที่มีความสัมพันธ์กัน

10 ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี (Relationship)
1. ระดับชั้นของความสัมพันธ์ (Relationships Degree) 3) ความสัมพันธ์สามเอนทิตี (Ternary Relationships) หมายถึง เอนทิตีสามเอนทิตีที่มีความสัมพันธ์กัน

11 ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี (Relationship)

12 สัญลักษณ์ที่ใช้ใน E-R Model
สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนภาพ E-R Diagram ที่ใช้ในการจำลองแบบข้อมูลมีหลายรูปแบบในที่นี้ขอยกตัวอย่าง 2 รูป ได้แก่ Chen Model และ Crow’s Foot Model

13 สัญลักษณ์ที่ใช้ใน E-R Model

14 สัญลักษณ์ที่ใช้ใน E-R Model

15 ขั้นตอนการออกแบบ E-R Model
ในการออกแบบ ER-Diagram มีด้วยกันหลายขั้นตอนสำหรับใน 5 ขั้นตอนแรกเป็นการออกแบบทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของโมเดล ได้แก่ เอนทิตี รีเลชันชิป คีย์หลัก คีย์สำรอง คีย์ภายนอก และกฎเกณฑ์พื้นฐาน จากนั้นจึงเริ่มเพิ่มรายละเอียดในระดับที่ผู้ใช้มองเห็น (User View) และรวมรายละเอียดเหล่านั้นเข้าด้วยกัน จึงได้เป็นโมเดลข้อมูลเชิงตรรกะที่สมบูรณ์

16 ขั้นตอนการออกแบบ E-R Model
1. การกำหนดเอนทิตีหลัก ออกแบบฐานข้อมูลโดยเริ่มจากการนำ Requirement ในข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว การกำหนดเอนทิตีนั้นเป็นงานที่ยาก วิธีการให้พิจารณาข้อมูลทั้งหมดที่มี และจัดกลุ่มของข้อมูล โดยดูจากค่าและความหมายถ้าสามารถรวมกลุ่มกันได้ก็ให้รวมเข้าไว้ในเอนทิตีเดียวกัน แล้วนำไปกำหนดชื่อและความหมายลงในพจนานุกรมข้อมูล และเขียนลงโมเดลข้อมูลด้วยการตั้งชื่อไม่ควรเกิน 20 ตัวอักษร

17 ขั้นตอนการออกแบบ E-R Model
2. การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี กำหนดชื่อ ความหมาย รีเลชันชิป ทิศทาง และขนาดอัตราส่วนที่เกิดรีเลชันชิปนั้นๆ พร้อมทั้งบันทึกลงในพจนานุกรมข้อมูลด้วยสำหรับชื่อก็ไม่ควรเกิน 20 ตัวอักษร จากนั้นสามารถแบ่งกลุ่มรีเลชันชิประหว่างเอนทิตีได้เรียบร้อยแล้ว พบว่า รีเลชันชิปแบบ 1 : Many เป็นสิ่งที่เราต้องสนใจมากที่สุด เพราะเป็นตัวทำให้การสร้างฐานข้อมูลเชิงตรรกะมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น

18 ขั้นตอนการออกแบบ E-R Model
3. การกำหนดคีย์หลักและคีย์รอง การเพิ่มข้อมูลที่เรียกว่า แอททริบิวท์ลงในทุกๆ เอนทิตี สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เอนทิตีที่เป็นซับไทป์จะต้องมี คีย์หลักอันเดียวกับเอนทิตีที่เป็นซุปเปอร์ไทป์ของมัน หลังจากกำหนดแล้วให้ตั้งชื่อระบุในโมเดลข้อมูลเชิงตรรกะพร้อมทั้งใส่ในพจนานุกรมข้อมูลด้วย การตั้งชื่อควรกำหนดสั้นและง่าย โดยสามารถใช้ชื่อย่อก็ได้ และควรหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อแอททริบิวท์ของสองสิ่งที่ไม่เหมือนกันด้วยชื่อเดียวกัน

19 ขั้นตอนการออกแบบ E-R Model
4. การกำหนดคีย์ภายนอก เมื่อกำหนดคีย์หลักและคีย์รองได้แล้ว ให้กำหนดคีย์ภายนอกสำหรับเอนทิตีที่มีรีเลชันชิปกันทุกอัน คีย์ภายนอก คือ แอททริบิวท์ในเอนทิตีระดับลูกที่แทนคีย์หลักของเอนทิตีระดับพ่อแม่ เพื่อใช้ในการอ้างถึงระเบียนในเอนทิตีระดับพ่อแม่และแสดงถึงรีเลชันชิประหว่างเอนทิตีต่างๆ

20 ขั้นตอนการออกแบบ E-R Model
5. พิจารณาขอบเขตค่าโดเมนของแอททริบิวท์ การพิจารณาขอบเขตค่าโดเมนของแอททริบิวท์ให้ทำการกำหนดโดเมนของแอททริบิวท์ทุกตัวในเอนทิตีแล้วบันทึกในพจนานุกรมข้อมูล

21 ขั้นตอนการออกแบบ E-R Model
กลุ่มค่าที่ถูกต้องเป็นไปได้สำหรับแอททริบิวท์แต่ละตัว ได้แก่ 1. ชนิดของข้อมูล (Data Type) เช่น จำนวนเต็ม วันที่ ตัวอักษร และทศนิยม เป็นต้น 2. ความยาว (Length) เช่น 5 หลัก หรือ 35 ตัวอักษร 3. รูปแบบข้อมูล (Format) เช่น dd/mm/yy (วันที่)

22 ขั้นตอนการออกแบบ E-R Model
4. ช่วงของข้อมูลหรือข้อกำหนดอื่นๆ (Range,Constraints) 5. ความหมาย (Meaning) อธิบายความหมายของ แอททริบิวท์นั้นว่าคืออะไร 6. ความเป็นหนึ่งเดียว (Uniqueness) ต้องมีค่าเป็นหนึ่งเดียว 7. ความเป็นนัล (Null support) อนุญาตให้เป็นนัลได้หรือไม่ ค่าโดยปริยาย (Default value) กำหนดให้มีค่าเป็น 0

23


ดาวน์โหลด ppt การสร้างโมเดลจำลองความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูล E-R Model

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google