วิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคนิคระยอง 07/04/60 วิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคนิคระยอง
การใช้บทบาทสมมติที่มีต่อความนิยมไทย งานวิจัยเรื่อง การใช้บทบาทสมมติที่มีต่อความนิยมไทย ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ผู้วิจัย นางสาวกานดา สมุทรรัตน์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคนิคระยอง
07/04/60 ความเป็นมา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบความนิยมไทยของนักเรียนที่ได้รับการ ใช้บทบาทสมมติกับนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ 2. เพื่อเปรียบเทียบความนิยมไทยของนักเรียนก่อนและหลัง การใช้บทบาทสมมติ 3. เพื่อเปรียบเทียบความนิยมไทยของนักเรียนก่อนและหลัง การสอนแบบปกติ
กรอบแนวคิดการวิจัย ตัวแปรอิสระ วิธีการพัฒนาความนิยมไทย 2 วิธี ตัวแปรตาม วิธีการพัฒนาความนิยมไทย 2 วิธี คือ - การใช้บทบาทสมมติ - การสอนแบบปกติ ความนิยมไทย
วิธีดำเนินการวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ห้อง 4-5 วิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคนิคระยอง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ที่ได้คะแนนจากแบบสอบถามความ นิยมไทยต่ำกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 25 ลงมา จำนวน 22 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ห้อง 4-5 วิทยาลัย อาชีวศึกษาโปลีเทคนิคระยอง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ที่มีความนิยมไทยต่ำกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 25 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายจากประชากร และ สุ่มอย่างง่ายอีกครั้งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 10 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1. โปรแกรมความนิยมไทยโดยการใช้บทบาทสมมติ 2. โปรแกรมความนิยมไทยโดยการสอนแบบปกติ 3. แบบสอบถามความนิยมไทย
การเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล 1. ขั้นก่อนทดลอง ทำการสอนก่อนการทดลอง (Pretest) โดยให้กลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุมตอบแบบสอบถามความนิยมไทย 2. ขั้นดำเนินการทดลอง ดำเนินการทดลองโดยใช้บทบาทสมมติกับ กลุ่มทดลอง ตามโปรแกรมการใช้บทบาทสมมติความนิยมไทย เป็นเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที จำนวน 10 ครั้ง ในวันจันทร์และวันพุธ เวลา 13.00 – 13.50 น. ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ส่วนกลุ่ม ควบคุมได้รับการสอนแบบปกติตามโปรแกรมการสอนแบบปกติ ความนิยมไทย เป็นเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที จำนวน 10 ครั้ง ในวันอังคารและวันพฤหัสบดี เวลา 13.00 – 13.50 น. ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554
การเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล 3. การสอบหลังการทดลอง (Posttest) ให้นักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุมทำแบบสอบถามความนิยมไทยอีกครั้งหนึ่ง หลังจากใช้บทบาท สมมติและการสอนแบบปกติ โดยใช้แบบสอบถามฉบับเดียวกับที่ใช้ ก่อนทดลอง 4. นำคะแนนที่ได้จากแบบสอบถามความนิยมไทยทั้งสองครั้งมาทำการ วิเคราะห์ทางสถิติต่อไป
การเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล 1. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความนิยมไทยของนักเรียนที่ ได้รับการใช้บทบาทสมมติกับนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ โดยการ ทดสอบของ แมน วิทนีย์ (The Mann – Whitney U Test) 2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความนิยมไทยของนักเรียนที่ ได้รับการใช้บทบาทสมมติก่อนและหลังการใช้บทบาทสมมติ โดยการ ทดสอบของ วิลคอกซัน (The Wilcoxon Matched – Pairs Signed Rank Test) 3. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความนิยมไทยของนักเรียนที่ ได้รับการสอนแบบปกติ ก่อนและหลังการสอนแบบปกติ โดยใช้การ
สรุปผลการวิจัย 1. ผลการเปรียบเทียบคะแนนนิยมไทย ระหว่างกลุ่มทดลองที่ใช้บทบาทสมมติและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติ พบว่า การใช้บทบาทสมมติทำให้นักเรียนมีความนิยมไทยสูงขึ้นกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนความนิยมไทยของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้บทบาทสมมติ พบว่า การใช้บทบาทสมมติทำให้นักเรียนมีความนิยมไทยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนความนิยมไทยของกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการสอนแบบปกติ พบว่า การสอนแบบปกติทำให้นักเรียนมีความนิยมไทยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ประโยชน์ของการวิจัย 1. ควรมีการศึกษาทดลองใช้วิธีการอื่น เช่น เทคนิคแม่แบบเพื่อ พัฒนาความนิยมไทยของนักเรียน 2. ควรทดลองใช้บทบาทสมมติพัฒนาความนิยมไทยของนักเรียน ในระดับชั้นอื่น
07/04/60 ขอบคุณค่ะ