สถานศึกษาที่สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ชื่อเรื่องวิจัย ศึกษาการใช้แบบฝึกทักษะ และการเสริมแรงการเรียน วิชาพิมพ์ดีดไทย 2 ของนักเรียนชั้นปวช.1 วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ชื่อผู้วิจัย นางสาวจำนงค์ สงค์สกุล สถานศึกษาที่สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต
ปัญหาการวิจัย ในการเรียนพิมพ์ดีด นักเรียนมีทักษะในการพิมพ์ดีดได้ไม่ดี เท่าที่ควร คือ พิมพ์จับเวลาได้จำนวนคำสุทธิน้อย สาเหตุมาจาก นักเรียนไม่สนใจในการเรียน ไม่เข้าห้องเรียน จากปัญหานี้จึงได้ทำ การวิจัย โดยการใช้แบบฝึกทักษะและการเสริมแรง เพื่อเป็นการจูง ใจให้นักเรียนสนใจเรียนมากขึ้น เข้าใจและพิมพ์แบบฝึกพิมพ์จับ เวลาได้จำนวนคำสุทธิเพิ่มมากขึ้น
วัตถุประสงค์ โดยการใช้แบบฝึกทักษะและการเสริมแรงวิชาพิมพ์ดีดไทย 2 เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะความเร็วและแม่นยำ โดยการใช้แบบฝึกทักษะและการเสริมแรงวิชาพิมพ์ดีดไทย 2
กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม การใช้แบบฝึกทักษะ และการเสริมแรง ทักษะความเร็วและความแม่นยำ
วิธีดำเนินการวิจัย ประชากร นักเรียนปวช.1 ห้อง ปวช.1004 วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 40 คน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ นักเรียนชั้นปวช.1 ห้อง 1004 จำนวน 8 คน โดยใช้วิธีการกำหนดแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย - แบบฝึกทักษะและการเสริมแรง - โจทย์พิเศษใช้การฝึกพิมพ์
การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้สังเกตการเรียนพิมพ์ดีดไทย 2 ของนักเรียนชั้นปวช.1 ห้องปวช. 1004 เมื่อช่วงเดือนธันวาคม ระหว่างวันที่ 4-8 ธันวาคม 2554 ปรากฏว่านักเรียนจำนวน 8 คนไม่ค่อยมีทักษะในการเรียน พิมพ์ดีด คือ พิมพ์จับเวลาจำนวนคำสุทธิได้น้อย ผู้วิจัยได้ทำการทดลองโดยการใช้วิธีการสอนแบบการใช้แบบฝึก ทักษะและการเสริมแรง โดยนัดนักเรียนกลุ่มดังกล่าวมาเรียนซ่อม เสริมโดยใช้แบบฝึกทักษะในการฝึกพิมพ์ ในช่วงเดือนธันวาคมมา เป็นเวลา 4 สัปดาห์
พิมพ์โจทย์แบบฝึกทักษะตามแบบพิมพ์ 3 -4 จบ จนนักเรียนจำได้ จากนั้นผู้วิจัยได้สังเกตการพิมพ์งานของนักเรียน โดยให้นักเรียนฝึก พิมพ์โจทย์แบบฝึกทักษะตามแบบพิมพ์ 3 -4 จบ จนนักเรียนจำได้ พิมพ์ได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น และหลังจากนั้น ทำการฝึกพิมพ์โดยฝึกจับ เวลา ครั้งละ 3 นาที และให้นักเรียนคิดคำสุทธิ ปรากฏว่านักเรียนมี ทักษะในการพิมพ์ดีขึ้น และการเสริมแรงด้วยการบวกคะแนนให้สำหรับ คนที่พิมพ์ได้จำนวนคำสุทธิเพิ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล 1. สังเกตจากการพิมพ์ 2. ตรวจชิ้นงานที่พิมพ์ 3. วิเคราะห์ข้อมูลใช้หาค่าร้อยละ
จำนวนนักเรียนทั้งหมด จำนวนนักเรียนที่มีคำสุทธิเพิ่ม สรุปผลการวิจัย จากผลการรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์เป็นค่าร้อยละของ จำนวนผู้เข้าเรียนซ่อมเสริมใน 4 สัปดาห์ ปรากฏว่าผู้เรียนมีทักษะใน การพิมพ์แบบฝึกพิมพ์จับเวลาได้จำนวนคำสุทธิเพิ่มมากขึ้น รายละเอียดของจำนวนนักเรียน สัปดาห์ จำนวนนักเรียนทั้งหมด จำนวนนักเรียนที่มีคำสุทธิเพิ่ม คิดเป็นร้อยละ สัปดาห์ที่ 1 8 4 50 สัปดาห์ที่ 2 5 62.5 สัปดาห์ที่ 3 6 75 สัปดาห์ที่ 4 7 87.5
ข้อเสนอแนะในการวิจัย 1. ทำการวิจัยต่อไปเรื่องการใช้แบบฝึกทักษะและการเสริมแรง 2. นำไปเป็นตัวอย่างการเรียนในวิชาต่าง ๆ ได้