การจำแนกประเภทของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดย นายเพชรนภา โสภาจร ตำแหน่งครู รับเงินเดือนอันดับ คศ.1 โรงเรียนบางจาก(โกมลประเสริฐอุทิศ) สำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
1. บอกความหมาย และจำแนกประเภทของสารโดยใช้เกณฑ์ต่างๆ ได้ (K) 2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A) 3. สามารถสื่อสารและนำความรู้เรื่องการจำแนกประเภทของสารไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (P)
สาระการเรียนรู้ มีสาระการเรียนรู้ดังนี้... ครับ - ความหมายของสาร - ความหมายของสาร การจำแนกประเภทของสาร - ใช้สถานะเป็นเกณฑ์ - ใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ - ใช้การละลายน้ำเป็นเกณฑ์ - ใช้ความเป็นกรด-เบสเป็นเกณฑ์
สาร ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่มีองค์ประกอบและสมบัติเฉพาะตัว มีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยของแข็งจะมีอนุภาคของสารอยู่ชิดกันมากที่สุด มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมากจึงมีปริมาตรคงที่ มีรูปร่างที่แน่นอน และเฉพาะตัว ส่วนของเหลวจะมีปริมาตรคงที่ สามารถไหลได้เพราะอนุภาคภายในอยู่ห่างกัน รูปร่างของเหลวจึงเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุได้ และแก๊สจะมีอนุภาคภายในอยู่ห่างกันมาก อนุภาคจะเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา จึงมีปริมาตรและรูปร่างไม่คงที่ สามารถฟุ้งกระจายได้
การจำแนกประเภทของสาร การจำแนกประเภทของสาร คือ การจัดสารออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกในการนำไปใช้ และเพื่อความสะดวกในการศึกษาสมบัติของสารซึ่งมีอยู่จำนวนมาก การจำแนกประเภทของสารจะใช้เกณฑ์ต่างๆ กัน เช่น สถานะ เนื้อสาร และความสามารถในการนำความร้อนเป็นเกณฑ์ โดยเมื่อใช้สถานะเป็นเกณฑ์จะจำแนกสารได้เป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส เมื่อใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์จะจำแนกได้เป็นสารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม เมื่อใช้การละลายน้ำเป็นเกณฑ์จะจำแนกสารที่ละลายน้ำได้ และสารที่ละลายน้ำไม่ได้ เมื่อใช้ความเป็นกรดและเบสเป็นเกณฑ์มาใช้แยกประเภทของสารละลายต่างๆ
การจำแนกประเภทของสารโดยใช้สถานะเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้ดังนี้ 1. ของแข็ง มีรูปร่างและปริมาตรที่คงที่แน่นอน 2. ของเหลว มีปริมาตรคงที่ แต่รูปร่างเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ 3. แก๊ส มีปริมาตรและรูปร่างไม่คงที่ จะเปลี่ยนไปและฟุ้งกระจายตามภาชนะที่บรรจุ
การจำแนกประเภทของสารโดยใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้ดังนี้ 1. สารเนื้อเดียว หมายถึง สารที่มองเห็นเป็นเนื้อเดียว ซึ่งอาจมีสารเพียงชนิดเดียวหรือมากกว่า 1 ชนิดปนอยู่ 2. สารเนื้อผสม หมายถึง สารที่เกิดจากสารอื่นๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปผสมกันอยู่ เมื่อมองด้วยตาเปล่าจะพอมองเห็นสารตั้งแต่ 2 ชนิดปนกันอยู่
การจำแนกประเภทของสารโดยใช้การละลายน้ำเป็นเกณฑ์ แบ่งสารได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1. สารที่ละลายน้ำ เช่น เกลือแกง น้ำตาลทราย น้ำตาลกลูโคส จุนสี ด่างทับทิม เอทานอล กรดแอซิติก แก๊สแอมโมเนีย แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น 2. สารที่ไม่ละลายน้ำ เช่น แป้ง หินปูน ไขมัน น้ำมันพืช พลาสติก เหล็ก ไม้ กำมะถัน คาร์บอน น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น
การจำแนกประเภทของสารโดยใช้ความเป็นกรดและเบสเป็นเกณฑ์ โดยทั่วไปเรานิยมนำเกณฑ์นี้มาใช้แยกประเภทของสารละลายต่างๆ เช่น น้ำเชื่อม น้ำเกลือ แอลกอฮอล์เช็ดแผล ซึ่งการตรวจสอบว่าสารใดมีสมบัติเป็นกรดหรือเบส สามารถทำได้โดย การใช้กระดาษลิตมัสตรวจสอบ
เพื่อนๆ ทราบไหมครับว่า กระดาษลิตมัส เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบความเป็นกรด-เบสของสารกระดาษลิตมัส มี 2 สี คือ สีแดงและสีน้ำเงิน ซึ่งจะบอกให้ทราบแต่เพียงว่า สารละลายเป็นกรดหรือเบสเท่านั้น แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ามีความเป็นกรดหรือเบสมากน้อยเพียงใดนะครับ
สารประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กใช่หรือไม่ ไม่ใช่
การจำแนกสารแบ่งออกเป็นได้กี่ประเภท 5 การจำแนกสารแบ่งออกเป็นได้กี่ประเภท ก. 1 ประเภท ข. 2 ประเภท ง. 4 ประเภท ค. 3 ประเภท
จงตอบคำถามให้ถูกต้อง สารมีกี่สถานะ เนื้อสารมีกี่ประเภท ประเภทของสารโดยใช้การละลายน้ำแบ่งสารได้กี่กลุ่ม <Keypad will appear here based on shape and location of this rectangle.>
จงแบ่งประเภทของสารให้ถูกต้อง น้ำตาลทราย พลาสติก ด่างทับทิม เหล็ก หินปูน ไม้ กรดแอซิติก เกลือแกง สารที่ละลายน้ำ สารที่ไม่ละลายน้ำ
<Scoreboard will appear here, leave shape as-is.>