สรุปแนวทาง การระดมความคิดเห็น กลุ่มย่อยที่ 4
ประเด็นที่ 1 : สรุปกระบวนการ และข้อเสนอแนะ การนิเทศ รพ.สต.รอบที่ 1
1.กลไก / รูปแบบการนิเทศระดับเขตและจังหวัด ตั้งคณะทำงานอำนวยการระดับเขต ซึ่งประกอบ จนท.ผู้รับผิดชอบงาน PCU ระดับจังหวัด ขั้นตอนการดำเนินงานจะมีภาระกิจหลัก ๆ คือ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาระบบ PCU ในระดับจังหวัด และการยกระดับการพัฒนาคุณภาพบริการ “สมุทรปราการ....การนิเทศรอบที่ 1 ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการวางแผนการดำเนินงาน ส่วนรอบ 2 ดูเชิงกระบวนการและผลลัพท์ เป็นผลให้เปลี่ยนระดับการนิเทศเชิงผลลัพท์เป็นเชิงกระบวนการมากขึ้น”
2.พื้นที่มีการพัฒนา/ปรับเกณฑ์การประเมิน การดำเนินงาน รพ.สต. เพื่อให้เหมาะสมกับ การดำเนินงานในพื้นที่ (อิงตามเกณฑ์ 4 ประเด็นหลัก 22 ข้อย่อย) “สมุทรปราการ.....ระดับจังหวัดลงนิเทศ CUP และ ระดับจังหวัด นิเทศ รพ.สต 19 แห่ง เน้น 3เรื่อง ภาพลักษณ์ (เน้นปรับภูมิทัศน์ ให้เหมาะกับ 5 กลุ่มเป้าหมาย บุคลากร ) สาระ (เน้น fam med) รูปแบบการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม”
“มีการกำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัดเขต 4 คณะให้แต่ละจังหวัด เป็นเจ้าภาพการดำเนินงานในแต่ละเรื่อง (จ. ละ 1 เรื่อง) สรุปก็คือ กำหนดแบ่ง Focal Point ในแต่ละเรื่อง (ข้อดี คือ อิสระจะอยู่ที่การทำงานลงไปที่ CUP) ” “ราชบุรี...เชิงรุก เชื่อมโยง ชุมชน (3 ช.) เน้นตาม 4 ประเด็นหลักของ รพ.สต.” “สระแก้ว...ดำเนินงานใช้หลัก 3 ก (กิจกรรม กองทุน กรรมการ) ”
3. เครื่องมือการดำเนินงาน มีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนากระบวนการดำเนินงาน รพ.สต. เช่น PCA , PMQA หรือเกณฑ์ 4 คณะ 22 ตัวชี้วัด ฯลฯ
3 กรณีของการมีผู้นิเทศลงมาสามารถกระตุ้น ให้ผู้บริหารระดับพื้นที่ Active มากขึ้น หรือผู้บริหาร CUP ให้การสนับสนุนงบประมาณ/ ตั้งทีมสหวิชาชีพ ฯลฯ (CUP active มากขึ้น)
5. การนิเทศทำให้เกิดการกระจายทรัพยากร เพิ่มมากขึ้น 6.การนิเทศทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในแนวดิ่งมากขึ้น (ภายในและนอกองค์กร) 7.เกิดความชัดเจนในการทำงานมากขึ้น 8.เกิดการบูรณาการระดับจังหวัดมากขึ้น
ข้อเสนอในประเด็นที่ 1 : 1.วิธีการกระตุ้นให้ CUP สนับสนุนการดำเนินงาน แก่ รพ.สต. เช่น งบประมาณ / บุคลกร / เวชภัณฑ์ ฯลฯ/ปัญหาด้าน 2.อัตรากำลังด้านสุขภาพ ส่วนกลางไม่สนับสนุนบุคลากรหรือการรักษาบุคลากรในพื้นที่ ความมั่นคงในอาชีพ ฯลฯ (ส่วนกลางควรพิจารณาประเด็นนี้)
3.ประเด็นหลัก รพ.สต. (ที่ยังไม่ชัดเจน) ได้แก่ - สมรรถนะและบรรยากาศเอื้ออำนวย - มีระบบบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพ - ภาคีมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและสนับสนุน - ชุมชนเข้มแข็ง 4.การชี้แจงการนิเทศ / การประกาศนโยบายระดับเขต 5.การจัดตั้งคณะทำงาน หรือ มีกลุ่มงานโดยเฉพาะ
การจัดการงบประมาณให้ รพ.สต. ที่เป็นธรรม โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ ประเด็นที่ 2 : การจัดการงบประมาณให้ รพ.สต. ที่เป็นธรรม โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ
1.CUP มีการจัดสนับสนุนบุคลากรแก่ รพ.สต. ใน 2 ลักษณะ จัดสรรงบประมาณ จัดสรรทรัพยากรระดับจังหวัด 2.ตั้งคกก. CUP เพื่อดำเนินงาน รพ.สต. 3.การจัดพยาบาลเวชปฏิบัติลงทำงาน รพ.สต. หรือ ตั้งทีมสหสาขาดำเนินงานในพื้นที่ 4.CUP มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้ รพ.สต ดำเนินงานเองในพื้นที่
ข้อเสนอในประเด็นที่ 2 : 1.การสนับสนุนงบประมาณของ CUP ให้ รพ.สต. มีเกณฑ์ไม่เหมือนกัน 2.CUP ควรเป็น Key man หลักในการดำเนินงาน แต่ควรมีกลไกกำกับการดำเนินงานด้านการสนับสนุนงบประมาณที่ชัดเจน 3.ควรมีการวางระบบ / กลไกการดำเนินงานที่เป็นเนื้อเดียวกัน 4.ควรกำหนดงบประมาณให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ประเด็นที่ 3 : การส่งเสริมการทำงาน ร่วมกับ อปท.
1.มีการตั้งคณะกรรมการ /ที่ปรึกษาเพิ่มเติม เช่น ผู้อำนวยการ โรงเรียน, สสอ. , ผอ.โรงเรียน ฯลฯ 2.สปสช.ควรมีกลไกการติดตามการใช้งบประมาณกองทุนฯ ที่ชัดเจน 3.มีรูปแบบการทำงานอย่างเป็นภาคีเครือข่าย มีการดึงองค์กร/ ภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม
4.มีความสุข หากทำงานเป็นภาคีเครือข่าย แต่ไม่ใช่ ผู้ใต้บังคับบัญชา เพราะจะได้ถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน 5.เงื่อนไขด้านการเมือง (นายกหมดวาระ 4 ปี) สร้างความ ไม่มั่นคงให้กับการสนับสนุนบุคลากรด้านสุขภาพ 6.มีกลไกระดับจังหวัด / ระดับอำเภอ ในการกำกับ ติดตาม สนับสนุนการดำเนินงานพื้นที่ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ในชุมชน เช่น คปสอ. 7.ท้องถิ่นต้องมีวิสัยทัศน์ “ชุมชนเข้มแข็ง”