ยุทธศาสตร์ การป้องกันควบคุมไข้หวัดนก อธิบดีกรมควบคุมโรค (ดร. นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์) วันที่ 1 มีนาคม 2555
ความรับผิดชอบของสาธารณสุข รับผิดชอบความสำเร็จของการป้องกันและควบคุมโรคในคน(ไม่ให้ติดเชื้อและป่วย) การรักษาผู้ป่วย (ไม่ให้เสียชีวิต หากมีการป่วย) สร้างความมั่นใจแก่ประชาชนต่อความปลอดภัยของชีวิตและสุขภาพ สาธารณสุขไทย ต้องคงความสำเร็จไว้ โดยไม่ประมาท ประเทศปลอดการติดเชื้อในคน มากกว่า 5 ปี (เริ่มมีผู้ป่วยปี 2547 จำนวนผู้ป่วยรวม 25 ราย เสียชีวิต 17 ราย รายสุดท้าย เริ่มป่วย 14 กรกฎาคม 2549) แสดงว่าบุคลากรและระบบงานสาธารณสุขของประเทศไทยดำเนินการป้องกันควบคุมโรคในคน ได้ผลดีเป็นตัวอย่างแก่ประเทศต่างๆ
จุดเน้น การบริหารจัดการ -- ตั้งการ์ดสูงไว้เสมอ จุดเน้น การบริหารจัดการ -- ตั้งการ์ดสูงไว้เสมอ สธ. ถือว่าการป้องกันควบคุมไข้หวัดนก เป็นนโยบายที่สำคัญที่มีผลกระทบสูง ผู้บริหาร สธ. ต้องให้ความสำคัญ ดูแลอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง ผู้ตรวจราชการทุกเขต ตรวจสอบสถานการณ์โรค และความพร้อมของระบบงาน ส่งเสริมทีม SRRT ทั้งด้านบุคลากรและทรัพยากร ให้เพียงพอ ทำนุบำรุง ส่งเสริม อาสาสมัครสาธารณสุข ให้มีกำลังใจทำงาน เป็นฐานงานสาธารณสุขในชุมชน ส่งเสริมความตระหนัก และบทบาทของประชาชน ในการป้องกันตนเอง ประสานงานอย่างใกล้ชิด ระหว่างสาธารณสุข ปศุสัตว์ และฝ่ายปกครอง กรมวิชาการ และ สำนักงานปลัดกระทรวง ให้การสนับสนุนเพียงพอและรวดเร็ว
ความเสี่ยงของโลก และของไทย ไข้หวัดนก H5N1 กำลังแพร่กระจายทั่วโลก หลายประเทศ แหล่งโรคมีทั้งสัตว์ปีกเลี้ยง เช่น ไก่ เป็ดและนกธรรมชาติ เชื้อมีโอกาสแพร่กระจายถ่ายเทระหว่างภูมิภาค และทุกประเทศ มีความเสี่ยงระยะยาวต่อการระบาดทั้งในสัตว์และคน หากควบคุมโรคไม่ได้ผล เชื้ออาจเปลี่ยนแปลง นำไปสู่การระบาดใหญ่ได้
(ร่าง) แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ (พ.ศ. 2555-2559) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง และ การป้องกันควบคุมโรค ในคน สัตว์ สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อม รวมถึงห้องปฏิบัติการ และการรักษาในคน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการระบบการเลี้ยงและ สุขภาพสัตว์ และสัตว์ป่า ให้ปลอดโรค ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการความรู้ และการวิจัยพัฒนา ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบ และกลไก การบริหารจัดการเชิงบูรณาการ ทั้งในการเตรียมความพร้อม และ การบริหารจัดการในภาวะฉุกเฉิน ด้านโรคติดต่ออุบัติใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสื่อสารความเสี่ยง และประชาสัมพันธ์ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ (พ.ศ. 2555-2559) ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง และการป้องกันควบคุมโรค ในคน สัตว์ สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อม รวมถึงห้องปฏิบัติการ และการรักษาในคน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการระบบการเลี้ยงและสุขภาพสัตว์ และสัตว์ป่า ให้ปลอดโรค ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการความรู้ และการวิจัยพัฒนา ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบ และกลไกการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ ทั้งในการเตรียมความพร้อม และการบริหารจัดการในภาวะฉุกเฉินด้านโรคติดต่ออุบัติใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสื่อสารความเสี่ยง และประชาสัมพันธ์ 5