การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง วิยดา เหล่มตระกูล
เหตุผลในการปรับเปลี่ยน แนวทางการวัดและประเมินผล เหตุผลในการปรับเปลี่ยน แนวทางการวัดและประเมินผล แนวคิดของการจัดการศึกษาเปลี่ยนแปลงไป ข้อจำกัดของวิธีการประเมินแบบเดิม
ความหมาย การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) เป็นกระบวนการตัดสินความรู้ความสามารถและทักษะของผู้เรียน จากการสังเกต บันทึก และรวบรวมข้อมูลจากงานและวิธีการที่กระทำ ในสถานการณ์เหมือนชีวิตจริงหรือใกล้เคียง แล้วนำข้อมูลนั้นมาสังเคราะห์ และตีความเพื่อนำมาใช้ตัดสินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อดีของการใช้การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง ผลของการประเมินแสดงถึงความรู้ความสามารถของ นักเรียนได้อย่างแท้จริง ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ช่วยพัฒนาการสอนของครู ลดภาระของผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนและ การประเมิน
กรอบการออกแบบการประเมิน ผลที่คาดหวัง : สิ่งที่ต้องการให้นักเรียนรู้/ทำได้ (จุดประสงค์ปลายทาง) จุดประสงค์ กระบวนการ ผลผลิต ตัวบ่งชี้ผลที่คาดหวัง: นักเรียนต้องแสดงพฤติกรรมใดจึงจะถือว่าบบรลุผลที่คาดหวัง (จุดประสงค์นำทาง) ภาระงาน/กิจกรรมหลัก: ครูจะสอน/จัดกิจกรรมเช่นใดให้นักเรียนบรรลุตามผลที่คาดหวัง ชิ้นงาน: สิ่งใดที่จะสะท้อนว่านักเรียนบรรลุผลตามที่คาดหวัง เกณฑ์การให้คะแนน: ครูจะสื่อสารเพื่อบอกผู้อื่นได้อย่างไรว่านักเรียนบรรลุผลสำเร็จแล้ว
เกณฑ์การประเมิน (RUBRIC) เครื่องมือการให้คะแนนที่มีการระบุเกณฑ์ประเมิน ชิ้นงาน และคุณภาพของชิ้นงานในแต่ละเกณฑ์
ขั้นตอนการสร้างเกณฑ์การประเมิน ระบุคุณลักษณะของชิ้นงานที่มีคุณภาพดี และชิ้นงานที่มีคุณภาพต่ำ ระบุรายการที่เป็นเกณฑ์ จากคุณลักษณะของชิ้นงานที่มีคุณภาพดี บรรยายลักษณะของชิ้นงานที่ดีที่สุดและมีคุณภาพต่ำที่สุดก่อน แล้วจึงบรรยายลักษณะที่อยู่ระหว่างกลาง
รูปแบบของเกณฑ์การประเมิน เกณฑ์การประเมินในภาพรวม (Holistic Rubric) พิจารณาจากภาพรวมของชิ้นงาน โยมีคำอธิบายลักษณะของงานแต่ละระดับอย่างชัดเจน (3-6 ระดับ) เกณฑ์การประเมินแบบแยกองค์ประกอบ (Analytic Rubric) พิจารณาจากองค์ประกอบย่อยของงาน โดยกำหนดแนวทางการให้คะแนนของแต่ละองค์ประกอบย่อยไว้อย่างชัดเจน
การประเมินคุณลักษณะ (A) องค์ประกอบหลักของคุณลักษณะ เป้าหมายของความรู้สึกต่างๆ ของบุคคล ทิศทาง แนวทางความคิด/ความรู้สึกทางบวก/ทางลบ ความเข้ม ระดับความมากน้อยของความรู้สึก
คุณลักษณะด้านจิตวิทยาที่จะวัด ความสนใจ ความรู้สึกชื่นชอบกิจกรรมหนึ่งมากกว่ากิจกรรมอื่น เจตคติ ระดับความมากน้อยของความรู้สึก + / - ที่มีต่อสิ่งหนึ่ง ค่านิยม สิ่งที่บุคคล/สมาชิกในสังคมยึดถือและยอมรับว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายและมีความสำคัญสำหรับตน
องค์ประกอบของทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก แนวโน้มในการทำพฤติกรรม
ตัวอย่าง แบบสำรวจทัศนคติต่อการอ่าน โปรดทำเครื่องหมาย / หรือ หน้าข้อความต่อไปนี้ ......1) ฉันชอบอ่านหนังสือ ......2) การอ่านหนังสือทำให้ฉันรู้กว้างขึ้น ......3) ฉันมีความสุขที่ได้อ่านหนังสือ ......4) ฉันชอบเล่าเรื่องที่อ่านให้เพื่อนฟัง ......5) เมื่อฉันอ่านหนังสือแล้ว ฉันสามารถจับใจความสำคัญของเรื่องได้ ......6) ฉันชอบอ่านหนังสือหลากหลายประเภทนอกเหนือจากที่ครูสั่ง สรุปผลการประเมิน ผ่าน ( 4 ข้อขึ้นไป) ไม่ผ่าน (ต่ำกว่า 4 ข้อ)
ตัวอย่างแบบประเมินตนเองด้านความสามารถในการสรุปประเด็นของนักเรียน จากการเรียนในวิชา...................... ท่านมีลักษณะตรงกับพฤติกรรมในข้อใดมากที่สุด โปรดทำเครื่องหมาย / หน้าข้อความที่กำหนดให้ .........1) จดคำบรรยายขออาจารย์ทุกคำพูด หรือละเอียดเท่าที่จะทำได้ .........2) นั่งฟังการบรรยายอย่างเดียวให้เข้าใจโดยไม่ค่อยจดบันทึกอะไรเลย .........3) จดเฉพาะสาระที่อาจารย์เขียนบนกระดานหรือฉายบนแผ่นโปร่งใส .........4) สรุปประเด็นจากการฟังบรรยายแล้วค่อยจดลงสมุด .........5) ยืมสมุดจดงานของเพื่อนมาลอกหรือถ่ายสำเนา สรุปผลการประเมิน ผ่าน (เลือกตอบข้อ 4) ไม่ผ่าน (ไม่เลือกตอบข้อ 4)