การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา (Quality Monitoring and Audit) เป็นการกระบวนการ ติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าการดำเนินงานของ การปฏิบัติตามแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และจัดทำรายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพ การศึกษา พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการเร่งรัดการ พัฒนาคุณภาพการศึกษา
หลักการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 1. การกำหนดระยะเวลาในการติดตามตรวจสอบคุณภาพ การศึกษา โดยต้นสังกัด อย่างน้อย 1 ครั้งในทุก 3 ปี 2. การแต่งตั้งคณะกรรมการในการติดตามตรวจสอบคุณภาพ การศึกษา 3. การดำเนินงานติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 4. การจัดทำรายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 5. การนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษา และรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
วัตถุประสงค์ของการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 1. เพื่อให้เขตพื้นที่สามารถติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา รวบรวมข้อมูลความก้าวหน้าของการดำเนินงาน และ การปฏิบัติงานของสถานศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง 2. เพื่อให้สถานศึกษานำผลการติดตามตรวจสอบฯ มาใช้ ในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง 3. เพื่อนำข้อมูลผลการติดตามตรวจสอบฯไปจัดทำรายงาน และเตรียมพร้อมรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
บทบาทของผู้ทรงคุณวุฒิในฐานะผู้ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษากับหน่วยงานต้นสังกัด 1. ขั้นเตรียมการก่อนการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 1.1 ศึกษาหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกัน คุณภาพ ตามกฎกระทรวงฯ 1.2 ประชุมวางแผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ร่วมกันกับคณะกรรมการติดตามตรวจสอบของเขตพื้นที่ 1.3 แบ่งหน้าที่ผู้ติดตามตรวจสอบในการติดตามตรวจสอบ คุณภาพการศึกษาตามระบบการประกันคุณภาพภายใน 8 องค์ประกอบ 1.4 จัดทำตารางการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
2. ขั้นเตรียมระหว่างการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 2.1 ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงในแต่ละองค์ประกอบ ของระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา จากข้อมูลหลาย ๆ แห่ง 2.2 รายงานผลการติดตามตรวจสอบขั้นต้นอย่าง ไม่เป็นทางการ พร้อมทั้งให้ข้อสังเกต ชี้แนะและให้ คำปรึกษาแก่สถานศึกษา เทคนิคการเก็บข้อมูล การบันทึกข้อมูลควรจะจดบันทึกโดยทันที เพื่อให้ข้อมูลมีความแม่นยำ บันทึกรายละเอียดต่างๆ ให้ได้มากที่สุด
3. ขั้นดำเนินการหลังการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 3.1 ตรวจสอบความครบถ้วน ความชัดเจนของข้อมูล เอกสารสนับสนุนหรือเอกสารอ้างอิงที่เพียงพอ และเชื่อถือได้ 3.2 เขียนรายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพ การศึกษาพร้อมให้ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ และมาตรการ เร่งรัดกระบวนการดำเนินงานของระบบการประกันคุณภาพ ภายใน 3.3 นำเสนอรายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพ การศึกษาโดยต้นสังกัด ต่อสถานศึกษาและสาธารณชนทราบ พร้อมทั้งนำผลจากการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา โดยต้นสังกัดเตรียมรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
กับการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ กับการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนฯของสถานศึกษา สรุป และรายงานผลการติดตาม ให้คำแนะนำระหว่างดำเนินการติดตามตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแก่สถานศึกษาในประเด็นต่างๆ เพื่อการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
เครื่องมือติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา แบบติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษายึดตามองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบตามระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา รายละเอียดเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบุผลการดำเนินงานและสะท้อนข้อมูลในเชิงคุณภาพ