โดย นายสมหมาย พิทักษา ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย การเดินทางไกล โดย นายสมหมาย พิทักษา ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย
จุดประสงค์ 1. บอกความหมายของการเดินทางไกลได้ 2. วางแผนการจัดกิจกรรมเดินทางไกลได้ 3. จัดกิจกรรมเดินทางไกลได้
ความหมาย การเดินทางไกล หมายถึง การเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งมีการกำหนดระยะทาง เส้นทาง และกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ประโยชน์การเดินทางไกล 1. ฝึกความอดทนและความไม่ประมาทความรอบคอบของสมาชิก 2. ฝึกให้สมาชิกยุวกาชาดรู้จักการเตรียมตัวและเตรียมสิ่งที่จำเป็นในการเดินทางไกล
ประโยชน์การเดินทางไกล 3. ฝึกให้สมาชิกรู้จักสังเกตและมีความจำดี 4. ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ และทำงานเป็นขบวนการหมู่พวก 5. ทำให้สมาชิกชื่นชมธรรมชาติ และเรียนรู้ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
การวางแผนการเดินทางไกล เป็นกิจกรรมพิเศษสามารถจัดได้ทุกระดับชั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกมีความอดทนอยู่ในระเบียบวินัย รู้จักช่วยตนเอง รู้จักอยู่และทำงานร่วมกับผู้อื่น
การวางแผนการเดินทางไกล มีดังนี้ 1. การวางแผนเดินทางไกลแบบไม่พักแรม 1.1 เขียนโครงการ 1.2 ขออนุมัติโครงการต่อนายกหมู่ยุวกาชาด 1.3 แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการ 1.4 สำรวจเส้นทางและจัดทำแผนที่
1.5 ขออนุญาตผู้ปกครอง 1.6 ประชุมชี้แจงสมาชิกยุวกาชาด ล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัว 1.7 ปฏิบัติกิจกรรมเดินทางไกล 1.8 ประเมินผล 1.9 สรุป-รายงาน
2. การวางแผนเดินทางไกลแบบพักแรม ยุวกาชาดระดับ 3 อาจจัดกิจกรรมเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมนอกสถานศึกษา หรือออกต่างจังหวัด จำเป็นต้องเพิ่มขั้นตอน โดยขออนุญาตต้นสังกัด/
2. การวางแผนเดินทางไกลแบบพักแรม มีรายละเอียดโครงการ/กำหนดการ/แผนที่สังเขปที่ตั้ง/ค่ายพักแรม/หนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง เมื่ออนุมัติแล้วดำเนินการได้
การเตรียมตัวในการเดินทางไกล 1. การเตรียมตัวส่วนบุคคล 1.1 การเตรียมสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์ 1.2 การเตรียมเครื่องใช้ส่วนตัว
ข้อแนะนำในการบรรจุเครื่องหลัง 1. เครื่องหลัง ควรให้มีขนาดเหมาะสม 2. การบรรจุสิ่งของลงในเครื่องหลัง 3. อาหารสด ควรจัดเมนูอาหาร ชนิดทำง่าย ใช้เวลาประกอบไม่นาน
การเตรียมตัวในการเดินทางไกล 2. การเตรียมตัวของหน่วย 2.1 การจัดเตรียมเครื่องใช้ประจำหน่วย เช่น หม้อข้าว/หม้อแกง/กระทะ/ถังน้ำฯลฯ 2.2 การจัดเตรียมอาหารของหน่วย คำนึงถึงความเพียงพอกับจำนวนสมาชิกฯ
การปฏิบัติตนระหว่างการเดินทางไกล 1. อย่าเดินเหยียบย่ำต้นข้าวและพืชต่างๆที่ปลูกไว้ 2. อย่าหักหรือถอนต้นไม้และพืชต่างๆที่ปลูกไว้ 3. อย่าต้อนปศุสัตว์ให้แตกกระจาย 4. อย่ารื้อถอนรั้ว หรือห้ามหยิบฉวยโดยพลการ 5. ไม่ควรเดินตามทางรถไฟ 6. การเดินทางไกลไม่ใช่เป็นการ”แข่งขันการเดิน”
การรักษาสุขภาพอนามัย ระหว่างเดินทางไกล 1. สุขภาพทางกาย 2. สุขภาพจิต 3. การรักษาอนามัยผู้อื่น
กิจกรรมที่ควรจัดในการเดินทางไกล - การผจญภัย - แผนที่เข็มทิศ - การสังเกตและจำ - การสำรวจ - การรายงานแบบเรียงความหรือร้อยกรอง - บุกเบิก - ธรรมชาติศึกษา ฯลฯ