กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ อก. ข้อเสนอต่อกิจกรรมในลำดับที่ 8 โรงงานถลุงหรือหลอมโลหะ รวมเหล็กหรือเหล็กกล้า ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป นายสาธิต เทอดเกียรติกุล (satid@dpim.go.th) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ อก. 26 มีนาคม 2553
ขอบเขตหัวข้อการนำเสนอ โรงงานหลอมโลหะที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป โดยเพิ่มเติมจากการนำเสนอในการประชุม คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1-4 ที่มีผู้แทนจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ อก. มานำเสนอแล้วในขอบเขตต่อไปนี้ โรงงานถลุงโลหะ โรงงานเหล็กหรือเหล็กกล้า ซึ่งจะไม่เน้นในการนำเสนอในครั้งนี้
กรณีการหลอมโลหะตะกั่ว ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป (เห็นด้วยกับการถูกจัดอยู่ในโครงการ/กิจกรรมที่ “อาจรุนแรง” ของ อนุHIA) เนื่องจากตะกั่วเป็นโลหะมีพิษ และไอตะกั่วสามารถรวมกับฮีโมโกลบินในกระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว จึงควรมีกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างดีเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับการหลอมโลหะอื่นๆ มิฉะนั้นอาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านอาชีวอนามัยได้สำหรับพนักงาน สังคม และชุมชนล้อมรอบ ดังนั้นการจัดทำ HIA เพิ่มขึ้นมาจาก EIA จึงค่อนข้างมีความจำเป็น
สำหรับอุตสาหกรรมหลอมโลหะตะกั่วจากเศษแบตเตอรี่ ได้รับการตีความตามกฤษฎีกาให้ถือว่าเป็นการประกอบโลหกรรมตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ.2510ประเภทหนึ่ง* ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ในปัจจุบัน นอกจากรายงานการติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว โรงงานในกลุ่มนี้ต้องแสดงผลวิเคราะห์ตะกั่วในเลือด/ปัสสาวะทุกๆระยะ 3 เดือน * -การถลุงโลหะตะกั่วแบบทุติยภูมิ หรือ Secondary Lead Smelting -การผลิตเหล็กกล้าไม่ว่าจะมีปริมาณการผลิตขนาดใด ถูกจัดเป็นการประกอบโลหกรรมตามพ.ร.บ.แร่ เช่นเดียวกัน
กรณีการหลอมโลหะอื่น ที่มีกำลังการผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป (ไม่เห็นด้วยกับการถูกจัดอยู่ในโครงการ/กิจกรรมที่ “อาจรุนแรง” ของ อนุHIA) เนื่องจากเป็นการนำเศษโลหะที่ค่อนข้างบริสุทธิ์มาหลอม หรือมาหลอมซ้ำ โดยไม่มีขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์ เพื่อให้ได้เนื้อโลหะที่มีเปอร์เซ็นต์สูงขึ้นซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดกากตะกรัน น้ำเสีย และฝุ่นควัน ในปริมาณมากดังเช่นในการถลุงแร่โลหะ ที่มีของเสียค่อนข้างสูงเนื่องจากดิน หิน และสารมลทินที่เจือปนมาในแร่และวัตถุดิบ ดังนั้นกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิตให้มีความสะอาดและปลอดภัยมักทำได้ไม่ยากสำหรับโรงงานหลอมโลหะทั่วไป
* พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 (ม.46-ม.51) ในกรณีของกิจกรรม/โครงการอุตสาหกรรมหลอมโลหะที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (เหล็ก 100 ตันต่อวัน โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก 50 ตันต่อวัน)* จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมประกอบการขออนุญาต โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสผ.ก่อนการก่อสร้างโรงงาน โดยสผ. อาจกำหนดเพิ่มเติมมาตรการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามความเหมาะสม ดังนั้นจึงค่อนข้างเพียงพอต่อการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อไม่ให้กระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม * พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 (ม.46-ม.51) และบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลวท.24 ส.ค. 2535
เท่าที่ผ่านมาในอดีต นับตั้งแต่มีการออกใบอนุญาตประกอบโลหกรรมตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ยังไม่เคยมีปัญหาการร้องเรียนผลกระทบที่รุนแรง จากกาก น้ำเสีย ฝุ่น ควัน และเสียง จากกระบวนการผลิตโลหะซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแล (ยกเว้นกรณีของการสั่งให้หยุดการผลิตเพื่อทำการแก้ไข 1 ครั้งของการถลุงแร่ตะกั่ว ซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขตการนำเสนอในการประชุม คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งก่อนๆ )
ขอบคุณครับ