การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolio Assessment) สมพงษ์ พันธุรัตน์ สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolio Assessment) เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินตามสภาพจริง และเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับการวัดและประเมินผลทางการศึกษา เนื่องจากมีหลักการสำคัญของการวัดผล คือ กระบวนการในการรวบรวมเหตุการณ์และข้อมูลที่ผู้เรียนสามารถทำได้ และแปลความหมายของเหตุการณ์ หรือ ข้อมูล และตัดสินจากข้อมูลเหล่านั้น
ความหมายของแฟ้มสะสมงาน แฟ้มสะสมงาน คือ การสะสมเอกสาร หลักฐาน ร่องรอย ผลงานหรือชิ้นงาน ที่แสดงถึงทักษะ ความสามารถ ความคิด ตลอดจนพัฒนาการของผู้เรียน โดยผู้เรียนนั้นมีส่วนร่วมในการคัดเลือกเนื้อหา กำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือก เกณฑ์การตัดสินคุณค่าของงาน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองด้วย
ลักษณะสำคัญของการประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน มุ่งวัดศักยภาพของผู้เรียนในแง่ของการผลิต มากกว่าการเลือกคำตอบถูกในข้อสอบ เน้นกิจกรรมที่มีความหมาย วัดความสามารถในการดำเนินงาน หรือวิธีการ เน้นการสะท้อนความคิดต่อผลงานของตนเอง (self-reflection) และการประเมินตนเอง (self-assessment) การดำเนินการเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับการสอน ไม่เน้นการแข่งขัน แต่เน้นการคิดและการแสดงออกของผู้เรียน
ชนิดของแฟ้มสะสมงาน (Kinds of Portfolios) แฟ้มสะสมโครงการ (Project Portfolios) มีวัตถุประสงค์เพื่อสะสมหรือบันทึกเอกสารหลักฐานของการดำเนินงานโครงการ สำหรับแสดงถึงความสำเร็จ ความพึงพอใจ ในระหว่างเวลาที่ดำเนินโครงการจนกระทั้งสิ้นสุดโครงการ บางครั้งก็มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงความสามารถในลักษณะของกระบวนการเขียน หรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และยังสามารถเป็นเอกสารที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการได้อีกด้วย
ชนิดของแฟ้มสะสมงาน (Kinds of Portfolios) (ต่อ) แฟ้มสะสมพัฒนาการ (Growth Portfolios) ใช้แสดงถึงพัฒนาการของความสามารถได้มากกว่า 1 เป้าหมายของการเรียนรู้ เป็นเอกสารที่แสดงถึงการเพิ่มขึ้นของผลสัมฤทธิ์ นักศึกษาจะเลือกหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายของการเรียนรู้ได้ในหลายช่วงเวลาของการเรียนรู้ และเขียนบรรยายระดับสัมฤทธิผลในแต่ละชิ้นของหลักฐานที่นำเสนอ หลักฐานที่เลือกเก็บนั้นอาจเป็นงานที่ดีที่สุด หรือ เป็นตัวอย่างงานก็ได้
ชนิดของแฟ้มสะสมงาน (Kinds of Portfolios) (ต่อ) แฟ้มสะสมผลสัมฤทธิ์ (Achievement Portfolios) เป็นเอกสารแสดงถึงระดับผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งประกอบด้วยผลงานที่ดีที่สุดตามเป้าหมายของการเรียนรู้ ในกรณีของแฟ้มสะสมผลสัมฤทธิ์นี้จะให้ความสำคัญกับจำนวนของตัวอย่างที่จัดเก็บ ซึ่งต้องมีความหลากหลายเพื่อแสดงถึงระดับของผลสัมฤทธิ์ การเขียนบรรยายประกอบของนักศึกษาจะเป็นการแสดงถึงเป้าหมายการเรียนรู้และระดับความสามารถในแต่ละชิ้นของตัวอย่างงาน และมีบ่อยครั้งที่ใช้เป็นฐานสำหรับการอภิปรายและกำหนดเป้าหมายในการจัดสัมมนา
ชนิดของแฟ้มสะสมงาน (Kinds of Portfolios) (ต่อ) แฟ้มสะสมความสามารถ (Competence Portfolios) จะแสดงถึงหลักฐานอ้างอิงที่ใช้สนับสนุนการได้มาซึ่งการยอมรับหรือการยกย่องระดับความสัมฤทธิ์ผล ในทำนองเดียวกันกับ แฟ้มสะสมผลสัมฤทธิ์ แฟ้มสะสมความสามารถ ก็ให้ความสำคัญกับประเด็กการเลือกตัวอย่าง จำนวนชิ้นของหลักฐานก็ใช้ในสนับสนุนหรืออ้างถึงความสามารถตามเป้าหมายของการเรียนรู้ด้วย ซึ่งเป็นการแสดงถึงระดับผลสัมฤทธิ์ที่ยั่งยืน
ชนิดของแฟ้มสะสมงาน (Kinds of Portfolios) (ต่อ) แฟ้มสะสมประกาศนียบัตร (Celebration Portfolios) ใช้เก็บเอกสารใบประกาศที่แสดงถึงความสำเร็จหรือผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาที่ภาคภูมิใจที่สุด ในกรณีนี้ นักศึกษาจะตัดสินใจเองว่าจะจัดเก็บอะไรบ้าง และ ทำไมจึงเก็บ ในเบื้องต้น ครูอาจจะเลือกเก็บใบประกาศแบบไม่ต้องมีกฎเกณฑ์มากนัก ที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอนก็ได้ เช่น ทุกอย่างที่ทำให้ภาคภูมิใจ จากนั้นจึงเน้นเลือกเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาที่สอน
เอกสารอ้างอิง ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์. (2540). “การประยุกต์ใช้การวัดและประเมินความสามารถจริงในสภาพการเรียนการสอน”. วารสารแนะแนว, ปีที่ 31. ฉ.167 หน้า: 9-17. สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). การวัดและประเมินผลสภาพแท้จริงของนักเรียน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. Morgan, Bobbette M. (1999). “Portfolios in Preservice Teacher Fieldbased Program : Evolution of a Rubric for Performance Assessment.” Education. Vol. 119, Issue 3, Page: 416-426. Reckase, Mark D. (1995). “Portfolio Assessment : A Theoretical Estimate of Score Reliability.” Educational Measurement: Issues and Practice. Vol. 14, No. 1, Page: 12-14. Richard, J. Stiggins, Judith A. Arter, Jan Chappuis, and Stephen Chappuis. (2007). Classroom Assessment for Student Learning. New Jersey : Pearson Education, Inc. Weldin, Donna J. and Tumarkin, Sandra R. “Parent Involvement More Power in the Portfolio Process.” Childhood Education. Vol. 75, No. 2. Page: 90-95.