ภาพรวมโครงการ CHILDLIFE ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา นพวรรณ หมื่นน้อย ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา กรมอนามัย
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบการดูแลด้านสุขภาพ และปกป้องทางสังคมสำหรับเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ และเด็กที่อยู่ในภาวะเปราะบางในพื้นที่ที่มีสถานการณ์ปัญหาเอดส์สูง Comprehensive HIV/AIDS Care, Support and Social Protection for Affected and Vulnerable Children living in High Prevalence Area to Achieve Full Potential in Health and Development (CHILDLIFE) โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กโดยชุมชน
ความเป็นมา 1. กองทุนโลกเป็นองค์กรอิสระ สำนักงานตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ 2. งบประมาณกองทุนโลกมาจากเงินบริจาคของนานาประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย โครงการด้านเอดส์ ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนโลกตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 จนถึงปัจจุบัน จำนวน 3 รอบ ได้แก่ โครงการเอดส์รอบที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 12 -24 ปี โครงการเอดส์รอบที่ 8 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มชายรักชาย กลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด กลุ่มพนักงานบริการ กลุ่มผู้ต้องขัง โครงการเอดส์รอบที่ 10 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เด็กติดเชื้อ เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ และเด็กที่อยู่ในภาวะเปราะบาง 3. กองทุนโลกได้จัดสรรงบประมาณให้ประเทศไทย ซึ่งมีสำนักงานบริหารโครงการกองทุนโลก โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานรับทุนหลักภาครัฐ (PR)
ความเป็นมา (ต่อ) การดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพ และการ คุ้มครองทางสังคมแบบองค์รวมสำหรับเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ และ เด็กที่อยู่ในภาวะเปราะบางที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความชุกของการติดเชื้อเอชไอวีสูง โดยกองทุนโลกสนับสนุนงบประมาณระยะเวลา 3 ปี (ปีงบประมาณ 2555 - 2557) หน่วยงานรับทุนหลักภาครัฐ : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยมีหน่วยงานรับทุนรองได้แก่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (ด้านสุขภาพ) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์การ PATH (ด้านวิชาการ) องค์การ PACT (ด้านการติดตามและประเมินผล)
ความเป็นมา (ต่อ) 2. หน่วยงานรับทุนหลักภาคเอกชน : มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ (ACCESS) โดยมีหน่วยงานรับทุนรองได้แก่ มูลนิธิรักษ์ไทย มูลนิธิเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี มูลนิธิศุภนิมิต มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์ มูลนิธิรักษ์เด็ก มูลนิธิเอดส์แห่งประเทศไทย องค์การแพลน PLAN สมาคมวางแผนครอบครัว PPAT
เป้าหมาย เป้าหมายของโครงการ เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ (CABA) และเด็กที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงอื่นๆ ในชุมชนที่มีสถานการณ์เอดส์สูง ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและคุณภาพชีวิต รวมทั้งได้รับการยอมรับในสังคมไม่ต่างจากเด็กทั่วไป กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับคุ้มครองดูแลภายใต้โครงการ ดังนี้ เด็ก หมายถึง ผู้ที่อายุแรกเกิดถึงต่ำกว่า 18 ปี เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ (CABA) หมายถึง - เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี (จากทุกความเสี่ยง-แรกเกิด-พฤติกรรมเสี่ยง) - เด็กที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี แต่มีพ่อแม่ ติดเชื้อเอชไอวี หรืออาศัยอยู่กับ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้มีโอกาสเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ
เป้าหมาย (ต่อ) เด็กที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงหรืออยู่ในภาวะยากลำบาก 5 เกณฑ์ ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ ได้แก่ (1) ยากจน (2) เร่ร่อน (3) ไม่มีสถานะบุคคล (4) สิ้นสุดหรือยังอยู่ในกระบวนการยุติธรรม (5) เด็กในครอบครัวผู้ติดเชื้อ เด็กชาติพันธุ์ที่ไม่ได้สัญชาติไทยและเข้าไม่ถึงบริการพื้นฐาน ที่จำเป็นสำหรับเด็ก
เป้าหมาย (ต่อ) พื้นที่ดำเนินการ 29 จังหวัด : ประเมินจากตัวเลขคาดประมาณอนาคตความชุกแม่ตั้งครรภ์มีเชื้อ/ แม่มีเชื้อ/ เด็กติดเชื้อที่รับยา 1,860 ตำบล กรุงเทพมหานคร รายชื่อจังหวัดพื้นที่ดำเนินการ 6 จังหวัดภาคเหนือ : เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา เพชรบูรณ นครสวรรค์ 8 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด 9 จังหวัดภาคกลาง : ชลบุรี ระยอง นนทบุรี ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี จันทบุรี เพชรบุรี 5 จังหวัดภาคใต้ : สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพร
เป้าหมาย (ต่อ) ระยะเวลาโครงการ 5 ปี (1 ตุลาคม 2554 – 30 กันยายน 2559) การเข้าถึงพื้นที่โครงการ(%ของจำนวนตำบลใน 29 จังหวัด จากจำนวนตำบลทั้งหมด 3,720 ตำบล) ปีที่ 1 : 15% = 558 ตำบล ปีที่ 2 : 30% = 1,116 ตำบล ปีที่ 3 : 50% = 1,860 ตำบล คาดว่าโครงการระยะ 5 ปี จะเข้าถึง 1,860 ตำบล(50%) เด็กสภาวะเสียง 132,060 คน (ในจำนวนนี้เป็นเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ 65,100 คน)
วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. การเสริมความเข้มแข็งและประสานการทำงานเชื่อมโยงสุขภาพ การมีส่วนร่วมของชุมชน การปกป้องทางสังคม เพื่อพัฒนาบริการให้มีคุณภาพโดยคำนึงถึงประเด็นความอ่อนไหวในเด็ก 2. การเข้าถึงการรักษาและบริการทางสังคมที่เท่าเทียมของเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์และเอชไอวี เด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบากและเด็กอื่นที่ไม่ได้รับการดูแลจากสังคม 3. เพื่อปรับปรุงและเพิ่มการยอมรับทางสังคมที่มีต่อเด็ก และผู้ได้รับผลกระทบจากเอดส์และเอชไอวี รวมทั้งคนที่ถูกรังเกียจหรือไม่ได้รับการยอมรับเนื่องจากสาเหตุอื่นๆ 4. ส่งเสริมศักยภาพระดับประเทศ จังหวัด อำเภอ ตำบล รวมทั้งชุมชนให้มีกลยุทธ์ด้านระบบข้อมูลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาบริการให้กับเด็ก
ตัวชี้วัดหลักที่กรมอนามัยรับผิดชอบ ตัวชี้วัดที่ 2.1.2 Number of children received age-appropriate health service at health setting including orphanage and day care (จำนวนเด็กที่ได้รับบริการดูแลด้านสุขภาพในสถานบริการสุขภาพสถานสงเคราะห์เด็ก/สถานรับเลี้ยงเด็ก) ตัวชี้วัด 2.5.1 Number of hospitals establishing case management approach (จำนวนโรงพยาบาลที่จัดระบบการดูแลเด็กเป็นรายบุคคล) ตัวชี้วัด 2.5.3 Number of health care providers trained on specific skilled needed to provide age and gender specific services to children (จำนวนผู้ให้บริการสุขภาพได้รับการอบรมทักษะเฉพาะในการให้บริการ ที่เหมาะสมกับอายุและเพศภาวะของเด็ก) ตัวชี้วัด 2.5.4 Number of care providers in orphanages and day care centers trained (จำนวนผู้ให้บริการในสถานสงเคราะห์เด็ก และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ได้รับการอบรม)
โครงสร้าง PR - DDC กรมอนามัย ศูนย์อนามัยและสมาคมอนามัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 29 จังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ภาพรวมโครงการ CHILDLIFE Inputs หน่วยจัดการในพื้นที่ PR-DDC ๐-๒ ปี ๓-๕ ปี ๖-๑๑ ปี ๑๒-๑๘ ปี กรมอนามัย MCH Board - โครงการสายใยรัก -RH วัยรุ่น/ วัยเรียน -รร.ส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์เขตฯ/ สคร. -PCPC -รพศ./ รพจ. -รพช.(ARV ANC บริการด้านจิตเวช) - สสอ. -รพสต. -สถานสงเคราะห์เด็ก -ศูนย์เด็กเล็ก ** -CAG/ อบต. -โรงเรียน -…….. พัฒนาการ YFS HIV/CM กรมควบคุมโรค -YFS -ARV HIV Qual T. PCM -Psycho-Social -Social Protection PCPC -Case Finding -Capacity for CABA -De-Stigma PR-Access CAG 13 การบริการเด็กในชุมชน
นิยาม เด็กในภาวะเปราะบาง (พม.) พิการ กำพร้า ยากจน ต้องคดี/สิ้นสุดหรือยังอยู่ในกระบวนการยุติธรรม เร่ร่อน ชาติพันธุ์/ ไม่มีบัตร ถูกทารุณกรรม ติดเชื้อเอชไอวี (infected/ Affected) 14
ภาพการทำงานโครงการ CHILDLIFE ระหว่าง 3 ระบบ กลุ่มเป้าหมาย สุขภาพ สังคม ชุมชน 15
สวัสดี นพวรรณ หมื่นน้อย ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา 177 หมู่ 6 ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30280 โทร: 044-305 131, 044-305 134 ต่อ 132 โทรสาร: 044-291 506 มือถือ 081-977 3582 E-mail: nopawana@yahoo.com website : http://hpc5.anamai.moph.go.th