การวิเคราะห์งานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการประเมินประสิทธิผลองค์การภาครัฐเกี่ยวกับการศึกษาอาชีพนอกระบบโรงเรียน จัดทำโดย นายพิสณุ ฟองศรี หลักสูตรปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ปัญหาการประเมินประสิทธิผลองค์การภาครัฐ การจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน
ปัญหาการประเมินประสิทธิผลองค์การภาครัฐ ตัวแปรไม่ครอบคลุม การวัดตัวแปรที่เป็นนามธรรม ตัวชี้วัดมีไม่เพียงพอ การกำหนดค่าน้ำหนักของตัวชี้วัด เกณฑ์การตัดสิน การวิเคราะห์ไม่ครอบคลุม การประเมินที่ผ่านมาไม่ได้ศึกษาถึงสาเหตุ รูปแบบ (Model) มีไม่เพียงพอและถูกต้องสมบูรณ์
แนวทางในการแก้ปัญหา คือ การพัฒนารูปแบบการประเมินประสิทธิผลองค์การ เนื่องจากสามารถพัฒนาโดยออกแบบกำหนดให้ครอบคลุม ปัญหาต่าง ๆ ได้
การจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้ารับการฝึกอบรมอาชีพพัฒนา ความรู้ และทักษะด้านอาชีพ องค์การภาครัฐในระดับกรมหรือเทียบเท่าที่มีภารกิจหลัก ได้แก่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาชุมชน และกรมการศึกษานอก โรงเรียน เป็นต้น จากการวิจัย การจัดการศึกษาหรือฝึกอาชีพขององค์การภาครัฐ - มีความสำเร็จในเชิงปริมาณ แต่ไม่สามารถสรุปในเชิงคุณภาพ - ขาดการประเมิน มีเพียงการติดตามผล
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินผลขององค์การภาครัฐ ฯ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยผู้บริหารของ องค์การและผู้บริหารองค์การระดับนโยบาย เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ของประสิทธิผลองค์การภาครัฐเกี่ยวกับการศึกษาอาชีพนอกระบบ โรงเรียนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อศึกษาลักษณะความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นระหว่างตัวแปร ต่าง ๆ กับประสิทธิผลองค์การภาครัฐเกี่ยวกับการศึกษาอาชีพนอก ระบบโรงเรียนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
ขอบเขตของการวิจัย ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ องค์การภาครัฐที่มีภารกิจหลักในการให้ บริหารด้านการศึกษาอาชีพนอกระบบโรงเรียน จำนวน10 องค์การ ภารกิจที่ประเมิน ได้แก่ การฝึกอาชีพนอกระบบโรงเรียนซึ่งเน้น การฝึกอาชีพระยะสั้น สาขาช่วงอุตสาหกรรม
3. รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น 3.1 ตัวแปรต้น จำนวน 8 ตัวแปร - ระดับตัวองค์การ ได้แก่ ภาวะผู้นำองค์การ นโยบาย การบริหาร องค์การ และกระบวนการบริหารองค์การ - ระดับกลุ่ม ได้แก่ ภาวะผู้นำกลุ่ม วัฒนธรรมกลุ่ม กระบวนการ บริหารกลุ่ม - ระดับบุคคล ได้แก่ คุณลักษณะของบุคลากร และการปฏิบัติงาน ของบุคลากร
3.2 ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิผลองค์การ การบรรลุจุดมุ่งหมายตามภารกิจ ประสิทธิภาพ ผลการบริหารความเปลี่ยนแปลง ความพึงพอใจ
สรุปผลการวิจัย การพัฒนารูปแบบการประเมินประสิทธิผลองค์การฯ ผลการพิจารณาของผู้บริหารเพื่อกำหนดค่าน้ำหนักของตัว แปรตามทั้ง 4 ตัว โดยเฉลี่ย ดังนี้ 1.1 การบรรลุจุดมุ่งหมาย 35% 1.2 ประสิทธิภาพ 15% 1.3 ผลการบริหารความเปลี่ยนแปลง 20% 1.4 ความพึงพอใจ 30%
2. ผลการประเมินประสิทธิผลองค์การพบว่า 1. กรมอาชีวศึกษา มีประสิทธิผลองค์การในระดับน้อย ( X = 49.0) มีตัวชี้วัดที่ผ่านเกณฑ์ 9 ตัวชี้วัด และไม่ ผ่านเกณฑ์ 6 ตัวชี้วัด ( X = 56.6 ) 2. สำนักพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร มีประสิทธิผลองค์การ ในระดับปานกลาง มีตัวชี้วัดที่ผ่านเกณฑ์ 7 ตัวชี้วัด และไม่ผ่านเกณฑ์ 8 ตัวชี้วัด