เอกสารประกอบรายงานการประชุมข้าราชการ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี ครั้งที่ 11/2556 เมื่อวันศุกร์ ที่ 29 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องประชุม หน้าห้องฝ่ายปราบปราม ชั้น 2 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี..
โดย... นายศักดา สุหงษา เจ้าพนักงาน สรรพสามิตชำนาญงาน ระหว่างวันที่ พฤศจิกายน 2556 เวลา น. ณ ห้องปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ คณะวิทยาการ คอมพิวเตอร์ อาคาร 42 ศูนย์ภาษาและ คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
ในปัจจุบันการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การ ให้บริการของภาครัฐและเอกชนผ่านเว็บไซต์ กลายเป็นช่องทางที่มีความสำคัญและได้รับความ นิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดใน เรื่องเวลาและระยะทางประกอบกับความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีทำให้การพัฒนาเว็บไซต์ กลายเป็นเรื่องง่ายที่ใครๆ ก็ทำได้ ส่งผลให้ ปัจจุบันมีเว็บไซต์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ทว่า เว็บไซต์เหล่านั้นยังคงถูกออกแบบมาเพื่อคน ทั่วไปที่ไม่ได้มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมใน ชีวิตประจำวัน การพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า “ Web Accessibility” จึงถูกหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นเพื่อ เป็นแนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์ให้สอดคล้อง กับการเข้าถึงสารสนเทศที่เท่าเทียมและทั่วถึง สามารถให้บริการข้อมูลข่าวสารที่อำนวยความ สะดวกให้กับคนพิการ ซึ่งผู้ที่พัฒนาเว็บจะต้องมี แนวทางในการพัฒนาที่ตรงกัน เพื่ออำนวยความ สะดวกในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ให้คนพิการ สามารถใช้บริการ โดยจะคำนึงถึงความพิการใน ทุกๆ ด้าน
หลักการพัฒนาเว็บไซต์ที่ ทุกคนเข้าถึงได้ TWCAG 2010 (Thai Web Content Accessibility Guidelines 2010)
แนวทางที่เหมาะสมสำหรับการ พัฒนา นำเสนอเนื้อหา และข้อมูลของเว็บไซต์ มี 4 หลักการ ดังนี้ 1. สามารถรับรู้ได้ (Perceivable) 2. สามารถใช้งานได้ (Operable) 3. สามารถเข้าใจได้ (Understandable) 4. คงทนต่อความเปลี่ยนแปลง (Robust)
1. สามารถรับรู้ได้ (Perceivable) - จัดให้มีข้อความทดแทนสำหรับเนื้อหาที่ไม่ใช่ ข้อความเพื่อให้สามารถเปลี่ยนไปสู่ รูปแบบข้อมูลอื่นๆ เพื่อตอบสนองต่อความ ต้องการที่หลากหลายได้ เช่น ตัวหนังสือขนาดใหญ่ (Large Print) คำพูด อักษรเบลล์ สัญลักษณ์หรือภาษาที่ ง่ายขึ้น - จัดให้มีข้อความทดแทนสำหรับสื่อที่กำหนดด้วย เวลา (Time - Based Media) - สร้างเนื้อหาที่สามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนรูปแบบโครงร่าง เอกสาร (Layout) โดยไม่สูญเสียสารสนเทศหรือ โครงสร้างของเอกสาร - จัดทำเนื้อหาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเห็นหรือได้ยิน เนื้อหาได้ชัดเจน รวมทั้งการแยก ความแตกต่างของสีพื้นหน้าและพื้นหลัง
2. สามารถใช้งานได้ (Operable) - ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทุกส่วนและการใช้งาน ในหน้าเว็บไซต์ได้ด้วยการใช้ แป้นพิมพ์เพียงอย่างเดียว - กำหนดเวลาอย่างเพียงพอเพื่อให้ผู้สามารถ อ่านและใช้งานเนื้อหาได้ - ไม่สร้างเนื้อหาที่ก่อให้เกิดอาการชัก (Seizure) - จัดหาวิธีการให้ผู้ใช้สามารถท่องหน้าเว็บ ค้นหาเนื้อหาและทราบว่า ตนเองอยู่ตำแหน่งใดในเว็บไซต์ได้
3. สามารถเข้าใจได้ (Understandable) - ผู้ใช้สามารถอ่านและเข้าใจเนื้อหาที่เป็น ข้อความได้ - หน้าเว็บปรากฏและทำงานในลักษณะที่ ผู้ใช้สามารถคาดเดาได้ - ช่วยให้ผู้ใช้หลีกเลี่ยงความผิดพลาดและ แนะนำวิธีแก้ปัญหา
4. คงทนต่อความเปลี่ยนแปลง (Robust) - เพิ่มความสามารถในการรองรับเทคโนโลยีเว็บ ต่างๆ ที่หลากหลายทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้