พายุ นางสาวศิริลักษณ์ กันสงค์ กลุ่ม 10 รหัส 56070133 พายุ นางสาวศิริลักษณ์ กันสงค์ กลุ่ม 10 รหัส 56070133 คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม
พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง
ประเภทของพายุ พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
1.พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน เกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำอาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด
2.พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน ซึ่งล้วนเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา
พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก
พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น
พายุไซโคลน (cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy)
3.พายุทอนาโด (tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง
พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก
๗. ติดตั้งสายล่อฟ้าสำหรับอาคารสูงๆ ๘ ๗. ติดตั้งสายล่อฟ้าสำหรับอาคารสูงๆ ๘. ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะมีฟ้าคะนอง ๙. ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น ๑๐. อุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร ๑๑. เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ
วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดพายุ ๑. อพยพไปอยู่ในที่กำบังที่ปลอดภัยเช่นตึกที่แข็งแรง ๒. หลบอยู่ในที่กำบังจนกว่าลมจะยุติ ๓. ปิดหน้าต่าง และประตูด้วยแผ่นกระดานที่แข็งแรง และผูกมัดสิ่งของที่อาจจะปลิวไปกับลม ๔. ดับไฟฟ้า ปิดน้ำ ปิดแก๊ส ๕.พยพออกจากพื้นที่ที่อาจจะเกิดน้ำท่วม ๖. ฟังข่าวสารจากทางสื่อต่าง ๆ และติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/