กลุ่มที่ 3 การทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานเกษตรอำเภอที่เป็นรูปธรรม
สมาชิกกลุ่ม # อบต. และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จาก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ และ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี # ประธานกลุ่ม คือ คุณเสนอ วงศ์จันทร์ เลขานุการ คือ คุณศิริลักษณ์ ผจวบโชค ผู้นำเสนอ คือ คุณจักรเพชร อ้นไธสง
โจทย์อภิปราย 1. รูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่าง อปท. และ สนง.กษอ. ที่ดำเนินการไปแล้ว มีอะไรบ้าง # เกษตรเป็นผู้ประสานงาน เสนอโครงการต่อ อบต. เพื่อขอรับ การสนับสนุนงบประมาณ เช่น * โครงการ 1 ตำบล 1 ฟาร์ม * ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง * โครงการส่งเสริมข้าวพันธุ์ดี * โครงการ ศบกต.
* โครงการไถกลบตอซัง โดยการสนับสนุนของ อบต. : - อบต. จัดทำโครงการนำร่อง โดยสนับสนุนเงินในการ ไถกลบตอซัง 400 ไร่ ไร่ละ 200 บาท ประมาณ 4 ไร่ ต่อ ครัวเรือน (เกษตรกร จำนวน 100 ครัวเรือน)
2. แต่ละตำบลมีการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ 2.1 การพัฒนาบุคลากรของ อปท. / สนง. กษอ. - ศึกษาดูงาน - ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น - การพบปะกันระหว่างผู้บริหาร อปท. กับภาคี
2.2 การใช้ประโยชน์ IT เพื่อจัดการข้อมูลของตำบล - มีการรณรงค์ให้แต่ละหน่วยงานรวบรวมข้อมูล จัดทำเป็น ข้อมูลกลางเพื่อความสะดวกในการให้บริการ - มีการประสานข้อมูลจากแต่ละหน่วยงานเพื่อนำมาเก็บเป็น ข้อมูลกลาง โดยนำข้อมูลของแต่ละส่วนมาเปรียบเทียบกัน เพื่อให้เกิด ความถูกต้องและครอบคลุมทุกหน่วยงาน - ข้อมูลต้นแบบมาจาก สนง. กษจ. ซึ่งมีการปรับปรุงข้อมูล เป็นประจำทุกปี เพราะมีการเพิ่ม และลดของจำนวนเกษตรกร และ พื้นที่ทำกิน
2.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และให้บริการ (เน้นด้านการเกษตร) - อบรมเกษตรกร - จัดกิจกรรมการเรียนรู้
2.4 การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และประเมินผล - อบต. บุรีรัมย์ มีการทำงานวิจัยในระบบส่งเสริมร่วมกับ กสก. ใช้ อบต. เป็นเวทีกลาง โดยมีนายก อบต. และคณะกรรมการ บริหารศูนย์ฯ ร่วมประชุม และพบปะพูดคุยสม่ำเสมอ - สนง. กษ. มีแผนในการทำระบบส่งเสริม คือ วันจันทร์ อยู่ สำนักงาน วันอังคาร และวันพฤหัสบดีประจำจุดนัดพบ วันพุธ ปฏิบัติงานโครงการ วันศุกร์ ประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง - การให้บริการกับเกษตรกรในพื้นที่ สนง. กษ. ใช้ ศบกต. เป็นศูนย์กลาง ซึ่ง ศบกต. ก็อยู่ใน อบต. นั่นเอง
- หลังเสร็จสิ้นโครงการ (ที่ได้รับงบประมาณจาก อบต.) จะมีการรายงานผล และ ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ อบต. สนับสนุนให้ อบต. ทราบทุกครั้ง - นวส. มีการประเมินโครงการ โดยการใช้แบบสอบถาม และ พูดคุย ว่าเกษตรกรชอบหรือไม่ พอใจโครงการนี้เพียงใด
3. แนวทางการดำเนินงานใน 1 – 3 ปี ข้างหน้า 3.1 การบูรณาการแผนพัฒนาการเกษตร กับแผนท้องถิ่น - หนังสือ เรื่องการบูรณาการแผนจากส่วนกลาง ที่ส่งไปให้ จังหวัด อำเภอ ตำบล และอบต. มีการรับทราบเรื่องโดยทั่วกัน และ จังหวัดมีความเห็นว่า ส่วนกลางควรทำหนังสือแจ้งเตือนในทุกปี - อบต. ทำแผนโดยเน้นยุทธศาสตร์ของจังหวัด ซึ่งเกษตร ต้องทำแผนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัด และส่งให้กับ อบต. เพื่อให้ อบต. ง่ายต่อการนำแผนไปบูรณาการกับแผนพัฒนาท้องถิ่น - อบต. เสนอให้ สนง. กษจ./กษอ. ส่งยุทธศาสตร์การเกษตร (ที่ยังไม่ได้เสนอเป็นโครงการ) ให้กับ อบต. เพื่อให้ อบต. ได้พิจารณา สนับสนุนเองอีกทางหนึ่ง
3.2 บทบาทที่ชัดเจนในการทำงานแบบมีส่วนร่วม ระหว่าง อปท. สนง. กษอ. และชุมชน - เสนอให้นายก อบต. มาเป็นประธานศูนย์บริการฯ โดย ตำแหน่ง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการบริหารจัดการ
3.3 เครื่องมือในการทำงานร่วมกัน - เน้นเวทีประชาคม เป็นเรื่องสำคัญ โดยมีหน่วยงานภาคี มาร่วมในการจัดเวที
3.4 ประเมินผลแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชน อปท. และ สนง.กษอ. - มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผล / แผน (แผน 3 ปี ที่ผ่านการอนุมัติ) ประเมินโดยมีการพูดคุยกันว่าจะใช้เครื่องมืออย่างไร ซึ่งต้องใช้แบบประเมินร่วมด้วย - คณะกรรมการประกอบด้วย หน่วยงานภาคี สมาชิก อบต. ผู้ทรงคุณวุฒิ ประชาคมตำบล ตัวแทนกลุ่มอาชีพ
* ดั่งเส้นไหม สานสายใย กลายเป็นผืน ทั้งเส้นยืน เส้นขวาง ต่างร่วมสาน * ดั่งเส้นไหม สานสายใย กลายเป็นผืน ทั้งเส้นยืน เส้นขวาง ต่างร่วมสาน วาดลวดลาย สรรสร้าง อลังการ เพื่อชิ้นงาน ที่เป็นหนึ่ง ผืนเดียวกัน * กสก. อปท. ร่วมกันสร้าง ไม่ลาร้าง แผนพัฒนา ที่สร้างสรรค์ ช่วยกันคิด บูรณาการ ทุก ๆ วัน เพื่อผลักดัน ให้ชุมชน ร่วมเจริญ
ขอบคุณครับ...