เล่าเรื่องพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร โดย ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงษ์ ณ อยุธยา อดีตข้าหลวง รุ่นที่ ๔ ในสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๗.๐๐ – ๑๙.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑ์บ้านจิรายุ - พูนทรัพย์
วันประสูติ วันพุธที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๗ วันสิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ (๕๔ พรรษา) พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชมาารดา สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงเป็น พระราชธิดา ลำดับที่ ๔๓ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูติวันพุธที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๒๗ เดือน ๕ แรม ๖ ค่ำ ปีวอก ณ พระตำหนักสมเด็พระนางเจ้า สว่างวัฒนาบรม ราชเทวี ในพระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระเชษฐา พระเชษฐภคินี พระอนุชา และพระขนิษฐา ดังนี้ ๑. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ต่อมาทรงได้สถาปนาพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกในรัชการที่ ๕ ๒. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอิศริยาภรณ์ ๓. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา ๔. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ ๕. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ ๖. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ ๗. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์
พระองค์สร้างสถานศึกษาใหม่ๆ ขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด พระองค์สร้างสถานศึกษาใหม่ๆ ขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เช่น โรงเรียนราชินีบน โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ จังหวัดเพชรบุรี โปรดอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ของโรงเรียนในพระอนุเคราะห์ พระองค์โปรดประทานทุนให้ข้าหลวงที่สนใจการศึกษา ไปเรียนต่อต่างประเทศ เพื่อจะได้กลับมาเป็นกำลังสำคัญการศึกษาของเด็กหญิงไทย เมื่อครั้งเสด็จไปรักษาพระองค์ด้วยพระโรคพระวักกะพิการที่ทวีปยุโรป ทรงไปดูงานการศึกษาจากโรงเรียนต่างๆ ในยุโรป และกลับมาปรับปรุงสถานที่ & หลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัย
ทรงได้บรรจุวิชาเหล่านี้ไว้ในหลักสูตรด้วย โดยมีพระประสงค์พัฒนาความรู้ความสามารถของสตรีให้ก้าวหน้าทันสมัยตลอดเวลา แม้วิชาวิทยาศาสตร์และวิชาพลศึกษา สมัยนั้นไม่เห็นความจำเป็นที่สตรีจะต้องเรียน เพราะขัดกับวัฒนธรรมประเพณีหญิงไทยที่ต้องเรียบร้อย ละมุนละม่อม ในทุกอิริยาบถ ทรงได้บรรจุวิชาเหล่านี้ไว้ในหลักสูตรด้วย ของประดับถ้าไม่รู้จักเก็บรักษาก็สูญหายได้ แต่วิชาความรู้นั้นติดตัวไปตลอดชีวิต--" พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ เวลา ๒๓.๑๕ นาฬิกา ด้วยพระอาการสงบ ท่ามกลางความเศร้าโสกเสียใจของพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ตลอดจนผู้ใกล้ชิด