เรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการใช้โปรแกรมกราฟิก นายยุทธพงษ์ ต่อวาศ วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
ปัญหาการวิจัย จากสื่อที่ใช้และวิธีการเรียนการสอนรายวิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกเพื่อพัฒนาเว็บเพจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ อาทิเช่น ผู้เรียนมีข้อจำกัดเรื่องของเวลาที่เรียนในช่วงระยะสั้น ๆ ผู้เรียนสับสนในการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ผู้สอนเขียนอธิบายรายละเอียดไว้ในเอกสารประกอบการสอน เป็นเหตุให้ผู้เรียนลดความสนใจในการปฏิบัติตามในขั้นตอนต่อไป อีกทั้งไม่สามารถเข้าใจผลการทำงานของคำสั่งต่าง ๆ ตามที่เขียนอธิบายไว้ได้อย่างชัดเจน ส่วนการสาธิตผู้เรียนได้มองเห็นการปฏิบัติจากผู้สอนแล้ว คาดว่าสามารถปฏิบัติเองได้ แต่ในการปฏิบัติจริง เกิดปัญหาคือไม่สามารถทำเองได้ตามที่คาดหวัง ผู้สอนต้องควบคุมการปฏิบัติเป็นรายบุคคล พื้นฐานของผู้เรียนไม่เท่ากัน ทั้งคุณวุฒิ และวัยวุฒิ ผู้สอนอธิบายซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จึงจะปฏิบัติตามได้พอสมควร
ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้การเรียนการสอนที่มีผู้เรียนเป็นจำนวนมากมีความแตกต่างกันหลากหลายและใช้เวลาในการศึกษาแต่ละหัวข้อไม่น้อย มีประสิทธิภาพทางการเรียนต่ำ การใช้สื่อการเรียนจากที่อื่นที่บรรจุไว้ในซีดีรอมให้ผู้เรียนได้ศึกษาในบางครั้ง พบว่าเนื้อหาสาระของวิชาไม่ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ บางสื่อเนื้อหามากเกินไปบางสื่อเนื้อหาน้อยเกินไป ผู้สอนได้พยายามแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้สื่อการเรียนการสอนเหล่านั้นได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่เปิดสอนมากนัก หากมีการพัฒนาหรือสร้างสื่อการสอนใหม่ ๆ ขึ้นมาช่วยในการเรียนการสอน
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายวิชาการใช้โปรแกรมกราฟิกเพื่อพัฒนาเว็บเพจ เพื่อเผยแพร่บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ มากยิ่งขึ้น
สรุปสำคัญ การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีการอธิบายขั้นตอนเนื้อหาวิชา ใช้โปรแกรม Macromedia Dreamweaver 8 ช่วยนำบทเรียนที่ได้บันทึกไว้ จัดทำเป็นเว็บเพจแต่ละหน้า เริ่มจากความรู้เบื้องต้น (Introduction) ไปถึงบทสุดท้าย ผู้เรียนสามารถใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ตลอดเวลา หากไม่เข้าใจให้ย้อนกลับมาศึกษาใหม่ได้ตามความต้องการ สำหรับไฟล์ที่เป็นภาพเคลื่อนไหวมี แสง สี เสียงเพลงได้จัดทำมาจากโปรแกรม กราฟิกต่างๆ คำอธิบายได้จัดเก็บไว้ด้วยโปรแกรม Microsoft Word นำไปแปลงเป็นไฟล์ชนิด PDF การนำเอาโปรแกรมทั้งหมดมาผสมผสานกันทำให้การพัฒนาบทเรียนมีลักษณะหลากหลายน่าสนใจ เป็นการดึงความสนใจของผู้เรียนให้หันมาศึกษาบทเรียนอย่างต่อเนื่อง ขั้นตอนการสร้างที่ง่ายและรวดเร็วขึ้น ผู้สอนได้วางแผนการดำเนินการวิจัย ไว้ดังนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาระดับชั้น ปวช. 3 กลุ่ม A34 จำนวน 30 คน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ รอบเช้า วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2. โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
สรุปผลการวิจัย การออกแบบให้จุดสนใจที่ชัดเจนมีความสะดวกในการใช้งานแต่ละบทเรียน รูปแบบในการนำเสนอที่ตรงประเด็น ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้ง่ายและสนใจมากขึ้น สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง