บทนำเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล หัวข้อเนื้อหา 1. แนวคิดการประมวลผลแฟ้มข้อมูล 2. แนวคิดการประมวลผลระบบฐานข้อมูล 3. องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล 4. ประเภทของฐานข้อมูล
แนวคิดการประมวลผลแฟ้มข้อมูล การประมวลผลแฟ้มข้อมูล (File system) การประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลนับเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งของการประมวลผล เพราะถ้าปราศจากข้อมูลการประมวลผลก็ไม่อาจทำได้ ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล จะเป็นข้อมูลที่จัดเก็บเป็นแฟ้มข้อมูล (File) โดยแบ่งออกเป็นเรื่อง ตามชื่อแฟ้มข้อมูลนั้น เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลอาจารย์ แฟ้มข้อมูลการลงทะเบียน เป็นต้น
วิธีการจัดเก็บในรูปแบบของการประมวลผลแฟ้มข้อมูล File หรือ แฟ้มข้อมูล คือ กลุ่มของระเบียนที่มีความสัมพันธ์กัน เป็นเรื่องเดียวกัน จัดเก็บรวมกันเป็นแฟ้มข้อมูล เช่น แฟ้มข้อมูล Record หรือ ระเบียน คือ กลุ่มของฟิลด์ที่สัมพันธ์กันและเกี่ยวข้องกันเก็บไว้ด้วยกัน เช่น ระเบียนประวัตินักศึกษา ประกอบด้วย รหัสนักศึกษา ชื่อนักศึกษา ที่อยู่นักศึกษา เป็นต้น Field หรือ ฟิลด์ คือ การนำอักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปมารวมกันเพื่อให้ได้ความหมาย และมีความสัมพันธ์กัน เช่น ฟิลด์รหัสนักศึกษา เป็นต้น Byte หรือ ไบต์ คือ ประกอบด้วยหลาย ๆ บิตมาเรียงต่อกัน ซึ่ง 1 ไบต์เ่ท่ากับ 8 บิต ที่ใช้แทนอักขระ 1 ตัว เช่น ก ข เป็นต้น Bit หรือ บิต เป็นหน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดของข้อมูล เป็นเลขฐานสอง (Binary digit) ประกอบด้วย 0 และ 1
โครงสร้างวิธีการจัดเก็บข้อมูล
ปัญหาของแฟ้มข้อมูล
ปัญหาของแฟ้มข้อมูล 1. ความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Data redundancy) 2. ความไม่ตรงกันของข้อมูล (Data inconsistency) 3. การประมวลผลข้อมูลยุ่งยาก 4. ข้อมูลไม่มีความเป็นอิสระ (Data independence) 5. มีความถูกต้องของข้อมูลน้อย (Data integrity) 6. ปัญหาในการควบคุมข้อมูล (Data control)
ความหมายของระบบฐานข้อมูล ความหมายของระบบฐานข้อมูล ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ ที่เป็นข้อเท็จจริงในขณะนั้น ซึ่งถูกเก็บรวบรวมมาด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม เป็นต้น ระบบฐานข้อมูล (Database system) หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลมาไว้ด้วยกัน ที่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยกลุ่มข้อมูลนี้ต้องเป็นเรื่องเดียวกันและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ข้อดีของระบบฐานข้อมูล ข้อดีของระบบฐานข้อมูล จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากการประมวลผลแฟ้มข้อมูล ดังที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้มีรูปแบบการประมวลผลข้อมูลแบบใหม่ คือ “ฐานข้อมูล (database)” โดยการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูล จะมีส่วนที่สำคัญกว่าการจัดเก็บข้อมูลในรูปของแฟ้มข้อมูลหลายอย่าง
ประมวลผลระบบฐานข้อมูล
ข้อดีของการจัดเก็บข้อมูลระบบฐานข้อมูล 1.ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล 2. ลดความไม่ตรงกันของข้อมูล 3. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ 4. มีความเป็นอิสระของข้อมูล 5. ความคงสภาพของข้อมูล 6. รักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลทำได้อย่างสะดวก 7. สามารถขยายงานได้ง่าย
องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล Database Model เป็นแบบจำลองข้อมูลเพื่อใช้ในการนำเสนอรายละเอียดและโครงสร้างของข้อมูล ในการออกแบบฐานข้อมูลเราจะใช้ database model ช่วยในการอธิบายรายละเอียดของข้อมูล ความสัมพันธ์ต่างๆของข้อมูล และอธิบายถึงโครงสร้างของข้อมูลในฐานข้อมูล ในระดับตรรกะ(logical) เพื่อที่จะี่นำเสนอข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลให้ผู้ใช้เห็นและเข้าใจได้ เป็นการอธิบายให้เห็นว่าภายในฐานข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลอะไรบ้าง แต่ละข้อมูลมีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีโครงสร้างข้อมูลเป็นอย่างไร มีกฎควบคุมความถูกต้องบนโครงสร้างข้อมูล
ระบบฐานข้อมูล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบที่สำคัญ 1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 2. ซอฟต์แวร์ (Software) 3. ข้อมูล (Data) 4. บุคลากร (People)
ประเภทของ database model 1. ฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น (Hierarchical database model)
ประเภทของ database model 2.ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network database model)
3.ฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์ (Relational database model)