น.ส.ศุภวรรณ ภัทรคุปต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี วิจัยชั้นเรียน ศึกษาผลของการเสริมแรงทางบวกในการแก้ไขปัญหา การไม่ส่งงานวิชาคอมพิวเตอร์เครือข่ายของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3 สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 วิทยาลัยเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี น.ส.ศุภวรรณ ภัทรคุปต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี
ปัญหาการวิจัย 1.นักเรียนบางส่วนไม่ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย 2. นักเรียนไม่ส่งงานตามกำหนดระยะเวลา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ 2. เพื่อเสริมสร้างเจตคติในการส่งงาน 3. เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นคนตรงต่อเวลา 4. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนไปในทางที่ดีขึ้น
รวมค่าเฉลี่ย (ร้อยละ) ตารางเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ก่อน – หลังจากการเสริมแรงทางบวกในส่งงานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 3 สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี จำนวน 21 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 คนที่ ก่อนเสริมแรงทางบวก หลังเสริมแรงทางบวก ร้อยละ 1 50.00 100 2 33.33 83.33 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 66.67 19 20 21 รวมค่าเฉลี่ย (ร้อยละ) 48.41 88.09
จากตารางแสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ก่อน – หลังจากการเสริมแรงทางบวกในส่งงานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี จำนวน 21 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โดยคำนวณจำนวนชิ้นงาน6 ชิ้นก่อนการเสริมแรงทางบวกและจำนวนชิ้นงาน6 ชิ้นหลังการเสริมแรงทางบวก พบว่านักเรียนมีความกระตือรือร้นที่จะส่งงานมากขึ้น มีการพัฒนาตนเอง มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับจาก 48.41 % เป็น 88.09 %
การเสริมแรงทางบวกเป็นแนวคิดหนึ่งของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทําBurrhus F. Skinner มีแนวความคิดพื้นฐานว่า พฤติกรรมของมนุษย์ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเงื่อนไขการเสริมแรงและลงโทษการเสริมแรงมี 2 ประเภท คือ 1.การเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement) 2. การเสริมแรงทางลบ (Negative reinforcement) การเสริมแรงทางบวก เป็นการกระทำชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความพึงพอใจกับผู้เรียนและความพึงพอใจนั้นทำให้เกิด การตอบสนองที่ต้องการมากครั้งขึ้น เช่น เงิน รางวัล คําชมเชย ฯลฯ
การเสริมแรงทางบวกโดยการให้คะแนนเพิ่มเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนส่งงานตามที่ครูผู้สอนในรายวิชาคอมพิวเตอร์เครือข่าย ได้มอบหมายงานหรือแบบฝึกหัดให้นักเรียนทำส่ง เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนว่า นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจมากน้อยเพียงใด พบว่าหลังจากที่มีการเสริมแรงทางบวกในด้านต่างๆ เช่นการให้คำพูดชมเชย การให้คะแนนพิเศษ การให้รางวัล ปรากฏว่าร้อยละ 88.09% มีพฤติกรรมและความรับผิดชอบที่เปลี่ยนไป คือมีการส่งงานเพิ่มมากขึ้น และตรงต่อเวลาซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการเสริมแรงบวกของBurrhus F. Skinner
สรุปผลการวิจัย การศึกษาผลของการเสริมแรงทางบวกในการแก้ไขปัญหาการไม่ส่งงาน วิชาคอมพิวเตอร์เครือข่าย ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3 สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2556 ครูผู้สอนได้ศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อถามสาเหตุของการไม่ส่งงาน และให้การเสริมแรงทางด้านบวก และเจตคติต่างๆ ทั้งในการให้คำพูดชมเชย การให้คะแนนพิเศษ พบว่า นักเรียนมีความรับผิดชอบในการส่งงานเพิ่มขึ้นสูงขึ้น จากร้อยละ 48.41% เป็นร้อยละ 88.09% ทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีในการส่งงาน ส่งผลให้นักเรียนเป็นคนตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบมากขึ้น
Thank You for Your Attention