งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คำภาษาต่างประเทศ ที่ใช้ในภาษาไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คำภาษาต่างประเทศ ที่ใช้ในภาษาไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คำภาษาต่างประเทศ ที่ใช้ในภาษาไทย
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

2 สมาชิกในกลุ่ม ๓/๑ นางสาววิภาดา แสงสว่าง เลขที่ ๕๓๑๔๖๑๐๐๑๙
นางสาววิภาดา แสงสว่าง เลขที่ ๕๓๑๔๖๑๐๐๑๙ นางคนึงค์ นิธิยานันท์ เลขที่ ๕๓๑๔๖๑๐๐๒๗ นางนฤมล แก้วดารา เลขที่ ๕๓๑๔๖๑๐๐๔๐ นางณัฐกานต์ ติยะสัญ เลขที่ ๕๓๑๔๖๑๐๐๔๗ นางวราภรณ์ ทองน้อย เลขที่ ๕๓๑๔๖๑๐๐๖๖ นางลำดวน จันทรารักษ์ เลขที่ ๕๓๑๔๖๑๐๐๗๓ นางณัฐกาญจน์ แต่งตั้ง เลขที่ ๕๓๑๔๖๑๐๐๘๒

3 สาเหตุที่ภาษาต่างประเทศปะปนในภาษาไทย
๑. อิทธิพลด้านภูมิศาสตร์ มีอาณาเขตใกล้เคียง ติดต่อกัน เช่น ภาษาเขมร ภาษาพม่า ภาษาจีน ภาษาชวา-มลายู ๒. อิทธิพลทางด้านการค้า เช่น ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ๓. อิทธิพลด้านวัฒนธรรมและศาสนา เช่นศิลปะ วรรณคดี ศาสนาพุทธ ๔. อิทธิพลด้านการศึกษา การศึกษาต่อในต่างประเทศ ๕. อิทธิพลด้านความเจริญทางเทคโนโลยีและการเผยแพร่ข่าวสาร

4 อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย
๑. ทำให้คำภาษาไทยมีหลายพยางค์ ภาษาเขมร เผด็จ เสวย กังวล บำเพ็ญ ถนน ภาษาจีน ตะหลิว แซยิด ก๋วยเตี๋ยว เอี้ยมจุ๊น ภาษาชวา บุหลัน บุหรง ยิหวา ประไหมสุหรี ภาษาอังกฤษ คลินิก สนุกเกอร์ เนกไท แคชเชียร์ ภาษาบาลี,สันสกฤต ปรัชญา อัจฉรา สนิท อัคนี วิทยา

5 อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย
๒. ทำให้คำไทยมีเสียงควบกล้ำมากขึ้นและเพิ่มเสียงควบกล้ำ ที่ไม่มีในภาษาไทยอีกด้วย ทร - จันทรา นิทรา ทรานซิสเตอร์ เอ็นทรานซ์ ดร - ดรีม ดรัมเมเยอร์ ดร๊าฟ บร - เบรก บรูไน บรอนซ์ บล - แบล็ก บล็อก ฟร - ฟรี ฟริกโทส ฟรานซ์ ฟล - แฟลต ฟลอโชว์ ฟลูออรีน

6 อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย
๓. ทำให้คำไทยมีตัวสะกดเพิ่มขึ้น เช่น แม่กก - สุข เมฆ พยัคฆ์ เช็ค แม่กด - ฤทธิ์ พุธ เลิศ รัฐ ก๊าซ ฟิต แม่กบ - รูป ภาพ โลภ กราฟ ซุป กอล์ฟ แม่กน - เพ็ญ พล การ สูญ บุญ ดล บอล

7 อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย
๔. ทำให้ภาษาไทยมีคำศัพท์เพิ่มมากขึ้น สามารถเลือกใช้ ให้เหมาะสมกับโอกาสและความต้องการได้ เช่น มีคำที่มีความหมายเดียวกันให้เลือกใช้ เช่น น้ำ ชล อุทก วารี ธาร ชโลทร ผู้หญิง อิตถี สตรี นารี กัลยา สุดา สมร วนิดา พระอาทิตย์ สุริยา สุริยัน รพิ รวิ ภากร ดอกไม้ มาลี บุปผา บุษบา บุหงา โกสุม

8 อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย
มีคำแจกแจงความหมายได้ละเอียดลออแตกต่างกันเช่น ที่อยู่อาศัย อาคาร คฤหาสน์ นิเวศน์ วิมาน ปราสาท มีคำที่ใช้แสดงถึงฐานะหรือระดับของบุคคล เช่น ผัว - สามี สวามี พระสวามี ภัสดา เมีย - ภรรยา ภริยา ชายา มเหสี นอน - นิทรา บรรทม ไสยาสน์

9 อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย
มีคำเรียกสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ และสิ่งที่ไม่มีคำใช้เรียก เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยี โทรเลข อั้งโล่ โทรศัพท์ มรสุม ประชาธิปไตย โลกาภิวัตน์ ไอศกรีม มีคำภาษาต่างประเทศบางคำนำไปใช้เป็นราชาศัพท์ เช่น เสด็จ บรรทม เสวย โปรด เกล้า กระหม่อม

10 วิธีการนำคำต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย
๑. ใช้ตามคำเดิมของภาษาที่ยืมมา เช่น ภาษา คำเดิม ไทยนำมาใช้ ความหมาย เขมร แข ดวงเดือน กังวล เกี่ยวข้อง,ห่วงใย บาลี,สันสกฤต วาโย ลม นานาจิตตัง ต่างจิตต่างใจ อังกฤษ กรัม หน่วยวัดน้ำหนักอย่างหนึ่ง อเมริกา ชื่อประเทศ จีน แปะซะ แป๊ะซะ ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง

11 วิธีการนำคำต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย
๒. เปลี่ยนตัวสะกดให้ผิดไปจากเดิม ภาษา คำเดิม ไทยนำมาใช้ ความหมาย เขมร จัส จัด แก่,เข้ม,เต็มที่,กล้า เผอิล เผอิญ จำเพาะเป็น บาลี,สันสกฤต วุฑฒิ วุฒิ ภูมิรู้ อังกฤษ พาวนด ปอนด์ มาตราตวงวัดอย่างหนึ่ง

12 วิธีการนำคำต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย
๓. เปลี่ยนรูปและเสียงให้ผิดไปจากเดิม เช่น ภาษา คำเดิม ไทยนำมาใช้ จีน เล่งซึ้ง ลังถึง,ซึ้ง ฮวงโล้ว อั้งโล่ เขมร กระเบย กระบือ

13 วิธีการนำคำต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย
๔. ตัดคำให้มีเสียงสั้นลง เช่น ภาษา คำเดิม ไทยนำมาใช้ เขมร จัญเจิม เจิม กำชรวจ จรวด,กรวด บาลี,สันสกฤต อุโบสถ โบสถ์ อักโขภิณี อักโข

14 วิธีการนำคำต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย
๕. แผลงสระและพยัญชนะให้ผิดไปจากเดิม เช่น ภาษา คำเดิม ไทยนำมาใช้ เขมร ผจง ประจง,บรรจง สงแรก สาแหรก บาลี,สันสกฤต ปัญจ ปัญจะ, เบญจะ วชิระ วิเชียร กีรติ เกียรติ

15 วิธีการนำคำต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย
๖. เปลี่ยนความหมายให้ผิดไปจากเดิม เช่น ภาษา ความหมายเดิม ความหมายที่ไทยนำมาใช้ วิตถาร(บาลี) งาม นอกแบบ,มากเกินไป อุตริ(บาลี) ยิ่ง นอกแบบ, นอกคอก โมโห(บาลีสันสกฤต) ความหลง,ความโง่เขลา โกรธ สมเพช(บาลีสันสกฤต) ความสลด สงสาร,ควรกรุณา

16 วิธีการนำคำต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย
๗. บัญญัติเป็นศัพท์ใหม่ เช่น ภาษาเดิม บัญญัติเป็น Activity กิจกรรม(บาลี,สันสกฤต) Electricity ไฟฟ้า(ไทย+ไทย) Light - year ปีแสง (ไทย+ไทย) Allergy ภูมิแพ้ (บาลี+ไทย

17 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาบาลี
คำที่มาจากภาษาบาลี มีข้อสังเกต ดังนี้ สระในภาษาบาลีมี ๘ ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ พยัญชนะในภาษาบาลีมี ๓๓ ตัว คือ แถว วรรค แถวที่ ๑ แถวที่ ๒ แถวที่ ๓ แถวที่ ๔ แถวที่ ๕ วรรค ก วรรค จ วรรค ฎ วรรค ต วรรค ป เศษวรรค ย ร ล ว ส ห ฬ (อัง)

18 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาบาลี
๓. มีหลักเกณฑ์การสะกดคำที่แน่นอน ๑) ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๑ สะกด แถวที่ ๑ และ ๒ เป็นตัวตาม เช่น อุกกาบาต ทุกข์ มัจฉา วัตถุ บุปผา ๒) ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๓ สะกด แถวที่ ๓ และ ๔ เป็นตัวตาม เช่น พยัคฆ์ อัคคี วัชชี มัชฌิม พุทธ ๓) ถ้าพยัญชนะแถวที่ ๕ สะกด ทุกแถวในวรรคเป็นตัวตามได้ เช่น สัมปทาน สัมผัส พิมพ์ คัมภีร์

19 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาบาลี
๔. พยัญชนะวรรค ฏ นิยมตัดตัวสะกดเดิม แล้วใช้ตัวตาม สะกดแทน เช่น รัฏฐ เป็น รัฐ ทิฏฐิ เป็น ทิฐิ อัฏฐ เป็น อัฐ วุฑฒิ เป็น วุฒิ

20 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาบาลี
๕. ถ้าตัวสะกดและตัวตามเป็นตัวเดียวกัน มักจะตัดเสียตัวหนึ่ง เช่น รัชชกาล เป็น รัชกาล บุญญ์ เป็น บุญ ยุตติ เป็น ยุติ เขตต์ เป็น เขต อิสสระ เป็น อิสระ

21 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาบาลี
๖. คำบาลีนิยมใช้ตัว ฬ เช่นคำว่า กีฬา อาสาฬหบูชา โอฬาร ๗. คำบาลีนิยมใน ริ เช่น กิริยา จริยา อริยะ

22 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาสันสกฤต
คำที่มาจากภาษาสันสกฤต มีข้อสังเกตดังนี้ ๑. สระในภาษาสันสกฤตมี ๑๔ ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู ฤ ฤา ฦ ฦา เอ โอ ไอ เอา ๒.พยัญชนะในภาษาสันสกฤตมี ๓๕ ตัว คือ แถว วรรค แถวที่ ๑ แถวที่ ๒ แถวที่ ๓ แถวที่ ๔ แถวที่ ๕ วรรค ก วรรค จ วรรค ฎ วรรค ต วรรค ป เศษวรรค ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ (อัง)

23 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาสันสกฤต
๓. ภาษาสันสกฤตมีการสะกดคำไม่แน่นอน พยัญชนะตัวใด จะ เป็นตัวสะกดและตัวใดจะเป็นตัวตามก็ได้ เช่น อัคนี พนัส ปรัชญา สัปดาห์ ๔. คำสันสกฤตใช้ ฑ ในขณะที่ภาษาบาลีใช้ ฬ เช่น จุฑา กรีฑา ๕. คำสันสกฤตใช้ ศ ษ เช่นคำว่า ศีรษะ ศาล อภิเษก

24 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาสันสกฤต
๖. คำสันสกฤตใช้ ฤ ฤา ไอ เอา เช่นคำว่า ฤทธิ์ ฤา ไมตรี เสาร์ ๗. คำสันสกฤตใช้ รร (ร หัน) เช่นคำว่า กรรม ธรรม สวรรค์ อัศจรรย์ คำสันสกฤตใช้ คำควบกล้ำ เช่นคำว่า จักร สมัคร เพชร มิตร สมุทร อินทร์ ทรัพย์ หมายเหตุ คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต จะไม่มีรูปวรรณยุกต์และ ไม่มีไม้ไต่คู้กำกับ ยกเว้น เล่ห์ พ่าห์ กระบี่ เท่ห์ พุทโธ่ ซึ่งเราเติมรูป วรรณยุกต์ขึ้นภายหลัง

25 เปรียบเทียบคำบาลีและสันสกฤต
คำสันสกฤต ๑. สระมี ๘ ตัว คือ อะ อา อี อี อุ อู เอ โอ ๑. สระในภาษาสันสกฤตมี ๑๔ ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู ฤ ฤา ฦ ฦา เอ โอ ไอ เอา ๒. พยัญชนะมี ๓๓ ตัว ๒. พยัญชนะมี ๓๕ ตัว เพิ่ม ศ ษ ๓. มีหลักการสะกดตายตัว ๓. หลักการสะกดไม่ตายตัว ๔. นิยมใช้ ฬ ๔. นิยมใช้ ฑ ๕. นิยมใช้ ริ ๕. นิยมใช้ รร

26 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาเขมร
คำที่มาจากภาษาเขมร มีข้อสังเกตดังนี้ ๑. คำที่มาจากภาษาเขมรไม่ใช้รูปวรรณยุกต์ ยกเว้น เสน่ง เขม่า ๒.คำที่มาจากภาษาเขมรมักใช้อักษรควบกล้ำ และใช้อักษรนำ อักษรตาม เช่น ฉนำ โตนด ฉนาก ขยำ ขจี ถวาย เสวย เฉนียน เสด็จ ขนง

27 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาเขมร
๓. คำสองพยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า กำ คำ จำ ดำ ตำ ทำ มักเป็นคำแผลงที่มาจากภาษาเขมร เช่น กำนัล กำเนิด กำหนด คำนับ คำรบ จำหน่าย จำแนก ชำรุด ชำนาญ ดำรง ดำเนิน ดำริ ตำรา ตำรวจ ทำนบ ทำเนียบ

28 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาเขมร
๔.คำที่ขึ้นต้นด้วย บัง บัน บรร มักจะมาจากภาษาเขมร บัง เช่น บังเอิญ บังเกิด บังควร บังคับ บังอาจ บัน เช่น บันเทิง บันได บันทึก บันดาล บำ เช่น บำเพ็ญ บำบัด บำบวง บรร เช่น บรรทม บรรทุก บรรทัด บรรจง บรรสาน บรรจบ บรรเจิด บรรจุ

29 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาเขมร
๕.คำที่ขึ้นต้นด้วย ประ บางคำแผลงมาจากคำเขมรที่ขึ้นต้นด้วย ผ เช่น ประจง แผลงมาจาก ผจง ประทม แผลงมาจาก ผทม ประสาน แผลงมาจาก ผสาน

30 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาเขมร
๖. คำเขมรนิยมใช้ จ ญ ร ล เป็นตัวสะกด จ สะกด อาจ เสร็จ ตรวจ ญ สะกด เจริญ เข็ญ เพ็ญ ร สะกด ขจร เดิร (เดิน) ล สะกด ถกล ถวิล ผาล ตำบล

31 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาจีน
ภาษาจีนและภาษาไทยคล้ายคลึงกันมาก จะสังเกตได้ดังนี้ ๑. มีลักษณะเป็นคำโดด เช่น ตือ(หมู) เจี๊ยะ(กิน) พะ(ตี) เป็นต้น ๒. คำบางคำมีสำเนียงคล้ายคลึงกัน เช่น จีน ไทย ซา สาม สี่ สี่ ลก หก ก้าว เก้า

32 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาจีน
๓. มีเสียงเป็นเสียงดนตรี คือ มีเสียงวรรณยุกต์ คำที่มีระดับเสียงต่างกันมีความหมายต่างกัน เช่น เก๊า แปลว่า หมา ก้าว แปลว่า เก้า ก๋าว แปลว่า ลิง ๔. มีการเรียงประโยคเช่นเดียวกับไทย คือ ประธาน กริยาและกรรม เช่น ไทย จีน ฉันตีเธอ อั๊วพะลื้อ ฉินกินข้าว อั๊วเจี๊ยะปึง

33 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาจีน
๕. มีคำลักษณนามเหมือนภาษาไทย เช่น น่อนั้ง แปลว่า สองคน ซาเลี้ยบ แปลว่า สามลูก ซาก่อ แปลว่า สามอัน

34 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาอังกฤษ
๑. เป็นคำหลายพยางค์ คำที่มาจากภาษาอังกฤษส่วนใหญ่มักเป็นคำหลายพยางค์ เมื่อไทยนำมาใช้จึงทำให้ภาษาไทยมีคำหลายพยางค์เพิ่มมากขึ้น เช่น ไวโอลิน , อิเล็กทรอนิกส์, เทคโนโลยี แบตเตอรี่, คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

35 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาอังกฤษ
๒. ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปทางไวยากรณ์ ภาษาอังกฤษมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำตามลักษณะไวยากรณ์ แต่เมื่อยืมเข้ามาใช้ในภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไปตามลักษณะทางไวยากรณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น คำนามมักเป็นรูปเอกพจน์ เช่น แอปเปิ้ล คำกริยามักเป็นรูปปัจจุบันกาล เช่น วอร์ม, ปรู๊ฟ, ดร็อป

36 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาอังกฤษ
คนไทยใช้คำที่มาจากภาษาอังกฤษโดยไม่ได้คำนึงถึงชนิดและหน้าที่ของคำในภาษาอังกฤษ เช่น คำไทย คำอังกฤษ คอรัปชั่น (กริยา) Corruption (นาม) ช้อปปิ้ง (กริยา) Shopping (นาม) ไดเอ็ต (กริยา) diet (นาม)

37 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาอังกฤษ
๓.๑ การปรับเสียงพยัญชนะต้นที่ไม่มีในระบบเสียงภาษาไทยจะปรับมาใช้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกันแทน คำไทย คำอังกฤษ โชว์ show เบนซิน benzene วิว view แยม, แจม jam

38 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาอังกฤษ
๓.๒ การปรับเสียงพยัญชนะท้ายให้เข้ากับเสียงตัวสะกดแม่กบ, กน และกด ของไทย เช่น golf ออกเสียงเป็น /ก๊อบ/ football ออกเสียงเป็น /ฟุดบ็อน/ gas ออกเสียงเป็น /แก๊ด/

39 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาอังกฤษ
๓.๓ การตัดเสียงพยัญชนะตำแหน่งที่ ๑ ของเสียงพยัญชนะท้ายประสมออกใช้เครื่องหมาย ทัณฑฆาตบนรูปพยัญชนะที่ไม่ออกเสียงดังกล่าว เช่น คำไทย คำอังกฤษ การ์ด card ฟาร์ม farm ชอล์ก chalk ฟิล์ม film ปาล์ม palm

40 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาอังกฤษ
๓.๔ คำจำนวนมากเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยที่ไม่เป็นทางการมักตัดพยางค์ออก คำไทย คำอังกฤษ แอร์ air - condition ไมค์ microphone กิโล kilogram เบอร์ number

41 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาอังกฤษ
๔. การใช้เสียงพยัญชนะที่ไม่มีในระบบเสียงภาษาไทย   ๔.๑ การเพิ่มเสียงพยัญชนะควบกล้ำ /ทร-, พร- ,พล- , ฟร- , ดร- , บร- , บล-/ คำไทย คำอังกฤษ บล็อก block เบรก brake ดราฟต์ draft แฟลช flash ฟรี free ทรัมเป็ต trumpet พลาสติก plastic

42 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาอังกฤษ
๔.๒ การเพิ่มเสียงพยัญชนะท้าย /- f, -l , -s/ ในภาษาไทย เช่น คำไทย คำอังกฤษ พัฟ puff สต๊าฟ staff แคปซูล capsule ดับเบิ้ล double โบนัส bonus โฟกัส focus อ๊อฟฟิศ office

43 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาชวา
ภาษาชวา ที่ยืมมาใช้ส่วนใหญ่เป็นคำ ๒ พยางค์หรือมากกว่า เช่น กระจับปี่(พิณ ๔ สาย) ซ่าหริ่ม บุหงัน(ดอกไม้) บุหงารำไป บุหรง(นก) บุหลัน(ดวงเดือน) ปะหนัน(ลำเจียก) ปั้นเหน่ง(เข็มขัด) ยาหยี ยิหวา อังกะลุง

44 ลักษณะของคำที่มาจากภาษามลายู
ภาษามลายู ที่ยืมมาใช้ส่วนใหญ่เป็นคำ ๒ พยางค์หรือมากกว่า เช่น กระดังงา กระจิริด กัลปังหา กะลาสี กำยาน ทุเรียน มังคุด กำยาน จับปิ้ง โสร่ง สาคู สลัด สลาตัน

45 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาโปรตุเกส
ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาโปรตุเกส ได้แก่คำว่า กระดาษ (สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจาก “กราตัส”) กะละแม กะละมัง (ขนม)ปัง ปั้นเหน่ง หลา เหรียญ บาทหลวง เลหลัง สบู่

46 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาเปอร์เซีย
ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เชีย เช่น คำว่า กุหลาบ มาจากคำว่า Gul Gol แปลว่า กุหลาบ, ดอกไม้ทั่วไปสีแดง เติม suffix – ab เป็น กุลลาพ แปลว่า น้ำกุหลาบหรือน้ำดอกไม้เทศ ไทยนำมาใช้แทนดอกไม้ขนาดย่อม มีกลิ่นหอม นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ เช่น เกด คาราวาน ชุกชี เยียรบับ ตรา ตราชู ฝรั่ง ราชาวดี ศาลา สักหลาด สุหร่าย องุ่น

47 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาอาหรับ
ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับได้แก่ กะลาสี โกหร่าน (พระคัมภีร์กุรอาน) ระยำ (การลงโทษโดย ใช้ก้อนหินขว้างให้ตายเพราะทำผิดประเพณี ไทยนำมาใช้ในความหมายว่า ชั่วช้าเลวทราม)

48 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาทมิฬ
ตัวอย่างคำที่ยืมมาจากภาษาทมิฬได้แก่คำว่า กะไหล่ กุลี กานพลู กำมะหยี่ จงกลนี (บัวชนิดหนึ่ง) ตรียัมปวาย ปะวะหล่ำ กะละออม กะหรี่ (แกงแขกชนิดหนึ่ง) เจียระไน ตะกั่ว อาจาด มาลัย ยี่หร่า อินทผลัม

49 ลักษณะของคำที่มาจากภาษาฝรั่งเศส
กงสุล กาสิโน กิโยติน คูปอง โชเฟอร์ โดม บุฟเฟต์ บูเกต์ ปาร์เกต์

50 สรุป การยืมคำภาษาต่างประเทศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางภาษาโดยวิธีการต่าง ๆ ทำให้มีภาษาต่างประเทศปะปนอยู่ ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางภาษา เราจึงควรศึกษาเรื่องคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ใน ภาษาไทยให้เข้าใจอย่างถูกต้อง ชัดเจน ทั้งรูปลักษณ์ และ ความหมายของคำเพื่อจะได้ใช้สื่อสารได้ถูกต้องตามจุดประสงค์

51 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt คำภาษาต่างประเทศ ที่ใช้ในภาษาไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google