การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในการผลิตพืช โดย อ.อภินันท์ กำนัลรัตน์
วัตถุประสงค์ 1. ความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม/สร้างจิตสำนึก 2. แนวทางในการดำเนินการ หัวข้อ 1. สภาพปัญหา 2. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหา 3. ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์ 4. แนวทางของการแก้ปัญหา
ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรที่สามารถสร้างทดแทนใหม่ได้ (Renewable Resources) ทรัพยากรที่ไม่สามารถมีการสร้างทดแทนได้ (Non-Renewable Resources) ทรัพยากรที่ไม่มีวันหมด (Perperual Resources) ความหมาย “ สิ่งแวดล้อม(Enviroment) ”: สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆสิ่งต่างๆเหล่านั้นอาจจะเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ดิน ฟ้า อากาศ หรือสิ่งที่มีชีวิตต่างๆ เช่น พืช สัตว์ จุลินทรีย์เป็นต้น สิ่งแวดล้อมสามารถเปลี่ยนแปลงได้(Enviroment Change)และส่งผลกระทบ(Impact)ต่อคน และสิ่งมีชีวิตต่างๆได้
ผลกระทบของการพัฒนาการทางด้านเกษตรต่อ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านบวก มูลค่าของผลผลิตเพิ่มขึ้น รายได้ของประชาชาติเพิ่มขึ้น สภาพของการอุปโภคบริโภค เครื่องอำนวยความสะดวกดีขึ้น ด้านลบ พื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่างรวดเร็ว ผลกระทบต่อเนื่อง มลพิษจาการใช้สารเคมีเกษตร ความถดถอยของทรัพยากรดิน ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม สูญเสียแหล่งทรัพยากรพันธุกรรม(genetic resources) สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) และระบบนิเวศ ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อม สูญเสียสมบัติส่วนรวมของชุมชน
การอนุรักษ์และการพัฒนา การพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable development) การพัฒนาที่คำนึงถึงระบบนิเวศน์(Eco - development) การอนุรักษ์(Conservation) คือ การรักษาให้คงเดิม การสงวน(Protection) คือ การคงไว้ให้อยู่ในสภาพเดิมโดยไม่ต้องไปดำเนินการอะไร นักบริหารจัดการ “ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ”คือ แนวทางในการป้องกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ให้ถูกทำลายหรือเสื่อมสภาพลง ความหมายอื่นๆ wise use, การถนอมให้คงสภาพ, การบูรณะหรือการฟื้นฟู(restoration) การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ(development, management, recycle) การจัดการทรัพยกรอย่างยั่งยืน(Sustainable resource management) เกษตรยั่งยืน (Sustainable agriculture)
แนวทางการดำเนินการ มีหลายระดับ: 1. นโยบายของรัฐ 2. นักวิชาการ, นักส่งเสริม นักวิชาการเกษตร(ทัศนคติต่อการพัฒนาการเกษตร) 3. เกษตรกร ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
แนวนโยบายรัฐ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่(2540-2544) พัฒนาการเกษตรที่กลมกลืนกับธรรมชาติโดยใช้ประโยชน์และรักษาความอุดมสมบูรณ์ของความหลากหลายพันธุ์พืชและดิน เพิ่มบทบาทของประชาชนในการเรียนรู้การพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการเตรียมคนและชุมชน เพื่อรองรับผลกระทบของการพัฒนาจากภาคนอกชนบท สนับสนุนให้มีการผสมผสานมิติทางด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับมิติทางด้านเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชนิดหรือแบบที่ก่อผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตน้อยที่สุด ให้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยี่ของตนเองเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยคำนึงถึงต้นทุนทางสังคมด้วย
2. นักวิชาการ นักส่งเสริม หรือ นักพัฒนาการเกษตร 2. นักวิชาการ นักส่งเสริม หรือ นักพัฒนาการเกษตร วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี่ที่เหมาะสม ลดการใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือยและเกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาเทคโนโลยี่ที่มีพื้นฐานจากภูมิปัญญาท้องถิ่น วิจัยและพัฒนาการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดควบคู่กับการอนุรักษ์ วิจัยและพัฒนาระบบเกษตรที่เกื้อกูลกันในระบบนิเวศเช่น ระบบการปลูกพืชผสมผสาน(mixed cropping) ระบบวนเกษตรกรรม(organic farming) เกษตรอินทรีย์(organic farming) วิจัยและพัฒนาเชิงสหวิทยาการ(interdisciplinary)
เกษตรกรและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง การผลิตในทางการเกษตร ( พืช สัตว์ ประมง ป่าไม้) เป็นกิจกรรมที่ผลต่อเนื่องต่อกัน การผลิตใดๆของกิจกรรมหนึ่งจะไปกระทบกับอีกกิจกรรมหนื่ง จากสถานที่หนึ่งไปอีกสถานที่หนึ่งการใช้การผลิตใดๆในอนาคตข้างหน้า มีกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติตามมากขึ้น(WTO)ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะต้องระมัดระวังมากยิ่งขึ้น