กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง รายงานสรุปจากโครงการสัมมนาสร้างความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากน้ำ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง
ตามที่สำนักบริหารกลาง ได้จัดโครงการสัมมนาการสร้างความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากน้ำ เมื่อวันที่ 3-4 สิงหาคม 2549 ณ จังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ และพิจิตร ซึ่งอยู่ในเขตความรับผิดชอบของ สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 9 นั้น
1. สถานีโทรทัศน์ 5 สถานี ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ,7 ,9 ,11 และ ITV ทางสำนักบริหารกลางได้เชิญสื่อมวลชนจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเข้ารวมโครงการรวมทั้งสิ้น 17 สถาบัน จำแนกเป็น 1. สถานีโทรทัศน์ 5 สถานี ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ,7 ,9 ,11 และ ITV
2. สถานีวิทยุกระจายเสียง 2 สถานี ได้แก่ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและ สถานีวิทยุ อสมท. 3. หนังสือพิมพ์ 9 ฉบับ ได้แก่ เดลินิวส์ ไทยรัฐ คมชัดลึก ผู้จัดการรายวัน สยามรัฐ ไทยโพสต์ ข่าวสด กรุงเทพธุรกิจ แนวหน้า 4. สื่อมวลชนท้องถิ่น ได้แก่ เคเบิ้ลทีวี และทีวีท้องถิ่นผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์และนสพ.ในส่วนภูมิภาค
ซึ่งผลการดำเนินงานปรากฏว่าสื่อมวลชนที่เข้าร่วมในโครงการมีการรายงานข่าวเกี่ยวกับกรมทรัพยากรน้ำ ในทางที่ดี มีจำนวนชิ้นข่าวที่นำเสนอ 17 ข่าว อย่างต่อเนื่อง
การประเมินผลการปฏิบัติงาน ข้อบกพร่อง ขาดบุคลากรที่ให้ความรู้ เกี่ยวกับกรมทรัพยากรน้ำ อย่างชัดเจน ขาดบุคลากรในการประสานงานระหว่างการเดินทาง ยังขาดกิจกรรมย่อยระหว่างการรอกิจกรรมหลักทำให้นักข่าวบางส่วนมีเวลาว่างมากเกินไป ขาดการวางแผนการเตรียมงานที่ดี
ข้อดี สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรน้ำกับสื่อมวลชนได้เป็นอย่างดีโดยวัดได้จากข่าวที่สื่อทำการเผยแพร่ให้อย่างต่อเนื่องและเป็นข่าวที่มีผลดีต่อกรมทรัพยากรน้ำและผลงาน ของกรมทรัพยากรน้ำ
สิ่งที่ต้องปรับปรุง ก่อนที่เจ้าหน้าที่ของ กรมทรัพยากน้ำจะ เข้าพื้นที่ต้องมีการ วางแผนและแบ่งงาน อย่างชัดเจน ในหน้าที่ของแต่ละบุคคล 2. มีการจดบันทึกและใส่ใจในรายละเอียดส่วนตัวของสื่อมวลชนว่าแต่ละท่านชอบหรือต้องการสิ่งใดเป็นพิเศษ 3. จัดหาโทรโข่งในการอธิบายงานในพื้นที่ภายนอกเพื่อสะดวกในการสื่อสารและอธิบายงานต่างๆ
4.เพิ่มวิทยุสื่อสารเพื่อความราบรื่นในการประสานงาน 5. เพิ่มขนาดป้ายของกรมทรัพยากรน้ำให้ใหญ่ขึ้นโดยเฉพาะเพิ่มขนาดโลโก้ให้ตัวหนังสือมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้ติดตาประชาชนเมื่อสื่อมวลชนทำการเผยแพร่ออกสู่สาธารณชน
ข้อสังเกต 1.การออกแบบโลโก้ของกรมทรัพยากรน้ำที่ใช้ในปัจจุบันนั้น มีความเด่นชัด เพียงภาพหยดน้ำเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถสื่อสารกับสาธารณชนได้ว่าสัญลักษณ์ที่ประชาชนเห็นนั้นคือหน่วยงานใด 2.การจัดสื่อมวลชนสัญจรนั้นถ้าจัดกลุ่มใหญ่จะมีปัญหาเรื่องการจัดการบริหาร เวลาและการดูแล แต่จะได้ผลระยะยาวเนื่องจากมีข่าวออกสู่สาธารณชนอย่างต่อเนื่อง