เรื่องราวทางสังคม (SOCIAL STORY)
ความหมาย เรื่องราวทางสังคมตามความหมายของการสอนโดยวิธีเรื่องราว ทางสังคม คือ การสอนทักษะ ทางสังคมผ่านรูปแบบเรื่องราวที่ ง่ายๆ โดยใช้การรับรู้จากภาพ ทำเป็นหนังสือภาพ และมีประโยค กำกับ ใช้ปรับปรุงความเข้าใจทางสังคมในสถานการณ์เฉพาะของ แต่ละบุคคล
ขั้นตอนของเรื่องราวทางสังคม 1. หาสถานการณ์ 2. รวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์เป้าหมาย 3. นำมาเขียนเป็นเรื่องราวทางสังคม แล้วให้เด็กอ่านหรือให้อ่าน ให้เด็กฟัง 4. จัดเตรียมสถานการณ์เพื่อให้โอกาสเด็กได้ใช้ทักษะ 5. ประเมินผล 6. ให้แรงเสริมอย่างสม่ำเสมอ
ประโยชน์ การสอนโดยวิธีเรื่องราวทางสังคมมีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กเข้าใจ ในกฎของสังคม ฝึกเด็กให้รู้จักสังเกต จำ และเข้าใจใน การแสดงออกของสีหน้าท่าทาง เพื่อสอนให้เด็กรับรู้ เข้าใจ อารมณ์ของผู้อื่น และเข้าใจอารมณ์ของตนเอง มีการแสดงออก ของอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม
ตัวอย่าง การใช้เรื่องราวทางสังคมในการสอนทักษะทางสังคม
ตัวอย่าง การใช้เรื่องราวทางสังคมในการสอนทักษะทางสังคม
ตัวอย่าง การใช้เรื่องราวทางสังคมในการสอนทักษะทางสังคม C:\Users\Administrator\Desktop\socailstory.pd f
วิดีทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรม (Video Modeling)
ความหมาย นวัตกรรมทางการสอนแบบใหม่ หมายถึง กระบวนการสอนที่มี ประสิทธิภาพ ซึ่งใช้ในการสร้างทักษะในด้านต่างๆ ให้กับ นักเรียนที่มีภาวะออทิสซึม โดยการบันทึกวิดีโอบุคคลหรือกลุ่ม คนที่แสดงพฤติกรรมต่างๆ อาทิ การเล่นของเล่น การพูดคุย หรือ การทำงานบางอย่างให้สำเร็จลุล่วง เป็นต้น นักเรียนจะได้ชมการ แสดงของบุคคลเหล่านี้ผ่านทางจอทีวีหรือคอมพิวเตอร์ จากนั้น นักเรียนจะเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านั้นที่พวกเขาได้เห็น รูปแบบ การสอนแบบวิดีทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรมจะช่วยให้นักเรียน สามารถเลียนแบบพฤติกรรมต่างๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ใหญ่ คอยกำกับดูแล (Mary McDonald. 2010)
วัตถุประสงค์ของการใช้วิดีทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรม 1. เพื่อนำเสนอสื่อการสอนที่ง่ายต่อความเข้าใจและสามารถดึงดูดให้เด็กเกิดความ สนใจและแสดงการโต้ตอบ หรือเลียนแบบพฤติกรรมจากต้นแบบได้ 2. เพื่อให้เด็กได้พัฒนาการเรียนรู้จากพฤติกรรมของต้นแบบที่หลากหลาย และ สามารถลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ 3. เพื่อสามารถนำเสนอการเปลี่ยนแปลงและควบคุมพฤติกรรมทางสังคมต่างๆ ที่ ต้องการ ให้เด็กเรียนรู้ผ่านต้นแบบได้ 4. เพื่อให้เด็กสามารถพัฒนาพฤติกรรมทางสัมคม และพฤติกรรมที่แสดงออกอย่าง เหมาะสมในชีวิตประจำวันได้
การสร้างวีดิทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรม (Video Modeling) 1. เลือกพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสอนโดยใช้วีดิทัศน์ เพื่อแสดงต้นแบบพฤติกรรม 2. เลือกอุปกรณ์ ระบุอุปกรณ์ที่สามารถนำไปใช้เพื่อ 2.1) สร้างวีดิทัศน์ 2.2) ฉายวีดิทัศน์ 3. เขียนบทวีดิทัศน์ของพฤติกรรมที่คุณต้องการนำเสนอในวิดีทัศน์ 4. เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน 5. สร้างวีดิทัศน์ โดยระบุมุมมองที่จะทำการถ่ายทำ ระบุนักแสดงที่จะ แสดงพฤติกรรมต้นแบบ บันทึกการถ่ายทำ และทำการตัดต่อวีดิทัศน์
การสร้างวีดิทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรม (Video Modeling) 6. จัดเตรียมสภาพแวดล้อมในการชมวิดีทัศน์ ระบุวันเวลาที่จะนำวิดีทัศน์ มาฉายให้เด็กชมในแต่ละวัน และจัดเตรียมโสตทัศนูปกรณ์ในการฉาย วิดีทัศน์ 7. ฉายวิดีทัศน์ให้นักเรียนชม 8. ตรวจสอบกระบวนการ แก้ไขปัญหาเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น 9. แก้ไขปัญหา แล้วทำการตรวจสอบผลของการแก้ไขปัญหา 10. การลดลง หากสามารถทำได้ ให้ค่อยๆ ลดการฉายวิดีทัศน์ และลดการ บอกเป็นนัยหรือการกระตุ้นเตือนให้เด็กทำตามให้น้อยลง
ประโยชน์ของการใช้วีดิทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรม (Video Modeling) 1. ช่วยดึงดูดให้เด็กมีความสนใจและสามารถเลียนแบบตามพฤติกรรมที่ได้เรียนรู้ จากต้นแบบ ซึ่งปรากฎในวิดีทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรม (Video Modeling) 2. ช่วยพัฒนาทักษะทางด้านการเรียนรู้และพฤติกรรมที่หลากหลายจากตัวแบบที่ แสดงในวิดีทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรม (Video Modeling) 3. ช่วยทำให้ผู้สอนสามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือนำเสนอ พร้อมทั้งสามารถ เปลี่ยนแปลงสื่อที่เป็นพฤติกรรมต้นแบบได้อย่างง่ายดายและหลากหลาย 4. สามารถทำให้เด็กเกิดการพัฒนาทักษะและพฤติกรรมทางสังคม ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 5. สามารถทำให้เด็กพัฒนาทักษะต่างๆ ได้รวดเร็วขึ้น โดยปราศจากพฤติกรรมการ แทรก แซงและการหันเหความสนใจของเด็กจากสื่อการสอน
ตัวอย่างวีดิทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรม (Video Modeling) การกล่าวทักทาย การขอบคุณเมื่อได้รับสิ่งของ การแบ่งปันสิ่งของ การขอสิ่งของเมื่อต้องการ