ความคาดหวังกับรพ.สต.มิติใหม่ของการพัฒนางานสาธารณสุข โดย นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย
ที่มาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รัฐบาลมีนโยบายปรับปรุงระบบบริการด้านสาธารณสุข โดยพัฒนาระบบบริการสุขภาพตำบล และเครือข่ายการส่งต่อในทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ รมต.ว่าการกระทรวงสาธารณสุข สนองนโยบายรัฐบาล จัดทำแผนพัฒนาโรงพยาบาลสุขภาพตำบล พ.ศ. 2552 – 2555 เป้าหมายเริ่มต้นจากสถานีอนามัย 1,000 แห่ง ในปี 2552 แล้วขยายครอบคลุมทั่วประเทศ ปี 2555
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คือ การยกระดับศักยภาพของสถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชน ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เน้นการทำงานเชิงรุก ให้ชุมชนมีส่วนร่วม เพิ่มคุณภาพการรักษาพยาบาล ระบบส่งต่อ ยา เวชภัณฑ์สามารถเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลแม่ข่าย
คุณลักษณะของรพ.สต. ขอบเขตการดำเนินงาน ผสมผสานทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ พื้นที่ดำเนินการ มีความชัดเจน (Catchment Area) และการใช้บ้านเป็นหอผู้ป่วย (Home Ward) บุคลากรผู้ปฎิบัติงาน มีความรู้ ทักษะการให้บริการผสมผสานและทักษะเฉพาะด้าน ทำงานเชิงรุก การใช้และการจัดการระบบข้อมูล เทคโนโลยี สารสนเทศ
คุณลักษณะของรพ.สต. (ต่อ) การบริหารจัดการ เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ราชการส่วนภูมิภาค องค์กรเอกชน เป้าหมาย คือระบบที่มีความยืดหยุ่น ยั่งยืน ชุมชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ ระบบสนับสนุน ระบบข้อมูล สารสนเทศ ระบบการให้คำปรึกษา ระบบยา และเวชภัณฑ์ สอดคล้องกับ รพ.พี่เลี้ยง จำนวนบุคลากร ขึ้นกับขนาดของรพ.สต มีตั้งแต่ 5 – 10 คน ประกอบด้วย ทีมสหสาขาวิชาชีพ
คุณลักษณะของรพ.สต. (ต่อ) การพัฒนาบุคลากร CUP แม่ข่ายจัดสรรกำลังคนมาช่วย จัดเพิ่ม ภายใต้งบประมาณจาก CUP ใช้คนที่มีอยู่ แต่มีค่าตอบแทนมากขึ้น ส่งคนไปศึกษาเพื่อกลับมาทำงาน
ภารกิจของ รพสต. มี 2 ลักษณะ ภารกิจหลักพื้นฐาน เป็นการบริการผสมผสานให้แก่ประชากรทุกกลุ่มอายุ ทั้งในสถานบริการ และชุมชน ภารกิจเสริม ตามสภาพปัญหาของพื้นที่และความต้องการของชุมชน
บทบาทของ รพ.สต.ต้องมี 2 ประการหลัก การจัดบริการสาธารณสุข (Service Oriented Approach) ต้องทำงานเป็นระบบ มีผลผลิต ผลลัพธ์ ที่ตรวจวัดได้ การพัฒนา (Development Oriented Approach) คือ การใช้พลัง ปัญญา ความตั้งใจ ประสานกับภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะอปท. สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการพัฒนาสุขภาพในพื้นที่อย่างยั่งยืน
การจัดบริการที่พึงประสงค์ของ รพ.สต. การให้บริการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย ได้แก่ กลุ่มแม่และเด็ก ANC Well Baby พัฒนาการเด็กสมวัย โรงเรียนพ่อแม่ ศูนย์เด็กเล็ก ทันตสุขภาพ โภชนาการ กลุ่มวัยเรียน & วัยรุ่น โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ยาเสพติด กลุ่มวัยทำงาน การวางแผนครอบครัว เตรียมความพร้อมก่อนสมรส การเฝ้าระวังมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก วัยทอง การป้องกัน Metabolic Syndrome
การจัดบริการที่พึงประสงค์ของ รพ.สต.(ต่อ) กลุ่มสูงอายุ Long-term Care ทันตสุขภาพ ภาวะโภชนาการ ป้องกันอุบัติเหตุ คนสุขภาพดี ให้ดูแลรักษาให้คงสภาพ คนสุขภาพไม่ดี ให้บริการรักษาตามมาตรฐานของระดับบริการ สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และต้องมีเครือข่ายให้คำปรึกษา การส่งต่อที่เป็นระบบ
การจัดบริการที่พึงประสงค์ของ รพ.สต.(ต่อ) การพัฒนา หรือการจัดการให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการดูแลจัดการปัญหาในพื้นที่อย่างเป็นระบบ โดยการทำแผนที่ยุทธศาสตร์ชุมชน (Strategic Route Map : SRM) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อขับเคลื่อนให้ชุมชนมีระบบข้อมูล ข่าวสาร มีระบบเฝ้าระวังโรค มีกระบวนการนำปัญหามาคิด วิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขที่เหมาะสม และใช้แหล่งเงินทุนในชุมชน โดยประชาชนมีส่วนร่วม เป็นการยกระดับการดูแลสุขภาพของชุมชน
ความคาดหวังกับ รพ.สต.มิติใหม่ คือ การสร้างดุลยภาพระหว่าง Service Oriented กับ Development Oriented โรงพยาบาลที่ดำเนินการตามกระบวนการโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพต้องทำงานเชื่อมโยงอย่างเป็นเครือข่ายกับ รพ.สต. ทั้งด้านการให้คำปรึกษา และการส่งต่ออย่างเป็นระบบ การเกิดนวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่ที่เหมาะสมกับบริบทที่ได้จากการจัดการความรู้หรือจากการทำ R to R
ความคาดหวังกับ รพ.สต.มิติใหม่ (ต่อ) สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาบทบาทในการร่วมดำเนินการร่วมลงทุนเพื่อตอบสนองกับปัญหาของพื้นที่ ปรับระบบบริการสุขภาพของ รพ.สต.ให้เป็นบริการที่มีคุณภาพ เป็นที่ศรัทธา และเชื่อมั่นของชุมชน และเน้นบริการเชิงรุกในการปรับพฤติกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยง
สวัสดี