การพูด
การพูดระดับต่างๆ การพูดระหว่างบุคคล การพูดในกลุ่ม การพูดในที่ชุมชน การพูดทางสื่อมวลชน
ทักษะการพูด การเลือกใช้ถ้อยคำเพื่อให้แทนความคิดที่ผู้พูดต้องการแสดงออกให้ ผู้ฟังรับรู้ได้อย่างแจ่มชัด การเรียงลำดับถ้อยคำให้ถูกต้องตามระเบียบของภาษาเพื่อให้สื่อสารได้ เป็นที่เข้าใจชัด ไม่เกิดความกำกวมหรือไม่เป็นที่งุนงงแก่ผู้ฟัง การออกเสียงถ้อยคำเหล่านั้นให้ถูกต้องตามความนิยมและตาม มาตรฐานของภาษา
การใช้น้ำเสียงให้สื่อความหมายได้ตรงตามเจตนาของผู้พูด การใช้อากัปกิริยาท่าทางประกอบการพูดเหมาะสมช่วยในการสื่อ ความหมายให้ตรงตามความประสงค์ของผู้พูด การสังเกตอากัปกิริยาท่าทางของผู้ฟังให้ได้รู้ว่า ในขณะที่กำลังฟังอยู่ ผู้ฟังมีความรู้สึกและความต้องการอย่างไร เพื่อจะได้ดัดแปลงเนื้อหา และวิธีพูดให้เหมาะกับปฏิกิริยาของผู้ฟัง
ธรรมชาติของความประหม่าตื่นเต้น มองเห็นจุดอ่อนของตนเองมากเกินควร เกิดความขัดแย้งภายในตนเอง วาดภาพไว้ในใจอย่างผิดๆ
วิธีการแก้ไขความประหม่าตื่นเต้นไม่ให้เป็นอุปสรรคแก่การพูด เตรียมซ้อนเรื่องที่จะพูดมาให้แม่นยำที่สุด แต่ไม่ใช่ท่องจำทุกคำพูด แม่นยำในเนื้อหาสาระ ให้ความสนใจในเรื่องราวที่เราจะพูดให้มากพอ เพ่งความสนใจให้ ออกไปจากตัวเรา อย่าเพ่งความสนใจมาที่ตัวเราเองให้มากนัก หาข้อมูลเกี่ยวกับคนฟังให้มากพอ เพื่อจะได้ดัดแปลงเรื่องที่เราพูดให้ เหมาะสมกับคนฟังมากที่สุด
ขณะที่พูด พยายามพูดกับคนฟังให้ทั่วถึง ยิ่งจับตาคนฟังให้ทั่วถึงมาก เพียงไร ความกลัวก็จะหายไป พยายามทรงตัวให้ดีขณะที่พูด การทรงตัวให้สมดุลจะทำให้ผู้พูดรู้สึก มั่นใจขึ้น ตั้งใจไว้ให้มั่นคงเสมอว่า เราจะพยายามพูดให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจอย่าง แจ่มแจ้งที่สุดเท่าที่จะทำได้
ฝึกการพูด ให้นิสิตฝึกพูดแนะนำตัวเองโดยหยิบยกข้อดีหรือจุดเด่นของ ตัวเองเพื่อให้เพื่อนจำตัวเองได้ ในเวลาไม่เกิน 2 นาที
การบ้าน ให้นิสิตฝึกพูดเรื่องประทับใจ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ประทับใจ ภาพยนตร์ประทับใจ หนังสือประทับใจ บุคคลประทับใจ ฯลฯ ที่มีสารประโยชน์แก่ผู้ฟัง โดยมีกลวิธีการเล่าที่สนุก น่าสนใจ เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกซาบซึ้ง หรือร่วมประทับใจไปกับเรื่องที่เล่าด้วย ความยาวไม่เกิน 3 นาที รักษาเวลา และฝึกซ้อมเป็นอย่างดี