ทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 กรมควบคุมโรค นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค 3 กุมภาพันธ์ 2554
วิสัยทัศน์ กรมควบคุมโรค “เป็นองค์กรชั้นนำระดับนานาชาติ ที่สังคมเชื่อถือและไว้วางใจ เพื่อปกป้องประชาชนจากโรคและภัยสุขภาพ ด้วยความเป็นเลิศทางวิชาการ ภายใน ปี 2563 ” 2
พันธกิจ กรมควบคุมโรค ด้วยวิธีการดังนี้ ปฏิบัติภารกิจของกรมควบคุมโรคตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ พ.ศ.2552 ด้วยวิธีการดังนี้ 1. ส่งเสริมกระบวนการประสานความร่วมมือกับเครือข่ายภายในและระหว่างประเทศในการผลิตและพัฒนาผู้เชี่ยวชาญ องค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร เครื่องมือ กฎหมายการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ รวมทั้งการบริการเฉพาะที่ได้มาตรฐานสากล 2. ส่งเสริม สนับสนุน ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้ ให้เครือข่ายและประชาชน 3. ผลักดัน และติดตามการบังคับใช้กฎหมายที่จำเป็นต่อการปกป้องประชาชนจากโรคและภัยสุขภาพ 4. เตรียมความพร้อมในการจัดการภาวะคุกคามและภัยสุขภาพใหม่ ๆ ได้ทันการณ์ 5. พัฒนาและประเมินศักยภาพระบบ กลไกของเครือข่ายการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 3
บทบาทภารกิจ กรมควบคุมโรค ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการ ปี 2552 (1) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสุขภาพ ของผู้ไม่สูบบุหรี่ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อนุสัญญาหรือกฎข้อบังคับระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง (2) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการเฝ้าระวัง ป้องกันและการควบคุมโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพของประชาชน (3) เป็นศูนย์กลางในการส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานทางด้านวิชาการ เวชภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม วินิจฉัย และรักษาโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ (4) กำหนดและพัฒนานโยบาย กฎหมาย มาตรการและคุณภาพมาตรฐานการดำเนินงานในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และการควบคุมโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพของประชาชน (5) ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และการควบคุมโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน (6) จัด ประสาน และพัฒนาระบบ กลไกและเครือข่ายในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน และการควบคุมโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพ รวมทั้งสื่อสัญญาณเตือนภัยการระบาดของโรคแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน (7) จัดให้มีบริการเพื่อรองรับการส่งต่อผู้ป่วยโรคติดต่อเฉพาะโรคติดต่อสำคัญ และโรคติดต่อร้ายแรงในระดับตติยภูมิ และกักกันผู้ป่วยโรคติดต่ออันตรายตามข้อตกลงระหว่างประเทศ (8) จัดให้มีบริการป้องกัน ควบคุม รักษา และฟื้นฟูสภาพโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพ ตลอดจนแหล่งแพร่โรค เพื่อให้ได้องค์ความรู้ในการพัฒนาวิชาการตามภารกิจของกรม (9) ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และการควบคุมโรค และภัยที่คุกคามสุขภาพกรณีที่เป็นปัญหาวงกว้างเกิดโรคระบาดรุนแรงหรือมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเป็นปัญหารุนแรง (10) ดำเนินการร่วมกับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค และปัญหาสุขภาพระหว่างประเทศ (11) พัฒนาระบบและกลไก เพื่อให้มีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ (12) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย 4
บทบาท ภารกิจ ของกรมควบคุมโรค 1.ศึกษา วิจัย 2. ผลิตผลงาน ทางวิชาการ : มาตรการฯ มาตรฐานฯ/ หลักสูตร SRRT / พยากรณ์โรค/ คุณลักษณะอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งฯ 3. ถ่ายทอดผลผลิต ให้เครือข่าย : จังหวัด อำเภอ 4. ประเมิน ปรับปรุงผลผลิต
แผนที่ยุทธศาสตร์ กรมควบคุมโรค ปี 2554 - 2558 วิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรชั้นนำระดับนานาชาติ ที่สังคมเชื่อถือและไว้วางใจ เพื่อปกป้องประชาชนจากโรคและภัยสุขภาพ ด้วยความเป็นเลิศทางวิชาการ ภายใน ปี 2563 ” ประสิทธิผล เครือข่ายทุกระดับ สามารถบริหารจัดการ และขับเคลื่อน การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค/ภัยสุขภาพ และการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อลดปัญหาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการเฉพาะโรคและภัยสุขภาพ ที่สำคัญ ตลอดจนโรคอุบัติใหม่ทีมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล คุณภาพ การให้บริการ เป็นศูนย์กลางของนโยบาย มาตรการ นวัตกรรม ข้อมูลอ้างอิงด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของชาติ ที่ได้มาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับ และเชื่อถือ มีกลไกการสื่อสารสาธารณะ ประชาสัมพันธ์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน มีกลไกการจัดการเตรียมความพร้อม และบูรณาการระบบตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านโรค และภัยสุขภาพที่ได้มาตรฐานสากล ประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ มีกลไกการพยากรณ์โรค การติดตามประเมินผลภาพรวมและการติดตามประเมินผลการบริหารจัดการทรัพยากรของการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประเทศตามมาตรฐานสากล การพัฒนาองค์กร เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และมีระบบบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานสากล บุคลากรมีขีดสมรรถนะสูงและมีจิตใจให้บริการ
ยุทธศาสตร์ / แผนงาน การจัดสรรงบประมาณ นโยบาย กระทรวงสาธารณสุข ความเชื่อมโยง นโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ของสำนักงบประมาณ กระทรวงสาธารณสุข และกรมควบคุมโรค ยุทธศาสตร์ / แผนงาน การจัดสรรงบประมาณ (5 / 45) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การศึกษา คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต และความเท่าเทียม กันในสังคม แผนงานที่ 4.5 การพัฒนาระบบการสาธารณสุข : ประชาชนได้รับบริการด้านสาธารณสุขที่มีคุุณภาพมาตรฐานฯ โยบายข้อ 4.5.2 พัฒนาระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ตลอดจนปัจจัยเสี่ยงด้านสุขาพ นโยบายข้อ 4.5.9 สนับสนุนการดำเนินงานตามภารกิจพื้นฐานของหน่วยงาน นโยบาย กระทรวงสาธารณสุข (5 ข้อ) ข้อ 1 โครงการสนองน้ำพระทัยในหลวง ห่วงใยสุขภาพประชาชน ข้อ 2 โครงการพัฒนาระบบ กลไกการเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อรองรับอุบัติเหตุ อุบัติภัยและโรคระบาดใหญ่ ข้อ 9 การพัฒนาระบบข้อมูลด้านสุขภาพภาพรวมประเทศ นโยบาย กรมควบคุมโรค ( 5 ข้อ) ข้อ 1 พัฒนาประสิทธิภาพระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 1. พัฒนา “อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน” 2. พัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เครือข่ายระดับตำบล 3. พัฒนาการพยากรณ์โรค ข้อ 2 พัฒนาเครือข่ายดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อและปัจจัยเสี่ยง โรคจากการประกอบ อาชีพและสิ่งแวดล้อม ข้อ 3 การเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข ข้อ 4 บริการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม รักษา ฟื้นฟูสภาพประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ข้อ 5 พัฒนาวิชาการเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ข้อ 6 สื่อสารสาธารณะและประชาสัมพันธ์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
จุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2555 คำของบประมาณ 2555 จุดเน้น กลุ่มเป้าหมาย ข้อ 1 พัฒนาประสิทธิภาพระบบ เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคและภัยสุขภาพ “อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน” วิเคราะห์จุดเด่น “อำเภอดีเด่นของ 57 จังหวัด 18 เขต” และส่วนขาดของอำเภอที่มีปัญหาโรคตามนโยบาย / พื้นที่ สูง 10 อันดับแรก ในปี 54 สื่อสาร ผลักดัน สนับสนุน ร่วมเครือข่ายหลักให้เกิด “อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน” ตามคุณลักษณะที่กรมกำหนด กำกับ ติดตาม ประเมินผล ปรับปรุง เชิดชู ให้กำลังใจ สคร. สสจ. รพศ. รพท. รพช. รพ.สต. สอ. อสม., สปสช. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, อปท. สื่อมวลชน ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ตำบล ทบทวน ปรับปรุงหลักสูตร พัฒนาศักยภาพทีมระดับเขต ให้สามารถเฝ้าระวัง สอบสวน เป็นที่ปรึกษา กำกับดูแลงาน SRRT ในพื้นที่ สนับสนุนจังหวัดอบรม รพ.สต. 7,750 แห่ง (ปี 54 อบรม 2,000 แห่ง) ให้ครบ 9,750 แห่ง ตามนโยบายกระทรวง นิเทศ ประเมินผล เชิดชู ให้กำลังใจ สคร. สสจ. รพศ. รพท. รพช. รพ.สต. สอ. อสม., พยากรณ์โรค กำหนดกระบวนการประมวลผล วิเคราะห์ สังเคราะห์ด้วยวิธีทางวิชาการ เสนอผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเสนอแนะ และปรับปรุง จัดทำ Key message ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ทันสถานการณ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ สื่อมวลชน ประชาชน
จุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2555 (ต่อ) จุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2555 (ต่อ) คำของบประมาณ 2555 จุดเน้น กลุ่มเป้าหมาย ข้อ 2 พัฒนาเครือข่ายดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อและปัจจัยเสี่ยง โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม 1) โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 1. ลดอัตราการติดเชื้อเอช ไอ วี รายใหม่ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยลดการแพร่กระจายในกลุ่มเสี่ยง โครงการถุงยางอนามัย 100 % พัฒนาภาคีเครือข่ายในการทำงานเชิงระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาเอดส์ในเยาวชน การสอนเพศศึกษาในโรงเรียน เยาวชน/ประชาชนทั่วไป/กลุ่มข้าราชการ กลุ่มเยาวชน/กลุ่มหญิงขายบริการ/กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านเอดส์และเยาวชนในพื้นที่ ทุกโรงเรียนมัธยมศึกษา 2. พัฒนาวิชาการและเทคโนโลยี จัดตั้งศูนย์อ้างอิงข้อมูลทางวิชาการ (Reference Center) โรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จัดทำแนวทางการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาวัคซีนเอดส์ในระดับห้องปฏิบัติการในประเทศไทย พัฒนาแนวทางการเข้าถึงการป้องกันโรคเอดส์และ STIs ในกลุ่มเยาวชน และ MSM อย่างรอบด้านอย่างครบวงจร (Combination prevention) ประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการดูและรักษาผู้ป่วยเอดส์ 3. พัฒนาบุคลากร พัฒนาหลักสูตรนานาชาติด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พัฒนาศักยภาพและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพการดูและรักษาผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี และผู้ป่วยเอดส์ระดับเขตและจังหวัด
จุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2555 (ต่อ) จุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2555 (ต่อ) คำของบประมาณ 2555 จุดเน้น กลุ่มเป้าหมาย ข้อ 2 พัฒนาเครือข่ายดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อและปัจจัยเสี่ยง โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม 2) วัณโรค 1. เร่งรัดค้นหาผู้ป่วย ค้นหาเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยง ผู้ติดเชื้อเอช ไอวี,ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง,ผู้สัมผัสใกล้ชิดและเด็ก รวมถึงค้นหาเชิงรุกในสถานที่เสี่ยง เช่น เรือนจำ,ค่ายอพยพ,ชุมชนแออัด,สถานสงเคราะห์,โรงงาน ฯลฯ 2. ลดอัตราตาย (Death rate) 2.1 ส่งเสริมให้ผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอช ไอวี เข้าถึงยาต้านไวรัสได้โดยเร็วระหว่างการรักษาวัณโรค 2.2เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับปัญหา M/XDR-TB - พัฒนาศักยภาพการวินิจฉัยและการรักษา (LAB,ยา,บุคลากร) * ประเมินคุณภาพการตรวจรับสูตรเชื้อวัณโรคทางห้องปฏิบัติการในสถานพยาบาลทุกระดับทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและเอกชน * พัฒนาศักยภาพสถานพยาบาลในการดูแลรักษาวัณโรคดื้อยา * ประเมินสถานพยาบาลในการจัดการดูแลวัณโรคตามมาตรฐานสากล - การให้ความรู้การทำความเข้าใจ และการสื่อสารสาธารณะแก่ชุมชน * สื่อสารสาธารณะเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจของประชาชนและการเข้าถึงบริการ สถานพยาบาลภาครัฐทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและเอกชน/องค์กรเอกชน/สสจ./หน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอ/อปท./กทม./เรือนจำ/ประชาชนและกลุ่มเสี่ยง 3. ประเมินผลกระทบการควบคุมวัณโรคระดับเครือข่ายพื้นที่ (Prevalence Survey) ต่อเนื่อง ปี 2554 - 2555 ประชาชนทั่วไป/กทม. 4. ศึกษาความพร้อมของ อปท.ในการมีส่วนร่วมการควบคุมวัณโรค
จุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2555 (ต่อ) จุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2555 (ต่อ) คำของบประมาณ 2555 จุดเน้น กลุ่มเป้าหมาย ข้อ 2 พัฒนาเครือข่ายดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อและปัจจัยเสี่ยง โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (ต่อ) 3) โรคติดต่อนำโดยแมลง ไข้เลือดออก มาลาเรีย พัฒนาศูนย์ความคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง (ศตม.) สู่ความเป็นเลิศด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงเฉพาะพื้นที่ การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยงสูง พัฒนาเครือข่ายควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่สำคัญ ในพื้นที่ท่องเที่ยว ศตม. 38 แห่ง อำเภอ,ท้องถิ่น ประชาชน ใน 143 อำเภอ หน่วยงาน&สถานประกอบการท่องเที่ยว 4) โรคติดต่อทั่วไป ป้องกันควบคุมการระบาดของอหิวาตกโรคในพื้นที่เสี่ยงสูงอย่างบูรณาการปี 2555 ศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค สร้างความร่วมมือกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า 30 จังหวัดท่องเที่ยว เขตอุตสาหกรรมส่งออก ศูนย์เด็กเล็ก, ท้องถิ่น หน่วยงาน สธ. ปศุสัตว์ ท้องถิ่น ป้องกัน ควบคุมโรคระหว่างประเทศ กรอบความร่วมมืออาเซียน +3 (ร่วมจัดทำยุทธศาสตร์, พัฒนาบุคลากรระบาดวิทยา,ข้อมูล) พัฒนาศักยภาพโครงสร้างและบุคลากรของด่านควบคุมโรคและช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ ประเทศในแถบภูมิภาค ด่าน 18 แห่ง 5) โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน จัดตั้งสถาบันวัคซีนแห่งชาติ 1. พัฒนากลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านวัคซีน 2. พัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนอย่างเป็นระบบ 3. ร่วมมือกับสถาบันวิชาการเพื่อพัฒนาวัคซีน (วัคซีนเดงกี่ มหาวิทยาลัยมหิดล) คณะกรรมการ หน่วยงานภายใน/นอกกรม สถาบันวิชาการ
จุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2555 (ต่อ) จุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2555 (ต่อ) คำของบประมาณ 2555 จุดเน้น กลุ่มเป้าหมาย ข้อ 2 พัฒนาเครือข่ายดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อและปัจจัยเสี่ยง โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (ต่อ) 6) โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 1. พัฒนาสมรรถนะการจัดการชุมชนลดเสี่ยงลดโรค โดยพัฒนารูปแบบลดปัจจัยเสี่ยงการคัดกรองเบาหวานความดันด้วยตนเองที่บ้าน : Self Monitoring (ตามนโยบาย ลดหวาน มัน เค็ม) 2. โครงการรักษ์หัวใจในที่ทำงาน จังหวัด (บูรณาการ) 7) โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม พัฒนาสุขภาพผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (พัฒนารูปแบบและกลไกการจัดการ) สสจ. สสอ. และหน่วยงานท้องถิ่น ภาคประชาชน 8) ควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1. พัฒนา / ปรับปรุงกฎหมาย กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง (กี่ฉบับ ??) 2. ผลักดันการบังคับใช้กฎหมาย (ใครบ้าง เป้าหมายเท่าไหร่ ??) 3. สร้างเสริมพฤติกรรม เน้นเยาวชน 4. ดำเนินการตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (FCTC) และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ร่างกฎหมาย) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง , ผู้ประกอบการ, ประชาชนทั่วไป เยาวชน
จุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2555 (ต่อ) จุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2555 (ต่อ) คำของบประมาณ 2555 จุดเน้น กลุ่มเป้าหมาย ข้อ 3. การเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข 1. การจัดทำมาตรฐานการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน 1.1 จัดทำร่างแนวทางการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินสำหรับแกนนำชุมชนด้านสาธารณสุข แกนนำชุมชนด้าน สธ.ได้แก่ ผู้นำชุมชน/อสม. 1.2 พัฒนามาตรฐานการดำเนินงานตามปัญหาของแต่ละพื้นที่ของ สคร. สคร.1-12 2. การถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมรองรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ร้อยละ 50 ของ อปท. ที่มีพื้นที่เสี่ยงด้านภาวะฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องด้านสธ. 3. ระบบสื่อสารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ 3.1 สื่อสารข้อมูลในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน 3.2 สื่อสารสั่งการทุกระดับ (ระดับพื้นที่ ประเทศ และนานาชาติ) ที่ครอบคลุมทั้งระยะก่อน ขณะ และหลังเกิดเหตุที่ถูกต้อง และทันเวลา 4. การจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการในการเตรียมความพร้อมฯ 4.1 ฐานข้อมูลโรคและพื้นที่เสี่ยงทางภัยพิบัติระดับเขต สคร.ที่ 1-12 4.2 จัดทำฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก ร้อยละ 50 ของ อปท.มีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก 4.3 การจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากร ได้แก่ บุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อการบริหารจัดการในการเตรียมความพร้อม (ในปี 54 มีการจัดทำคู่มือการบริหารเวชภัณฑ์ไว้แล้ว) 75 จังหวัด 13
จุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2555 (ต่อ) จุดเน้นการดำเนินงาน ปี 2555 (ต่อ) คำของบประมาณ 2555 จุดเน้น กลุ่มเป้าหมาย ข้อ 4 บริการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม รักษา ฟื้นฟูสภาพประชาชนกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศในการบริการเฉพาะทางโรคอุบัติใหม่ซ้ำภายใน 5 ปี ลดอัตราความพิการระดับ 2 ในผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ (สร้าง Node การดำเนินงานที่เป็นมาตรฐาน) รพ.ใน/นอกสังกัด สธ. ภาคเอกชน สคร. , PCU, รพ.สต. ในพื้นเสี่ยง ข้อ 5 พัฒนาวิชาการเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ พัฒนากลไกและดำเนินการประเมินผลภาพรวมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคระดับประเทศ (ประเด็นโรคสำคัญ) 2. ประชุมวิชาการกรมควบคุมโรค 3. .... ข้อ 6 สื่อสาร สาธารณะและประชาสัมพันธ์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีคุณภาพ วิเคราะห์สาระสำคัญของการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันโรคและภัยสุขภาพ จัดทำ Key Message รูปแบบ และช่องทางการสื่อสารให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สำรวจ ประเมินผลเพื่อปรับปรุง ความพึงพอใจของเครือข่าย ผู้รับบริการกรม พฤติกรรมทางสุขภาพของประชาชน พัฒนาเครือข่ายหลัก สสจ. สื่อมวลชน ประชาสัมพันธ์จังหวัด
Q & A
“สร้างความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพและประสิทธิผลการควบคุมโรค” พัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 1. พัฒนา “อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน” 2. พัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เครือข่ายระดับตำบล 3. พัฒนาการพยากรณ์โรค โรคติดต่อ 4. เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกเชิงรุกในอำเภอที่มีความเสี่ยงสูง 5. ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในประชากรกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ 6. พัฒนาคุณภาพบริการการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ เอชไอวี / เอดส์ผู้ใหญ่และเด็กในประเทศไทย 7. ป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก 8. พัฒนาเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนงานเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า ปี ๒๕๕๔ 9. จัดตั้งสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ โรคไม่ติดต่อ และปัจจัยเสี่ยง 10. พัฒนามาตรการการควบคุมแอลกอฮอล์ระดับชาติ 11. พัฒนานโยบาย / กฏหมายและดำเนินการเฝ้าระวังยาสูบระดับชาติ 12. สื่อสาร รณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด) โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม 13. พัฒนาเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส 14. พัฒนางานอาชีวอนามัยและการดูแลสุขภาพจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล
แนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 แนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 จัดทำงบประมาณเข้าสู่สมดุล : ข้อตกลง 5 ปี ของ กระทรวงการคลัง กับ สำนักงบประมาณ จัดลำดับความสำคัญของงาน /โครงการ (priority) จุดเน้นสำคัญ คือ เป้าหมาย กลยุทธ์ ผลผลิต โครงการและกิจกรรม ที่ทำอยู่ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล หรือไม่ เพียงใด ควรถูกยกเลิก ชะลอ หรือลดเป้าหมายเพื่อนำงบประมาณไปใช้ในกิจกรรมใหม่ที่สำคัญกว่า พิจารณางบประมาณโดยใช้หลักงบประมาณฐานศูนย์ (Zero - Base Budgeting) พิจารณางบประมาณตามแนวทาง 3R 4.1 Review : ทบทวน ตรวจสอบ กระบวนการ ผลงาน ทรัพยากรใหม่ทั้งหมด 4.2 Redeploy : ตัดสินใจตามผล Review ยกเลิก ปรับลดเป้าหมาย/ค่าใช้จ่ายต่อหน่วย 4.3 Replace : ตัดสินใจตามผล Review เพื่อกำหนดกิจกรรมใหม่ / เพิ่มเป้าหมาย/ค่าใช้จ่ายต่อหน่วย โดยพิจารณาจากความสำคัญ จำเป็น เร่งด่วน และศักยภาพของหน่วยปฏิบัติ
กรอบการพิจารณาการจัดลำดับความสำคัญ สำคัญ จำเป็น และเร่งด่วน มาก น้อย สำคัญ จำเป็น เร่งด่วนมาก และมีศักยภาพมาก (เร่งรัด) สำคัญ จำเป็น เร่งด่วนน้อย แต่มีศักยภาพมาก (ชะลอ) สำคัญ จำเป็น เร่งด่วนมาก แต่มีศักยภาพน้อย (ปรับลดเป้าหมาย) สำคัญ จำเป็น เร่งด่วนน้อย (ยกเลิก) ศักยภาพ
โครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณปี 2555 (ปรับปรุงตามมติ ครม โครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณปี 2555 (ปรับปรุงตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 21 ธค.53) 6 ยุทธศาสตร์ 45 แผนงาน ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ยุทธศาสตร์การสร้างสังคมสมานฉันท์และความมั่นคงของประเทศ ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. ยุทธศาสตร์การศึกษา คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต และความเท่าเทียม กันในสังคม 4.5 แผนงานพัฒนาระบบการสาธารณสุข : ประชาชนได้รับบริการด้านสาธารณสุขที่มี คุณภาพมาตรฐานฯ 5. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการพัฒนาภูมิภาคและท้องถิ่น 6. รายการค่าดำเนินการภาครัฐ
การพิจารณางบประมาณตามแนวทาง 3R 1. Review : ทบทวน ตรวจสอบ กระบวนการปฏิบัติงาน ผลงาน และทรัพยากรใหม่ทั้งหมด ไม่มีการอ้างอิงระดับการใช้จ่ายของปีก่อนหน้า
การพิจารณางบประมาณตามแนวทาง 3R (ต่อ) Redeploy : ตัดสินใจตามการ Review ยกเลิก /ปรับลดเป้าหมายกิจกรรมเดิม/ปรับลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วย แนวทางการพิจารณา ดังนี้ ดำเนินการแล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ (ยกเลิก/ถ่ายโอน/ปรับลดค่าใช้จ่าย) 2) มีความสำคัญลดลง เนื่องจากสภาวะแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมเปลี่ยนแปลง 3) ถ่ายโอนไปให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว 4) ผลการเบิกจ่าย การปฏิบัติงานล่าช้ากว่าแผน 5) มีการโอนเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายไปใช้ในกิจกรรม / รายการอื่นๆ 6) งบประมาณของกิจกรรม/รายการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลายปี ควรตรวจสอบ 7) มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ วิธีการปฏิบัติงานใหม่ ปรับลดค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ 8) มีองค์กรอื่นดำเนินการอยู่แล้ว ควรปรับบทบาทเป็นหน่วยสนับสนุน ควบคุม และปรับลดค่าใช้จ่ายลง
การพิจารณางบประมาณตามแนวทาง 3R (ต่อ) 3. Replace : ตัดสินใจตามผลการ Review เพื่อกำหนด กิจกรรมใหม่ เพิ่มเป้าหมาย หรือเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อหน่วย โดยพิจารณาจากความสำคัญ จำเป็น เร่งด่วน และศักยภาพของหน่วยปฏิบัติ