แนวทางการบริหารจัดการผลไม้ระยะยาว 1.1 ส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้ผลิตผลไม้คุณภาพดี 1.2 เตรียมความสมบูรณ์ของต้นก่อนการออกดอก การตัดแต่งกิ่ง ให้ปุ๋ย อารักขาพืช ควรทำให้สามารถออกดอกก่อนฤดูได้ยิ่งดีเพราะผลผลิตสุกแก่ก่อนฤดูฝนคุณภาพดี ตลาดต้องการสูง 1.3 จัดสัดส่วนปริมาณผลผลิตให้สัมพันธ์กับความสมบูรณ์ของต้น เพื่อให้ได้ผลไม้คุณภาพดี 1) ตัดแต่งช่อ ตัดแต่งผล (ลำไย ทุเรียน เงาะ ลองกอง) 2) ให้ปุ๋ยสูตรเสมอ (16- 16 -16) ขึ้นน้ำในมังคุดเพื่อ ไว้ผลในปริมาณที่เหมาะสม 1. พัฒนาคุณภาพผลผลิต 1.4 เพิ่มขนาดในช่วงผลขยายโดยให้ปุ๋ยสูตรเสมอหลังติดผล 1.5 พัฒนาคุณภาพโดยให้ปุ๋ยโพแตสเซี่ยมสูงเพื่อสะสมอาหาร 1.6 เก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเวลาที่สุกแก่เหมาะสม 1.7 สนับสนุนให้การรับรองคุณภาพผลผลิตในรูปกลุ่ม
2.1 ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มทำการขายผลไม้เกรดรองแบบล่วงหน้ากับโรงงานแปรรูป 2.2 สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 1) เพื่อพัฒนาห้องเย็น 2) เพื่อขยายกำลังการรับซื้อเพื่อการแปรรูป 2. พัฒนาการแปรรูป 2.3 ส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคทุกระดับชั้น 2.4 ส่งเสริมการตลาดในต่างประเทศ 2.5 สนับสนุนให้ผู้แปรรูปยกระดับมาตรฐานการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์
3.1 ส่งเสริมการซื้อขายแบบล่วงหน้าแบบมีสัญญาทางตลาดภายในและส่งออก (Contract Farming) 3.2 วางแผนการกระจายสินค้าผ่านขบวนการซื้อขายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน (Modern trade) 3.3 ส่งเสริมตลาดสินค้าผลไม้ที่หลากหลาย 1) ผลไม้คุณภาพสูง (Premium grade) 2) ผลไม้คุณภาพมาตรฐาน 3) ผลไม้อินทรีย์เพื่อคุณภาพ 3. จัดการตลาด 3.4 ส่งเสริมการบริโภคผลไม้ไทยในช่วงฤดูกาลผลิต 1) จัดงานเทศกาลผลไม้ 2) เผยแพร่คุณประโยชน์จากการบริโภคผลไม้ 3) ปลูกฝังความนิยมการบริโภคผลไม้ในโรงเรียน วัด โรงพยาบาล ส่วนราชการ ฯลฯ