การคำนวณค่าไฟฟ้า
การคำนวณค่าไฟฟ้า ก่อนที่กระแสไฟฟ้าจะต่อเข้าบ้านต้องผ่านมาตรไฟฟ้า ซึ่งเป็นเครื่องวัดพลังงานในหน่วยกิโลวัตต์ - ชั่วโมง มาตรไฟฟ้ามีหลายขนาด เช่น 5, 15, และ 50 เป็นต้น จะต้องเลือกขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งาน และในการคิดค่าไฟฟ้าคิดในอัตราก้าวหน้า ถ้ายิ่งใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น จะยิ่งเสียเงินมากขึ้น น้องๆ ศึกษาวิธีคำนวณค่าไฟได้จากสูตรต่อไปนี้
พลังงานไฟฟ้า (จูล) เวลา (วินาที) จากสูตร กำลังไฟฟ้า (วัตต์) = การคำนวณคิดในหน่วยใหญ่คือ กิโลวัตต์-ชั่วโมง พลังงานไฟฟ้า (ยูนิต) = กำลังไฟฟ้า (กิโลวัตต์) x เวลา (ชั่วโมง) หรือ 1,000 พลังงานไฟฟ้า (ยูนิต) = กำลังไฟฟ้า (กิโลวัตต์) x เวลา (ชั่วโมง) ดังนั้น ค่าไฟฟ้า = จำนวนยูนิต x อัตราค่ากระแสไฟฟ้าต่อหน่วย
การคำนวณคิดเงินค่าไฟ ยูนิต (หน่วย) = การคิดค่าไฟฟ้า คิดในอัตราก้าวหน้า เมื่อใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น ราคาต่อหน่วยจะมากขึ้น โดยผู้ใช้จะจ่ายเงินค่าไฟฟ้าตามใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้า (สำหรับบ้านอยู่อาศัยที่มีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน)
หน่วยของพลังงานไฟฟ้าหรือยูนิต อ่านได้จากมาตรไฟฟ้าหรือกิโลวัตต์-ชั่วโมงมิเตอร์ กระแสไฟฟ้าไหลผ่านมาตรไฟฟ้ามากหรือน้อยตามพลังงานไฟฟ้าที่ไหลผ่านใน 1 วินาที บ้านที่อยู่อาศัยทั่วไปใช้มาตรไฟฟ้าขนาด 5 แอมแปร์ ถ้าเลือกใช้ไม่เหมาะสม กระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากเกินกำหนด จะทำให้มาตรไฟฟ้าไหม้ได้
ตัวอย่าง เตารีดไฟฟ้าขณะใช้งานใช้ไฟ 220 โวลต์ มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเตารีด 5 แอมแปร์ ใช้เตารีดนาน 45 นาที จะใช้พลังงานไฟฟ้าไป กี่ยูนิต วิธีคิด หากำลังไฟฟ้า จากสูตร P = VI เมื่อ V = 220 V และ I = 5 A แทนค่า P = 220 x 5 = 1,100 W หาพลังงานไฟฟ้าจากสูตร พลังงานไฟฟ้า (ยูนิต) = กำลังไฟฟ้า (กิโลวัตต์) x เวลา (ชั่วโมง) 1,000
เมื่อกำลังไฟฟ้า = 1,100 W , t = 45 นาที แทนค่า พลังงานไฟฟ้า = 1,000 x 45 = 0.825 กิโลวัตต์ – ชั่วโมง (ทำให้เป็นหน่วยใหญ่กิโลวัตต์-ชั่วโมง (ยูนิต) โดยนำ 1,000 ไปหาร 1,000 จะได้หน่วยเป็นกิโลวัตต์ และ 60 ไปหาร 45 นาที จะได้หน่วยเป็นชั่วโมง ) เตารีดไฟฟ้าใช้พลังงานไฟฟ้า 0.825 ยูนิต 1,000 x 60
ตัวอย่าง ถ้าเปิดเครื่องปรับอากาศที่ใช้กำลังไฟฟ้า 2,000 วัตต์ เป็นเวลา 5 ชั่วโมงจะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ากี่หน่วย จากสูตร พลังงานไฟฟ้า = กำลังไฟฟ้า x เวลา 1,000 เมื่อ กำลังไฟฟ้า = 2,000 w, เวลา = 5 ชั่วโมง แทนค่า พลังงานไฟฟ้า = 2,000 x 5 = 10 หน่วย 1,000 เครื่องปรับอากาศนี้จะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 10 หน่วย
ตัวอย่าง บ้านหลังหนึ่งใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 40 วัตต์ จำนวน 5 ดวง ตู้เย็น 65 วัตต์ โทรทัศน์สี 155 วัตต์ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 400 วัตต์ ถ้าใช้พร้อมกันนาน 5 ชั่วโมง จะเสียค่าไฟฟ้าเท่าไร ถ้าค่าไฟยูนิตละ 1.50 บาท กำลังไฟฟ้าจากการใช้หลอดไฟฟ้า = 40 x 5 = 200 วัตต์ รวมกำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ทั้งหมด = 200 + 65 + 155 +400 = 820 วัตต์ พลังงานไฟฟ้า = กำลังไฟฟ้า x เวลา 1,000 ค่าไฟยูนิตละ 1.50 บาท = 820 x 5 = 4.1 ยูนิต 1,000 จะเสียค่าไฟ = 4.1 x 1.5 = 6.15 บาท
ตัวอย่าง บ้านหลังหนึ่งใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่อไปนี้ทุกวัน คือ หลอดไฟฟ้า 60 วัตต์ 3 หลอด เปิดวันละ 5 ชั่วโมงทุกหลอด เตารีดไฟฟ้า 750 วัตต์ ใช้วันละ 1 ชั่วโมง โทรทัศน์ 180 วัตต์ เปิดวันละ 4 ชั่วโมง ในเดือนมีนาคมจะเสียเงินค่าไฟเท่าไร ถ้าคิดค่าไฟหน่วยละ 1.50 บาท วิธีคิด คิดหาพลังงานไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดเป็นหน่วย รวมจำนวนหน่วยของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดใน 1 วัน รวมจำนวนหน่วยของพลังงานไฟฟ้าในเดือนมีนาคม คำนวณค่าไฟฟ้าจากราคาที่กำหนด
พลังงานไฟฟ้าที่หลอดไฟฟ้าใช้ = (60 x3) x 5 = 0.9 หน่วย 1,000 พลังงานไฟฟ้าที่เตารีดไฟฟ้าใช้ = 750 x 1 = 0.75 หน่วย 1,000 พลังงานไฟฟ้าที่โทรทัศใช้ = 180 x 4 = 0.72 หน่วย 1,000 จำนวนหน่วยขอพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ใน 1 วัน = 0.9 + 0.75 + 0.72 = 2.37 หน่วย รวมหน่วยของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในเดือนมีนาคม = 2.37 x 31 = 73.47 หน่วย จะต้องเสียค่าไฟฟ้า = 73.47 x 1.50 = 110.20 บาท