ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๘) ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๘) กศน.อำเภอ/เขต
แนวคิดและทิศทาง 1. ประเมินอิงเกณฑ์ตามจุดเน้นของสถานศึกษา 2. ประเมินจากผลการจัดการศึกษาเป็นหลัก น้ำหนักร้อยละ ๗๕ 3. ประเมินในเชิงกระบวนการ น้ำหนักร้อยละ ๒๕ 4. ประเมินทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ 5. ประเมินโดยการยืนยันรายงานการประเมินตนเองที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ 6. จำนวนมาตรฐานและตัวบ่งชี้ลดลง โดยให้อยู่ในระบบการประกันคุณภาพภายใน
หลักเกณฑ์การกำหนดตัวบ่งชี้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ ข้อ ๓๘ กำหนดให้ สมศ. ประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติและครอบคลุมหลักเกณฑ์ในเรื่อง ๑) มาตรฐานที่ว่าด้วยผลการจัดการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา ๒) มาตรฐานที่ว่าด้วยการบริหารจัดการศึกษา ๓) มาตรฐานที่ว่าด้วยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ ๔) มาตรฐานที่ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายใน
ข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษา ที่ใช้ประกอบการพิจารณา ข้อมูลผลการดำเนินงานเฉลี่ย ๓ ปีการศึกษาย้อนหลังก่อนการประเมิน ต.1.1 ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงตามวัย รวมทั้งรู้จักดูแลตนเองให้มีความปลอดภัย (1 คะแนน) ต.5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาพื้นฐาน 2.5 คะแนน ต.8 .พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและต้นสังกัด คะแนนผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาย้อนหลัง 3 ปี(2.5 คะแนน)