โปรแกรม Microsoft Access ตาราง Table
การสร้างตาราง (Table) ตาราง คือ ออบเจ็กต์หนึ่งในฐานข้อมูล เป็นส่วนที่ต้องสร้างขึ้นเป็นอันดับแรก เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูล โดยในการสร้างตารางนั้นมีหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถจัดการกับข้อมูลในตารางเพื่อให้เกิดความสะดวกในการทำงาน เช่น การเรียงลำดับข้อมูล การกรองข้อมูล และการค้นหาข้อมูล
ส่วนประกอบของตาราง ไอเท็ม (Item) คือ ข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บไว้ในแต่ละเซลล์ของตาราง ฟิลด์ (Field) หรือเขตข้อมูล คือ ข้อมูลในแนวคอลัมน์ เช่น ฟิลด์รหัส ฟิลด์ชื่อ เรคอร์ด (Record) คือ ข้อมูลในแต่ละแถวของตาราง ตาราง (Table) คือ ส่วนของตารางทั้งหมดที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ถ้านำตารางหลาย ๆ ตารางมารวมกันเรียกว่า ฐานข้อมูล (Database)
ส่วนประกอบของตาราง รหัส คำนำหน้าชื่อ ชื่อ นามสกุล วันเกิด 51001 ฟิลด์ (Field) รหัส คำนำหน้าชื่อ ชื่อ นามสกุล วันเกิด 51001 เด็กหญิง ณัฐกา อัมพร 22/8/2530 51002 เด็กชาย สราวุธ แซ่ตั้ง 12/4/2530 51003 ปวีณา คำเสียง 19/10/2531 ตาราง (Table) เรคอร์ด (Record) ไอเท็ม (Item)
ชนิดของข้อมูล ชนิดข้อมูล คำอธิบาย Text เป็นข้อมูลประเภทข้อความ เครื่องหมาย หรือตัวเลขที่ไม่ต้องการนำไปคำนวณ ซึ่งเก็บตัวอักขระได้สูงสุด 256 ตัวอักษร Memo เป็นข้อมูลประเภทข้อความเช่นเดียวกัน แต่สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุดถึง 65,536 ตัวอักษร เหมาะสำหรับข้อความที่มีความยาวมาก ๆ Number เป็นข้อมูลชนิดตัวเลข ทั้งตัวเลขที่เป็นจำนวนเต็ม ตัวเลขทศนิยม Date/Time เป็นข้อมูลประเภทวันที่ เวลา ซึ่งเก็บข้อมูลได้ 8 ไบต์ Currency เป็นข้อมูลที่เก็บค่าตัวเลขที่เป็นทศนิยมที่มีทศนิยม 4 ตำแหน่งเสมอ AutoNumber เป็นข้อมูลที่เก็บตัวเลขที่แสดงค่าอัตโนมัติ
ชนิดของข้อมูล ชนิดข้อมูล คำอธิบาย Yes/No เป็นข้อมูลชนิดบูลีน ที่มีเพียงค่าหนึ่งใน 2 ค่า เช่น True/False, Yes/No, On/Off OLD Object เป็นข้อมูลชนิดที่เก็บออบเจ็กต์ เช่น รูปภาพ แผนภูมิ เสียง HyperLink เป็นข้อมูลที่เก็บที่อยู่ หรือจุดเชื่อมโยงของไฟล์ในระบบอินเตอร์เน็ต Attachment เป็นข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาใหม่ ซึ่งเก็บเอกสารและแฟ้มไบนารีทุกชนิดในฐานข้อมูล เช่น เอกสาร Word, Excel Lookup Wizard เป็นชนิดข้อมูลที่ดึงข้อมูลมาจากฟิลด์ในชื่อตาราง
ความสัมพันธ์ (Relationship) เมื่อได้สร้างตารางและกำหนดคีย์หลักเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปให้เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ให้กับตารางข้อมูล เพื่อให้ตารางที่ได้ออกแบบมาสามารถอ้างอิงข้อมูลถึงกันได้ เรียกว่า เอนทิตี้ เรียกว่า ลักษณะความสัมพันธ์
ชนิดของความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์แบบ 1 : 1 (One-to-One) เป็นความสัมพันธ์ที่มีรายการใดรายการหนึ่งในตารางใดๆ สามารถจับคู่ได้กับรายการใดรายการหนึ่งเพียงรายการเดียวในอีกตาราง ซึ่งข้อมูลในฟิลด์นั้นจะมีค่าไม่ซ้ำกัน เช่น นักเรียน 1 ประจำ 1 ชั้นเรียน >>> นักเรียน 1 คน สามารถประจำชั้นเรียนได้ 1 ชั้นเรียนเท่านั้น
ชนิดของความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์แบบ 1 : M (One-to-Many) เป็นความสัมพันธ์ที่มีรายการใดรายการหนึ่งในตารางใดๆ สามารถจับคู่รายการในอีกตารางได้หลายรายการ เช่น ครู 1 สอน M นักเรียน >>> ครู 1 คน สามารถสอนนักเรียนได้ หลายคน
ชนิดของความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์แบบ M : M (Many-to-Many) เป็นความสัมพันธ์ที่รายการข้อมูลหลายๆ รายการในตารางหนึ่งมีความสัมพันธ์กับอีกหลายๆ รายการในอีกตารางหนึ่ง เช่น นักเรียน M ยืม M หนังสือ >>> นักเรียน 1 คน สามารถยืมหนังสือได้ หลายเล่ม และ หนังสือ 1 เล่ม สามารถถูกยืมโดยนักเรียน หลายคน