แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข สำนักนโยบายและแผน สปสช.
เงื่อนไขสนับสนุนนโยบาย พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 3 กำหนดให้บริการสาธารณสุขครอบคลุมบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลป์ และมาตรา 13 (6) กำหนดให้มีผู้ทรง คุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทย และด้านการแพทย์ทางเลือกในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การนวดไทยสามารถเบิกค่าชดเชยจากหน่วยบริการประจำในอัตรา 100 บาทตั้งแต่เริ่มดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ข้อจำกัดการพัฒนานโยบาย ความรู้ที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบและสามารถสื่อสารในระบบคิดแบบวิทยาศาสตร์ได้ ความรู้เกี่ยวกับประสิทธิผล ( cost effectiveness) ของวิธีการดูแลสุขภาพต่างๆ ความรู้เกี่ยวกับต้นทุน (cost analysis) ระบบประกันคุณภาพบริการ (quality assurance mechanism): มาตรฐานผู้ให้บริการและสถานพยาบาล แนวปฏิบัติการให้ บริการ (CPG) ระบบรับรองคุณภาพ (accreditation) ฯลฯ ระบบการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างการแพทย์ระบบต่างๆ
ข้อจำกัดการพัฒนานโยบาย ข้อจำกัดการสนับสนุนในระดับนโยบาย ผู้บริหารไม่ขัดแย้งแต่ไม่ได้แสดงท่าทีสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องแบ่งทรัพยากรจากระบบการแพทย์แผนปัจจุบัน ความเชื่อมั่นต่อการตัดสินใจ (เพื่อการดูแลผู้ป่วย) ของแพทย์แผนปัจจุบัน vs. แพทย์ในระบบการแพทย์อื่น (การให้แพทย์แผนปัจจุบันเป็นผู้ตัดสินใจสั่งใช้/ไม่ใช้การแพทย์สาขาอื่น) การมองผลประโยชน์เฉพาะหน้า (ความประหยัดงบประมาณ) และผลประโยชน์ระยะยาว (การพึ่งตนเองในระยะยาว) การใช้การแพทย์แผนไทยอย่างไม่เหมาะสมในระบบประกันสุขภาพอื่น (ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ)
ข้อจำกัดการพัฒนานโยบาย ข้อจำกัดด้านงบประมาณ งบประมาณเหมาจ่ายรายหัวที่ไม่เพียงพอ ทำให้ความพยายามพัฒนาทางเลือกอื่นๆ ลดน้อยลง การแยกงบประมาณจำนวนหนึ่งเพื่อบริหารสำหรับบริการการแพทย์สาขาอื่น ทำให้สถานการณ์การขาดแคลนงบประมาณเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น แนวคิดการบูรณาการ (integration)โดยมีการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นศูนย์กลาง เอกภาพของผู้สนับสนุน/ผู้ให้บริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอื่น
แนวโน้มข้อเสนอฯ การแยกกระบวนการตัดสินใจจากระดับหน่วยบริการเป็นระดับจังหวัด การจัดตั้งกองทุนชดเชยการให้บริการการแพทย์แผนไทยระดับจังหวัดโดยกันจากงบที่จัดสรรให้หน่วยบริการ สนับสนุนพื้นที่ที่มีการจัด/การใช้บริการการแพทย์แผนไทยเกินค่าเฉลี่ย จัดสรรงบเพิ่มเติมให้จังหวัดที่มีการใช้บริการเกินค่าเฉลี่ย พัฒนาระบบการประกันคุณภาพบริการ การส่งเสริมการให้บริการอย่างสมเหตุผล สร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัย ประสิทธิผล