กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ (ฉบับที่ 37) พ. ศ กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ (ฉบับที่ 37) พ.ศ. 2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 14 มกราคม 2554
สรุปสาระสำคัญ 1. กฎข้อบังคับนี้เรียกว่า “กฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ (ฉบับที่ 37) พ.ศ. 2553” 2. กฎข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 3. ให้ยกเลิกข้อ 1 และ 2 หมวด ค แห่งกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ (ฉบับที่ 15)พ.ศ. 2528 และบรรดา กฎข้อบังคับ และระเบียบในส่วนที่บัญญัติไว้แล้ว ซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งกฎข้อบังคับนี้
สรุปสาระสำคัญ 4. กฎข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับกับเรือทุกลำที่มีขนาดความยาวตลอดลำตั้งแต่ 24 เมตรขึ้นไป ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) เป็นเรือซึ่งต่อสร้างขึ้นใหม่หรือดัดแปลงในหรือหลังจากวันที่กฎข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ (2) เป็นเรือที่ซื้อมาจากต่างประเทศซึ่งต่อสร้างหรือดัดแปลงเสร็จสมบูรณ์ก่อนวันที่ กฎข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับกฎข้อบังคับนี้ไม่ใช้บังคับกับ เรือรบ เรือช่วยรบ และเรือราชการ
สรุปสาระสำคัญ 5. บทบัญญัติว่าด้วยการตรวจรับรองแบบแปลนเรือ รายการคำนวณ คู่มือการบรรทุกหนังสือแสดงความทรงตัวตามข้อ 8 ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ 1. เจ้าของเรือ ผู้ออกแบบเรือ ผู้ต่อเรือ รายใด ประสงค์ในการอนุมัติแบบแปลนเรือของตน ให้ร้องขอตามแบบคำร้อง ก.5 ตามภาคผนวก 1 ท้ายกฎข้อบังคับนี้ ต่อสำนักมาตรฐานเรือกรมเจ้าท่า 2. การตรวจแบบแปลนเรือ เป็นการตรวจแบบแปลน รายการคำนวณ คู่มือการบรรทุก หนังสือแสดงความทรงตัว เพื่อให้แน่ใจว่า โครงสร้าง อุปกรณ์ ระบบ การติดตั้งการจัดการ และวัสดุ เป็นไปตามมาตรฐานสากล ข้อกำหนดตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ รวมถึงกฎข้อบังคับอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ 3. แบบแปลนบังคับยื่น รายการคำนวณ คู่มือการบรรทุก หนังสือแสดงความทรงตัวที่ยื่น ประกอบการตรวจแบบแปลนเรือ มีดังต่อไปนี้ (1) แบบการจัดการทั่วไป (General arrangement) (2) แบบรูปตัดกึ่งกลางลำ (Midship section) (3) แบบโครงสร้าง (Construction profile) (4) แบบดาดฟ้า (Deck plans) (5) หนังสือแสดงความทรงตัว (Stability booklet)"
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ 4. แบบแปลนหรือเอกสารประกอบใดผ่านการตรวจรับรองจากผู้ที่ได้รับการรับรองจากกรมเจ้าท่า หรือสมาคมจัดชั้นเรือที่กรมเจ้าท่ายอมรับแล้ว หรือแบบแปลนหรือเอกสารประกอบนั้นเป็นเอกสารสนับสนุนในการต่อสร้างหรือดัดแปลงเรือ ให้วิศวกรผู้ตรวจแบบแปลนประทับตราตามรูปแบบที่กำหนดในภาคผนวก 3 พร้อมลงนามไว้เป็นสำคัญ
การนำไปปฏิบัติและสิ่งที่ต้องตรวจสอบ เอกสารแนบท้าย 1. แบบคำร้อง ก.5 2. แบบสัญลักษณ์สำหรับใช้ในแบบการจัดการเพลิงไหม้ (Fire Control Plan)แบบการจัดการอุปกรณ์ความปลอดภัยแห่งชีวิต (Life Saving Appliance Plan)และแบบการจัดการความปลอดภัย (Safety Plan)" 3. แบบตราประทับบนแบบแปลนเรือ ของกรมเจ้าท่า 4. แบบใบสำคัญรับรองการตรวจอนุมัติแบบแปลนเรือ 5. อัตราค่าธรรมเนียมสำหรับการตรวจเพื่อออกใบสำคัญรับรองการตรวจอนุมัติแบบแปลนเรือ
จบการนำเสนอ