KM เรื่อง “การบริหารความเสี่ยง” ส่วนบริหารการจัดเก็บภาษี สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 2 โดย นายกฤติพงษ์ เวชนุเคราะห์ นักวิชาการสรรพสามิตชำนาญการพิเศษ ส่วนบริหารการจัดเก็บภาษี สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 2
ความเสี่ยง Risk หมายถึงอะไร ?
ความเสี่ยง Risk หมายถึง โอกาสที่จะเกิดความ ผิดพลาดความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือ เหตุการณ์ ซึ่งไม่พึงประสงค์ ที่ทำให้งานไม่ประสบ ความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ (Objective) และ เป้าหมาย (Taget) ที่กำหนด
เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้มีระบบการบริหารที่ดี เพื่อให้มีความชัดเจนและโปร่งใส ช่วยลดผลกระทบซึ่งเกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่มีความ ซับซ้อน
แหล่งที่มา หรือ ต้นเหตุแห่งความเสี่ยงมาจากไหน ?
แหล่งที่มา หรือ ต้นเหตุแห่งความเสี่ยง มาจาก ปัจจัยภายใน และ ปัจจัยภายนอก ขององค์กร
องค์กร ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก พฤติกรรมขององค์กร ความรู้ความสามารถของบุคลากร ภายในองค์กร กระบวนการทำงานของมูลสารสนเทศ สภาวะแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี พฤติกรรมผู้บริโภค ภัยธรรมชาติ
ปัจจัยภายนอก ไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยภายใน สามารถควบคุมได้ ปัจจัยภายนอก ไม่สามารถควบคุมได้
ประเภทของความเสี่ยง ประเภทของความเสี่ยงแบ่งออกเป็น 4 ระดับ 1. ความเสี่ยงระดับองค์กร (Enterprise Risk) 2. ความเสี่ยงระดับหน่วยงาน (Business Risk) 3. ความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน (Functional Risk) 4. ความเสี่ยงในเหตุการณ์ (Event Risk)
ประเภทของความเสี่ยง ระดับที่ 1 ความเสี่ยงระดับองค์กร (Enterprise Risk) เป็นความเสี่ยงที่จะทำให้การดำเนินงานโดยภาพรวม ขององค์กรไม่บรรลุผล ตามวัตถุประสงค์ เช่น ความผิดพลาด เรื่อง การกำหนดนโยบาย การกำหนดโครงสร้างการจัดการ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี การจัดเก็บรายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย (ผู้ประกอบการหลีกเลี่ยงการ ชำระภาษี การชำระภาษีไม่ถูกต้อง)
ประเภทของความเสี่ยง ระดับที่ 2 ความเสี่ยงระดับหน่วยงาน (Business Risk) ความเสี่ยงที่จะทำให้การดำเนินงานในแต่ละหน่วยงาน / กลุ่มงาน และ สายงานไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของ หน่วยงาน เช่น ความเสี่ยงจากการบริหารจัดการในกระบวนการทำงาน ต่าง ๆ ที่ไม่มีประสิทธิภาพ อันเกิดจากบุคลากรไม่มี หรือมีไม่เพียงพอ กับปริมาณงาน
ประเภทของความเสี่ยง ระดับที่ 3 ความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน (Functional Risk) ความเสี่ยง ที่เกิดจากปัจจัยภายใน ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของ ฝ่ายบริหารการป้องกัน หรือ ลดความเสี่ยง ทำได้โดย จัดให้มีกิจกรรม การควบคุมอย่างเพียงพอและเหมาะสม เช่น - ไม่มีการควบคุมการจัดทำรายงาน ของเจ้าหน้าที่ และไม่จัดส่งรายงาน ภายในกำหนดเวลา - แบบรายงานที่จัดทำขาดการควบคุมและติดตามอย่างใกล้ชิด
ประเภทของความเสี่ยง ระดับที่ 4 ความเสี่ยงในเหตุการณ์ (Event Risk) ความเสี่ยงที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำแต่เป็นเหตุการณ์พิเศษที่ เกิดขึ้นได้ในทุกระดับขององค์กร ตัวอย่าง... เจ้าหน้าที่ทุจริต
การบริหารความเสี่ยง (Risk Management )