คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ( ภาษาบาลี - ภาษาสันสกฤต )
คำที่มาจากภาษาบาลี – ภาษาสันสกฤต ภาษาไทยมีคำศัพท์ที่มีการปรุงแต่งมาจากภาษา ต่างประเทศ เช่น ภาษาบาลี และ ภาษาสันสกฤตอยู่มาก ส่วนใหญ่จะใช้เกี่ยวกับเรื่องศาสนา , วรรณคดี , วัฒนธรรม และ ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งใช้ในคำสุภาพ และ คำศัพท์ ทั่วไป มีหลักการสังเกต ดังนี้
หลักการสังเกตคำที่มาจากภาษาบาลี – ภาษาสันสกฤต ๑ ) เป็นคำที่มีหลายพยางค์ เช่น สถาปนา , ปราโมทย์ , เกษียณ , พิสดาร , กรุณา ๒ ) ตัวสะกดมักมีตัวการันต์อยู่ด้วย เช่น มนต์ , ฤทธิ์ , องค์ , ทุกข์ ๓ ) มีคำที่ประสมด้วยพยัญชนะ ฆ , ฌ , ญ , ฎ , ฏ , ฒ , ณ , ธ , ภ , ศ , ษ , ฤ , ฬ เช่น ฆาต , มัชฌิม , สัญญา , กุฎี , พุทธ
หลักการสังเกตคำที่มาจากภาษาบาลี – ภาษาสันสกฤต ๔ ) เป็นคำที่มีอักษรควบกล้ำ เช่น จักร , บุตร , ปรัชญา , ประสูติ ๕ ) คำบาลีและสันสกฤตไม่มีวรรณยุกต์และไม้ไต่คู้ เช่น พักตร์ , โจทย์ , กาพย์
เปรียบเทียบหลักเกณฑ์ภาษาบาลี – ภาษาสันสกฤต ๑. พยัญชนะ - ภาษาบาลี มีพยัญชนะ ๓๓ ตัว คือ ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ฌ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ส ห ฬ อํ - ภาษาสันสกฤต มีพยัญชนะ ๓๕ ตัว คือ ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ฌ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อํ
เปรียบเทียบหลักเกณฑ์ภาษาบาลี – ภาษาสันสกฤต ๒. สระ - ภาษาบาลี มีสระ ๘ เสียง คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ - ภาษาสันสกฤต มีสระ ๑๔ เสียง คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ
หลักการสังเกตคำที่มาจากภาษาบาลี – ภาษาสันสกฤต ๓. การใช้ตัวอักษร - ภาษาบาลี ใช้ตัว ฬ เช่น จุฬา , กีฬา , ครุฬ - ภาษาสันสกฤต ใช้ตัว ฑ หรือ ฒ เช่น จุฑา , กรีฑา , ครุฑ
หลักการสังเกตคำที่มาจากภาษาบาลี – ภาษาสันสกฤต ๔. การใช้คำควบกล้ำ และ อักษรนำ - ภาษาบาลี ไม่นิยมใช้คำควบกล้ำ และ อักษรนำ เช่น มัจฉา , วิชชา , สามี - ภาษาสันสกฤต ใช้คำควบกล้ำ และ อักษรนำ เช่น มัตสยา , วิทยา , สวามี
หลักการสังเกตคำที่มาจากภาษาบาลี – ภาษาสันสกฤต ๕. การใช้ตัวสะกด - ตัวตาม - ภาษาบาลี มีหลักเกณฑ์ในการใช้ตัวสะกด – ตัวตาม อย่างเคร่งครัด เช่น สัจจะ , อัคคี , รัฏฐะ - ภาษาสันสกฤต ไม่เน้นในหลักเกณฑ์การใช้ตัวสะกด – ตัวตามมากนัก เช่น สัตยะ , อัคนี , ราษฎร์
หลักการสังเกตคำที่มาจากภาษาบาลี – ภาษาสันสกฤต ๖. การใช้ ฤ - ภาษาบาลี ใช้เสียงสระ อะ อิ อุ แทนการใช้ ฤ เช่น อมตะ , ปุจฉา , อุตุ - ภาษาสันสกฤต ใช้ตัว ฤ ได้โดยตรง เช่น อมฤต , ปฤจฉา , ฤตุ ( ไทยใช้ ฤดู )
อย่าเพิ่งเบื่อนะครับ มาทบทวนกัน สักหน่อยดีกว่า
บาลี หรือ สันสกฤต ลองคิดดู ๑. ดัชนี ๖. สามี ๑๑. รัศมี ๑๖. วิตถาร ๒. มัชฌิม ๗. จุฬา ๑๒. สิกขา ๑๗. อินทรา ๓. สตรี ๘. มนุษย์ ๑๓. สัจจะ ๑๘. วิทยา ๔. นิพพาน ๙. กฤษณา ๑๔. อัคนี ๑๙. เวช ๕. พัสดุ ๑๐. สันติ ๑๕. ราษฎร ๒๐. มัจฉา