อุดมการณ์ทางการเมือง (Political ideology) 04/04/60
ประชาธิปไตย (Democracy) ประชาธิปไตย (Democracy) เป็นศัพท์ทางรัฐศาสตร์ที่ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางและบ่อยครั้งในความหมายต่างกันมากมาย ตนยึดถือการปกครองแบบ “ประชาธิปไตยของประชาชน” (People’s Democracy) “ประชาธิปไตยโดยการชักนำ” หรือประชาธิปไตยแบบนำวิถี (Guided Democracy) และมีการพูดถึง “ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ” 04/04/60
ประชาธิปไตย (Democracy) “ประชาธิปไตย” (Democracy) มาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ Demos แปลว่า ประชาชน (people) ซึ่งหมายความเดิมในภาษากรีกหมายถึง คนยากจน (the poor) หรือคนส่วนมาก (the many) กับ Kratos หมายถึง อำนาจ (power) หรือ การปกครอง (rule) ดังนั้น คำว่าประชาธิปไตย (Democracy) จึงหมายถึง rule by the people หรือ การปกครองโดยประชาชน (Andrew Heywood, 1997 : 66) 04/04/60
ความหมายของการปกครองแบบประชาธิปไตย Demos (ประชาชน/ คนส่วนมาก) Kratos (อำนาจ/ การปกครอง) ประชาธิปไตย + ประชาธิปไตย = การปกครองโดยประชาชน (Rule by the people)
ประชาธิปไตย (Democracy) ความหมายประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในภายหลังนั้น อาจแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ *ความหมายแคบ ถือว่าประชาธิปไตยเป็นเพียงรูปแบบการปกครองแบบหนึ่งเท่านั้น *ความหมายกว้าง หมายถึงปรัชญาของสังคมมนุษย์ที่กำหนดแบบแผนแห่งพฤติกรรมระหว่างมนุษย์ในสังคม 04/04/60
ประชาธิปไตย (Democracy) ประชาธิปไตย 3 ระดับ 1.ประชาธิปไตยในฐานะอุดมการณ์ 2. ประชาธิปไตยในฐานะรูปแบบการปกครอง 3. ประชาธิปไตยในฐานะวิถีชีวิต 04/04/60
อุดมการณ์ประชาธิปไตย มีลักษณะสำคัญ ดังต่อไปนี้คือ 1.การมีศรัทธาในความสามารถของมนุษย์ 2.เชื่อในสิทธิเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็น 3.มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน 04/04/60
4. อำนาจทางการปกครองของรัฐบาลเกิดขึ้นจากความยินยอมของประชาชน 5. สถาบันการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นกลไกของรัฐนั้นมีอยู่เพื่อรับใช้บุคคลในสังคม อำนาจรัฐควรมีจำกัด 6. รัฐเป็นเพียงอุปกรณ์ที่ช่วยให้คนในสังคมบรรลุถึงความสุขสมบูรณ์และ ประชาชนมีสิทธิต่อต้านรัฐที่ไม่ปฏิบัติตามจุดหมายนั้นได้
สิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย 1. เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ และการโฆษณา 2. เสรีภาพในการานับถือศาสนา 3. เสรีภาพในการสมาคมหรือรวมกลุ่ม 4. สิทธิในทรัพย์สิน 5. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย 6. สิทธิส่วนบุคคล
ความเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตย 1. ความเสมอภาคทางการเมือง 2. ความเสมอภาคต่อการปฏิบัติของกฎหมาย 3. ความเสมอภาคในโอกาส 4. ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ 5. ความเสมอภาคทางสังคม
ประชาธิปไตยในฐานะเป็นระบอบการปกครอง 1. อำนาจอธิปไตยมาจากประชาชน 2. ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศหรือปกครองตนเอง 3. รักษาผลประโยชน์ของฝ่ายข้างมากในการปกครอง (majority rules) ให้ความสำคัญและรักษาผลประโยชน์ให้แก่ฝ่ายข้างน้อยด้วย (minority rights)
4. หลักกฎหมาย (The Rule of Law) เป็นหลักในการปกครอง 5. หลักความยินยอมเห็นชอบร่วมกัน (consensus) 6. หลักการปกครองที่ว่า รัฐบาลที่ดีต้องมีอำนาจจำกัด (The Least Government is the Best Government) 7. หลักความเสมอภาค (Equality)
8. หลักการใช้เหตุผล (Rationality) ทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์ 9. หลักความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันได้ 10. หลักมองมนุษย์ในแง่ดี (optimistic) 11. หลักเสรีภาพ (Liberty) 12. หลักความสำคัญของวิธีการ (means)
ประชาธิปไตยฐานะเป็นวิถีชีวิต 1) เคารพเหตุผลมากกว่าบุคคล 2) รู้จักการประนีประนอม 3) มีระเบียบวินัย 4) มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
บุคลิกภาพที่เป็นประชาธิปไตย 1) มีความคิดเห็นเป็นของตนเอง 2) เป็นคนที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ใหม่ ๆ ได้ง่าย 3) มีความรับผิดชอบ 4) ไม่มีอคติต่อศาสนาอื่น
5) คิดถึงบุคคลอื่นในฐานะที่เขาเป็นตัวของเขาเอง ไม่ใช่ไปจัดประเภทให้เขา 6) มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ มีศรัทธาและความหวังต่อชีวิต 7) ไม่ยอมก้มหัวให้กับผู้ยิ่งใหญ่ง่าย ๆ