หน่วยที่ 5 ภาษาทางสื่อ ภาพยนตร์
วัตถุประสงค์การเรียน 1. เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะสำคัญของสื่อภาพยนตร์ 2. เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ภาษาในสื่อภาพยนตร์
ลักษณะสำคัญของสื่อภาพยนตร์ * เป็นสื่อเพื่อความบันเทิงคู่คนไทยมานาน * เป็นสื่อสำคัญในการบันทึกเรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมประเพณีของประเทศ * สามารถเก็บไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาเพื่อเรียนรู้ถึงสภาพความเป็นอยู่ในแต่ละประเทศ
* เป็นการเก็บรักษาวัฒนธรรมหรือเพื่อสืบทอดความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไว้ * อาจกล่าวได้ว่าภาพยนตร์มีลักษณะการใช้ภาษาที่เป็นภาษาสากล สามารถเข้าถึงผู้คนได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกชาติ ภาษา
* เป็นการสะท้อนสังคมต่าง ๆ ที่อาจส่งผลทั้งด้านบวกและลบ * อาจทำให้เกิดการเลียนแบบหรือนำมาเป็นรูปแบบในทางที่ผิดได้ จึงควรที่จะต้องพิจารณาถึงการใช้ภาษาที่เหมาะสมในสื่อภาพยนตร์ด้วย
ภาษาทางสื่อภาพยนตร์ อวัจนภาษา ได้แก่ ภาพ การเคลื่อนไหว แสง สี ดนตรี เสียงประกอบ และความเงียบ วัจนภาษา ได้แก่ คำอ่าน คำบรรยาย และคำสนทนา
การจัดระดับของภาพยนตร์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ ค.ศ. 1968 สมาคมภาพยนตร์แห่งอเมริกา (Motion Picture Association of America หรือ MPAA ) ได้กำหนดวิธีการควบคุมภาพยนตร์โดยอาศัยระบบการจัดระดับของภาพยนตร์ตามอายุผู้ชม (age – based system)
G - general audience สำหรับผู้ชมทั่วไป PG - parental guidance สำหรับผู้ชมทั่วไป แต่มีเนื้อหาบางตอนไม่เหมาะสมกับวัยของเด็ก ดังนั้น จึงต้องมีบิดามารดาหรือผู้ปกครองพาไปชม
PG – 13 ภาพยนตร์ที่ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี เข้าชม ยกเว้นมีบิดามารดาหรือผู้ปกครองไปชมด้วย
R - restricted ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 17 ปี เข้าชม ยกเว้นมีบิดามารดา หรือผู้ปกครองไปชมด้วย X ภาพยนตร์ที่ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าชมเด็ดขาด เพราะมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ ความรุนแรงหรือภาษา หยาบคาย
ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 17 ปี เข้าชมเด็ดขาด NC – 17 - no children under 17 admitted ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 17 ปี เข้าชมเด็ดขาด หมายเหตุ : ปัจจุบัน เรต X ถูก MPAA ยกเลิกไปแล้ว และเปลี่ยนเป็น NC – 17 แทน
การใช้ภาษาทางสื่อภาพยนตร์ กรอบกำหนดการผลิตภาพยนตร์ในประเทศไทย - พระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. 2473 - พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
การศึกษาถึงการใช้ภาษาในสื่อภาพยนตร์นั้น จะอาศัยการแบ่งประเภท การจัดระดับของภาพยนตร์เป็นเกณฑ์ประกอบ การนำเสนอเนื้อหาในภาพยนตร์ควรคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้ชมที่เป็นเยาวชนด้วย
การนำเข้าภาพยนตร์จากต่างประเทศ อาจนำไปสู่การซึมซับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาติตะวันตกโดยไม่รู้ตัว และค่อยเป็นค่อยไป
คำถามท้ายหน่วยที่ 5 1. อธิบายถึงผลกระทบของสื่อภาพยนตร์ 2. ยกตัวอย่างภาษาที่ไม่เหมาะสมในสื่อภาพยนตร์ พร้อมให้เหตุผลอธิบายสนับสนุนว่า ตัวอย่างที่ยกมานั้นมีการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมอย่างไรบ้าง