ชนิดของข้อมูล ลัทธพร วังทองหลาง 54620810 ดารณี ทิพย์สิงห์ 54620813
การวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical Research) เป็นการวิจัยที่ใช้ข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ โดยมีการเก็บข้อมูล และใช้สถิติในการวิเคราะห์ การวิจัยเชิงวิพากษ์วิจารณ์ (Nonempirical Research) เป็นการวิจัยที่อาศัยข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ เป็นการวิจัยที่หาความรู้ความจริงจาก ข้อมูลเอกสาร หนังสือ ตำรา และวรรณกรรม ไม่ใช้สถิติมาวิเคราะห์ มักใช้การวิพากษ์วิจารณ์แทน
ข้อมูลปฐมภูมิ สถิติ วิเคราะห์ ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องเก็บรวบรวมจากแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจทำได้โดยการสัมภาษณ์ สอบถาม การแจงนับ การวัด การทดลอง ข้อมูลประเภทนี้เป็นข้อมูลที่ยังไม่เคยมีผู้ใดเก็บรวบรวมไว้ก่อน สถิติ วิเคราะห์ ตัวเลขหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม เช่น จำนวนผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน อัตราการเกิดของเด็กทารก ปริมาณน้ำฝน ในแต่ละปี เป็นต้น สถิติในความหมายที่ กล่าวมานี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้อมูลทาง สถิติ(Statistical data) แยกออกเป็นส่วนๆเพื่อศึกษาให้ถ่องแท้ ทำให้มองเห็นว่าสิ่งที่ศึกษานั้นมีลักษณะ ที่แท้จริงเป็นอย่างไร เกิดจากสาเหตุใด และจะดำเนินต่อไปในลักษณะใด จะเกิด ผลอย่างใดด้วยเหตุผลตามความเป็นจริง
ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่หน่วยงานหรือผู้อื่นเก็บไว้ก่อนแล้ว เพื่อการวางแผนหรือการบริหาร หรือเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง และมีบุคคลหรือหน่วยงานนำข้อมูลที่มีอยู่ นั้นมาใช้เพื่อจุดประสงค์ ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ และ ประหยัดค่าใช้จ่าย แหล่งที่มาของข้อมูลทุติยภูมิที่สำคัญ มีดังนี้ (1) รายงานต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการและองค์การของรัฐบาล ข้อมูลที่ได้จากราย งานต่าง ๆของหน่วยงานราชการหรือองค์การต่าง ๆ ของรัฐบาลนี้ถือว่าเป็นที่มาของ ข้อมูลทุติยภูมิที่สำคัญที่สุด (2) รายงานและบทความจากหนังสือ หรือรายงานจากหน่วยงานเอกชน โดยเฉพาะ หน่วยงานใหญ่ ๆ จะพิมพ์รายงานเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของ ตนเองออกเผยแพร่ เช่นเดียวกับหน่วยงานราชการ เช่น รายงานประจำปีของธนาคารพาณิชย์
วิพากษ์ แปลว่า ตัดสิน คำว่า วิพากษ์ เป็นคำที่นักวิจารณ์วรรณคดีนำมาใช้ในการพิจารณา ให้ข้อคิดเกี่ยวกับวรรณคดี บทความ ความเห็นของบุคคลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเกี่ยว กับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น หนังสือเรื่องวิพากษ์ภาษาไทย วิจารณ์ หมายถึงการให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ว่า มีสาระเนื้อหา อย่างไร มีสิ่งใดถูกต้องน่าชม มีสิ่งใดควรปรับปรุงแก้ไข หรือมีสิ่งใดไม่ถูกต้องเพราะ เหตุใด เช่น การวิจารณ์หนังสือ การวิจารณ์วรรณกรรม การวิจารณ์อาจเสนอข้อคิด เห็นที่มิใช่การติหรือชมก็ได้ เช่น การวิจารณ์ข่าว ที่มา : http://www.edurmu.org/cai/_surawart/elearning/content/lesson2/201.html http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re2.htm http://www.watpon.com/Elearning/stat1.htm http://www.googlemath.ob.tc/home/page1-2.html http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=5185&stissueid=2718&stcolcatid=2&stauthorid=19