การออกแบบอุปกรณ์ควบคุมมลภาวะอากาศ (Design of Air Pollution Control Devices) โดย ธิติ เชี่ยวชาญวิทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทที่ 1 บทนำ 1.1 อารัมภบท อุปกรณ์ในการควบคุมมลภาวะอากาศ แบ่งออกตามลักษณะ ของมลพิษที่ต้องการกำจัด ได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆ คือ อุปกรณ์ที่ใช้ดักมลพิษส่วนที่เป็นอนุภาค และอุปกรณ์ที่ใช้ดักมลพิษส่วนที่เป็นก๊าซและไอ
1.2 อุปกรณ์ในการดักอนุภาค อุปกรณ์ที่ใช้ดักอนุภาค ได้แก่ 1. ถังตกตะกอน(settling chambers) ใช้ แรงโน้มถ่วง 2. ไซโคลนหรือเครื่องไหลวน(cyclones) ใช้ความแตกต่างของแรงเฉื่อย 3. การกรอง(filtration) ใช้แรงเฉื่อย และการแพร่ 4. เครื่องตกตะกอนด้วยไฟฟ้าสถิตย์(electrostatic precipitators) ใช้แรงไฟฟ้าสถิตย์ 5. เครื่องจับแบบเปียก(wet scrubbers) ใช้แรงเฉื่อยและการแพร่
1.3 อุปกรณ์ในการดักก๊าซและไอ อุปกรณ์ที่ใช้ดักก๊าซและไอ ได้แก่ 1. เครื่องจับแบบเปียก(wet scrubbers) ใช้การดูดซึม 2. ถ่านกัมมันต์(activated charcoal) ใช้การดูดติดผิว 3. การทำลายด้วยความร้อน(thermal destruction) ใช้การเผาโดยตรง หรือ ใช้ตัวเร่ง ปฏิกิริยา 4. การเติมออกซิเจนทางชีววิทยา(biological oxidation) ใช้จุลินทรีย์ 5. การเติมออกซิเจนขั้นสูง(advance oxidation) ใช้แสงอุลตราไวโอเลต ร่วมกับโอโซนและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
รูปที่ 1.1 อุปกรณ์ในการตกตะกอน โดยแรงโน้มถ่วง (a) Dropout box (b) Settling chamber with five trays (c) Radial flow settling chamber with five trays
รูปที่ 1.2 ไซโคลนแบบไหลย้อน (reverse-flow cyclone)
รูปที่ 1.3 ไซโคลนแบบไหลตรง(straight-through cyclone)
รูปที่ 1.6 ถุงกรอง(baghouse)
รูปที่ 1.7 เครื่องตกตะกอนด้วยไฟฟ้าสถิตย์
รูปที่ 1.8 เครื่องจับแบบคอคอด (venturi scrubber)
รูปที่ 1.9 เครื่องจับแบบอัด (packed- bed scrubber)
รูปที่ 1.10 เครื่องจับแนวราบ (transverse-flow scrubber)
รูปที่ 1.11 เครื่องจับแบบฝาปล่อยฟอง (bubble- cap scrubber)
รูปที่ 1.12 เครื่องดูดติดผิว(adsorption)
รูปที่ 1.13 เครื่องเผาไหม้(thermal oxidisers)
รูปที่ 1.14 เครื่องเผาแบบชั้นลอย (fluidized-bed incinerator)
รูปที่ 1.15 เครื่องกรองชีวภาพชั้นเดี่ยว(single-bed biofilter)