การปรับองค์กรเพื่อรองรับ พรบ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
งานกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการฯ
Advertisements

พลังงานในกระบวนการทางความร้อน : กฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์
สำนักงานตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การสืบสวน สอบสวน การสืบสวน
งานกลุ่มส่งเสริมและ พัฒนาการบริหารการ จัดการฯ ผลงาน ณ เดือน เมษายน 2551.
กองทุนพัฒนาไฟฟ้ากับ การพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า
กฎ ก.พ.ค. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัย เรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ( แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๒ )
โครงการพัฒนา (Cross Function) กลุ่ม Tsunami2.
การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ
ความหมาย ลักษณะ และการบังคับใช้ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
จำนวนนับใดๆ ที่หารจำนวนนับที่กำหนดให้ได้ลงตัว เรียกว่า ตัวประกอบของจำนวนนับ จำนวนนับ สามารถเรียกอีกอย่างว่า จำนวนเต็มบวก หรือจำนวนธรรมชาติ ซึ่งเราสามารถนำจำนวนนับเหล่านี้มา.
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ.2542
ปัญหาเกี่ยวกับการสอบข้อเท็จจริง
เมื่อ ๕ ก.ย.๕๕ , ๐๙๐๐ ณ ห้องประชุม สธน.ทหาร
วันที่ 25 มีนาคม 2556.
การเบิกจ่ายเงินช่วยพิเศษ
ที่มา : ข้อมูลจากกรมบัญชีกลาง
คดีความรับผิดชอบในการ ค้างชำระค่าชลประทาน
กฎหมายการเงิน การคลังทั่วไป
กฎหมายเกี่ยวกับ การเงินการคลัง
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. คำนิยาม ขาย สินค้า การบริการ ใบกำกับภาษี ภาษีขาย ภาษีซื้อ 2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี 3. การยกเว้น.
งานกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการฯ
ความสำคัญของการออม เพื่อเกษียณอายุ
เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสุรา
พระราชบัญญัติ ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ๒๕๓๕
การร่างกฎหมาย การให้ความเห็นทางกฎหมาย และการดำเนินคดีปกครอง
นายสุรเกียรติ ฐิตะฐาน
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.​ ๒๕๕๑
การประชุมชี้แจง การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี และ การขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน
พระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพ ผู้รับเบี้ยหวัด บำนาญ พ.ศ. 2521
ค่าใช้จ่ายในการจ้างเอกชนดำเนินงาน
บำเหน็จค้ำประกัน ก.บริหารทรัพยากรบุคคล 7 ก.พ
กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
การประชุมชี้แจงสาระสำคัญของประกาศ คพร.
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ...
ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ความคิดเห็นของข้าราชการเกี่ยวกับ สวัสดิการการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2546
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สรุปผลการสำรวจ ความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับ
สรุปผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สิงหาคม.
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542
หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
การเลื่อนเงินเดือนในระบบใหม่
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบแจ้งการเกิดอุบัติภัยร้ายแรง หรือการประสบอันตรายจากการทำงาน พ.ศ ลงวันที่ 19 กันยายน 2554.
พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 4) พ. ศ
ระเบียบสำนักงานประกันสังคมว่าด้วย การเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 26 ตุลาคม.
ประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 13.
กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 9 พฤศจิกายน 2555.
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3
ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเกมออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานคร
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร
กระบวนการสมานฉันท์และสันติวิธี
สรุปผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ก่อนและหลัง การประกาศสงครามขั้นแตกหักเพื่อเอาชนะยาเสพติด) พ.ศ สำนักงานสถิติแห่งชาติ
การดำเนินการตามภารกิจ การให้บริการจัดหางานในประเทศ
PRT บริษัท ภูรีภาค จำกัด “แก่นแท้ของ พรบ. คุ้มครองแรงงานที่ควรรู้”
สรุปผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชน
กลุ่มงานทะเบียนประวัติและเครื่องราชอิสริยาภรณ์
แนวทางการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างราคากลาง และการคำนวณราคากลาง ของ ป.ป.ช.
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12
มาตรา ๑๔๔๘ การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชาย และหญิง มีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการ สมรสก่อนนั้นได้
โดย นางนงภรณ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์ ผู้อำนวยการกองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ
การจัดการงานบุคคลของสหกรณ์ออมทรัพย์
บทที่ 7 อากรแสตมป์.
รายงานความก้าวหน้าการตรวจติดตามประเมิน
ผลการประเมิน คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา
คำชี้แจงกระทรวงแรงงาน เรื่อง พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 12 กันยายน 2554.
“สหกรณ์กับการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ และกฎหมายอื่น”
การปรับเปลี่ยนลูกจ้าง ชั่วคราวเข้าสู่การเป็น พนักงานกระทรวง สาธารณสุข
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การปรับองค์กรเพื่อรองรับ พรบ การปรับองค์กรเพื่อรองรับ พรบ.คุ้มครองแรงงาน ๒๕๕๑ ฉบับที่ ๒ และ ฉบับที่ ๓

กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่มีผลใช้ บังคับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 มาตรา ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญอยู่ 2 มาตราที่พวกเรา จำเป็นต้องศึกษา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ส่วนที่ ๖ สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ มาตรา ๔๔ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำงาน รวมทั้งหลักประกันในการดำรงชีพทั้งในระหว่างการทำงานและเมื่อพ้นภาวะการทำงาน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

ส่วนที่ ๗ แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ส่วนที่ ๗ แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ มาตรา ๘๔ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้ (๗) ส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี จัดระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคีที่ผู้ทำงานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน จัดระบบประกันสังคม รวมทั้งคุ้มครองให้ผู้ทำงานที่มีคุณค่าอย่างเดียวกันได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

เหตุผลในการปรับปรุง มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันและไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินการเพื่อให้ความคุ้มครองลูกจ้าง แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติบางประการ รวมทั้งเพิ่มเติมบทกำหนดโทษให้เหมาะสม เพื่อให้การคุ้มครองลูกจ้างมีประสิทธิภาพและให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองยิ่งขึ้น

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับเมื่อ พ้นเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป (บังคับ27 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ) ประเด็นที่ ๑ เปลี่ยนแปลงมาตรา 5 นิยามคำว่า นายจ้าง มาตรา 3 ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “นายจ้าง” ในมาตรา 5 ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา ๕ (ต่อ) “นายจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดย จ่ายค่าจ้างให้และหมายความรวมถึง ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนด้วย

คำว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจางเข้าทำงาน อยู่ใน พรบ คุ้มครองแรงงาน พ. ศ คำว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจางเข้าทำงาน อยู่ใน พรบ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๕๘ ในกรณีที่ ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิด ของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทำของ บุคคลใด หรือไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ ต้องกระทำของกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่ง รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับ โทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย

มาตรานี้ กรณีที่ใครที่บริษัทมอบหมายให้กระทำการ แทนบริษัทเช่น ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการฝ่ายบุคคล หัวหน้างาน ถ้าบอกเลิกจ้างหรือไล่ลูกจ้างออกโดยไม่ถูก วิธีถ้าลูกจ้างฟ้องท่านต้องเป็นจำเลยร่วมกับบริษัทด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๕ นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่ง ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น

ฝีมือ” หมายความว่า อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการ มาตรา ๕ แก้ไข **อัตราค่าจ้างตามมาตรฐาน ฝีมือ” หมายความว่า อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการ ค่าจ้างกำหนดในแต่ละสาขาอาชีพตามมาตรฐาน ฝีมือ**

“มาตรา ๙ ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็น เงินตามมาตรา ๑๐ วรรค ๒ หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่า ล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา ๗๐ หรือค่าชดเชยตาม มาตรา ๑๑๘ ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา ๑๒๐ มาตรา ๑๒๑ และมาตรา ๑๒๒ ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างใน ระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี”

“มาตรา ๑๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๑ วรรคสองห้ามมิ ให้นายจ้างเรียกหรือรับ หลักประกันการทำงานหรือ หลักประกันความเสียหายในการทำงานไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สินอื่น หรือการค้ำประกันด้วยบุคคลจากลูกจ้าง เว้น แต่ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้อง รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่ง อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ ทั้งนี้ ลักษณะ หรือสภาพของงานที่ให้เรียกหรือรับหลักประกันจากลูกจ้าง ตลอดจนประเภทของหลักประกัน จำนวนมูลค่าของ หลักประกัน และวิธีการเก็บรักษา ให้เป็นไปตามกฏเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด”

มาตรา ๑๐ (ต่อ) ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับ หลักประกัน หรือทำสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ ความเสียหายที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำ เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออก หรือประกันสัญญาสิ้นอายุ ให้นายจ้าง คืนหลักประกันพร้อมดอกเบี้ย ถ้ามีให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออก หรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุ แล้วแต่กรณี”

*** ข้อความที่แก้ไข แก้ข้อความเดิมจากห้ามเรียกเงินประกันการทำงาน เป็นห้ามเรียกหลักประกันการทำงาน ซึ่งกว้างกว่า คือห้ามรับจำนำ รับจำนองด้วย คือ ประกันภัยไม่ได้ บุคคลค้ำไม่ได้ โฉนดค้ำไม่ได้ เว้นแต่ ลักษณะและสภาพของงาน

ตำแหน่งที่อนุญาตให้เรียกเงินประกันการทำงานได้ 1. งานสมุห์บัญชี 2. งานเก็บเงิน หรือจ่ายเงิน 3. งานเฝ้าสถานที่ หรือทรัพย์สินในความรับผิดชอบ 4. งานติดตาม หรือเร่งรัดหนี้สิน 5. งานควบคุม หรือรับผิดชอบยานพาหนะ 6. งานรับผิดชอบการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้กู้ยืม ทรัพย์สิน งานธนาคาร (เฉพาะลูกจ้างที่คุมเงิน ทรัพย์สิน)

มาตรา ๑๑ หนี้ที่เกิดจากเงินที่นายจ้างต้องจ่ายตาม พระราชบัญญัตินี้ หรือเงินที่ต้องชดใช้กองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้างตามมาตรา ๑๓๕ ให้ลูกจ้างหรือกรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงาน แล้วแต่กรณี มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สิน ทั้งหมดของนายจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้ในลำดับเดียวกับ บุริมสิทธิในค่าภาษีอากรตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์”

ประมวล ก.ม. แพ่งและพาณิชย์ 253 มาตรา ๒๕๓ ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใดดังจะกล่าวต่อไปนี้ บุคคลผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ คือ ประมวล ก.ม. แพ่งและพาณิชย์ 253 (๑) ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน (๒) ค่าปลงศพ (๓) ค่าภาษีอากร (๔) ค่าจ้างเสมียน คนใช้ และคนงาน (๕) ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็น ประจำวัน

เพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้างนั้น ให้ใช้ มาตรา ๒๕๗* บุริมสิทธิในเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ เพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้างนั้น ให้ใช้ สำหรับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่า ล่วงเวลาในวันหยุดค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ และเงินอื่น ใดที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้ นับถอย หลังขึ้นไปสี่เดือนแต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งแสน บาทต่อลูกจ้างคนหนึ่ง

มาตรา ๑๑/๑“ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการ มอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดจัดหาคนมาทำงาน อันมิใช่ประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้น เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจใน ความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ และโดย บุคคลนั้นเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือ รับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างให้แก่คนที่มาทำงานนั้น หรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นลูกจ้าง และนายจ้างดังกล่าว ให้ผู้ประกอบกิจการปฏิบัติดำเนินการให้ลูกจ้าง รับเหมาค่าแรงงานที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับ ลูกจ้าง ตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

หลักเกณฑ์ตามมาตรา 11/1 ผู้ประกอบการให้บุคคลที่ไม่ใช่ผู้จัดหางานหาคนมาทำงานให้แก่ตน งานที่ให้ทำเป็นงานในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ ผู้หาคนมาทำงานจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงาน หรือจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้มาทำงานหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าผู้ประกอบการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงาน ให้ผู้ประกอบการปฏิบัติต่อผู้มาทำงานเท่าเทียมกับลูกจ้างของผู้ประกอบการ เว้นแต่ 5.1 ลักษณะงาน 5.2 สภาพของงาน ไม่อาจปฏิบัติเท่าเทียมกันได้

ข้อดีของการมีพนักงาน Subcontract คือ 1. ลด – เพิ่มคน ตามกระแสเศรษฐกิจที่ขึ้นเร็ว -ลงเร็วได้ 2. ควบคุมค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้าง & สวัสดิการบางรายการได้ 3. ถ่วงดุลย์กำลังของสหภาพแรงงานได้

ข้อเสียของการมีพนักงาน Subcontract คือ 1. จูงใจให้คนมาสมัครงานได้น้อย เพราะรู้สึกไม่มั่นคง 2. อัตราการลาออกสูง ผลงานไม่ต่อเนื่อง ไม่ผูกพันกับองค์กร 3. แบ่งแยกชนชั้นของคน ในสถานประกอบการ 4. เพิ่มคน เพิ่มงาน ควบคุมการทำงาน การเบิกจ่ายเงิน 5. หลีกเลี่ยงไม่พ้น ในกรณีที่บริษัทผู้รับเหมาไม่รับผิดชอบ

ข้อแนะนำในการจัดการ : 4 ทางเลือก 1. ปรับเป็นพนักงานประจำ ตามความจำเป็นของงาน 2. ทำสัญญาจ้างเป็นพนักงานโดยตรงแต่มีระยะเวลา 10 เดือน ( เมื่อครบ 10 เดือนแล้วเลิกจ้างจ่ายค่าชดเชย 1 เดือน ) 3. ถ้าต้องมีอยู่ให้ แยกงาน - แยกคน – แยกระดับ ให้เห็นแตกต่าง ( เช่น ตัดงานออกไปให้ผู้รับเหมาทำทั้งแผนก โดยคนของเราควบคุม ตรวจสอบ เท่านั้น ) 4. ถ้าให้ทำงานด้วยกัน / ในลักษณะงานอย่างเดียวกัน ให้ปรับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ

มาตรา ๑๔/๑ ในสัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับ ลูกจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบหรือ คำสั่ง ของนายจ้างที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้าง เกินสมควร ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบหรือคำสั่งนั้นมี ผลบังคับใช้เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี

หลักเกณฑ์ใหม่ นี้ นำมาจากมาตรา ๕ ของพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.๒๕๔๐ มาใช้บังคับให้เป็นธรรมเพื่อไม่ให้นายจ้างเอาเปรียบลูกจ้างมากเกินไป โดยให้ศาลบังคับให้เท่าที่เป็นธรรมและสมควรเท่านั้น

พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ. ศ พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 5 ข้อตกลงจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพในการประกอบอาชีพการ งาน หรือการทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ ซึ่งไม่เป็นโมฆะ แต่เป็นข้อตกลงที่ทำให้ผู้ถูกจำกัดสิทธิ หรือเสรีภาพ ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ ให้มีผลบังคับได้เพียง เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น ในการวินิจฉัยว่าข้อตกลงตามวรรคหนึ่งทำให้ผู้ถูกจำกัดสิทธิหรือ เสรีภาพต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้หรือไม่ ให้พิเคราะห์ถึง ขอบเขตในด้านพื้นที่และระยะเวลาของการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพ รวมทั้งความสามารถและโอกาสในการประกอบอาชีพการงานหรือการทำ นิติกรรมในรูปแบบอื่นหรือกับบุคคลอื่นของผู้ถูกจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพ ประกอบกับทางได้เสียทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายของคู่สัญญาด้วย

1. ลดอำนาจพนักงานตรวจแรงงาน 2. ลดอำนาจ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มาตรา 20 3. พ.ร.บ. จัดตั้งศาล ม.8 4. การเขียนสวัสดิการต้องมี 5 W 5. นายจ้างต้องทำสัญญาค่าจ้าง + ข้อบังคับ ไม่ขัดต่อกฏหมาย มาตรานี้จะไปสอดคล้องกับศาลแรงงานดังนี้

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ๒)พ. ศ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ลงราชกิจจานุเบกษา ๑๒ กันยายน ๒๕๕๐) มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “สหภาพแรงงาน” ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““สหภาพแรงงาน” หมายความว่า องค์การของลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์หรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์”

มาตรา ๘ ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้าง แรงงาน หรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ๒) คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการ คุ้มครองแรงงานกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วย แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและ คุ้มครองคนหางาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม หรือกฎหมาย ว่าด้วยเงินทดแทน

มาตรา ๘ ศาลแรงงาน (ต่อ) (๓) กรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมายว่าด้วย การคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ หรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (๔) คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานของคณะกรรมการแรงงาน สัมพันธ์หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานตามกฎหมาย ว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ ของคณะกรรมการแรงงาน รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ของ คณะกรรมการอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการ ประกันสังคม หรือของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน

มาตรา ๘ ศาลแรงงาน (ต่อ) (๕) คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและ ลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับ การทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน ทั้งนี้ ให้รวมถึง มูลละเมิดระหว่างลูกจ้างกับลูกจ้างที่เกิดจากการ ทำงานในทางการที่จ้างด้วย) (๖) ข้อพิพาทแรงงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง แรงงานขอให้ศาลแรงงานชี้ขาดตามกฎหมายว่า ด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยแรงงาน รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หรือกฎหมายว่าด้วยการจัดหา งานและคุ้มครองคนหางาน

มาตรา ๘ ศาลแรงงาน (ต่อ) (๗) คดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาล แรงงานคดีตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วย การคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมาย ว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน กฎหมาย ว่าด้วยการประกันสังคม หรือกฎหมายว่าด้วยเงิน ทดแทนบัญญัติให้ร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือ ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้จะ ดำเนินการในศาลแรงงานได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตาม ขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายดังกล่าวบัญญัติไว้แล้ว”

“มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้นายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงาน กระทำการล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศต่อลูกจ้าง”

ตัวอย่าง การล่วงเกินทางเพศ ไม่ถึงขั้นอนาจารหรือกระทำชำเรา เช่น พจนานุกรม“ล่วงเกิน” = แสดงอาการเกินสมควรต่อผู้อื่นโดยล่วงจารีตประเพณี หรือจรรยา มารยาท เช่น ลวนลาม ดูหมิ่น สบประมาท ตัวอย่าง การล่วงเกินทางเพศ ไม่ถึงขั้นอนาจารหรือกระทำชำเรา เช่น การแทะโลม การใช้โทรศัพท์หรือการพูดลามก การเอารูปลามกให้ดู การเกี้ยวพาราสีในเชิงลามกเรื่องเพศ การจับมือถือแขน

“มาตรา ๑๗ สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือ ลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้าง โดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็น หนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึง กำหนดการจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิก สัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เกินสามเดือน ทั้งนี้ ให้ ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่กำหนด ระยะเวลาด้วย

มาตรา ๑๗(ต่อ) การบอกเลิกสัญญาจ้างตาม วรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่ จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอก กล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้ การบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ใช้ บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา ๑๑๙ แห่ง พระราชบัญญัตินี้ และมาตรา ๕๘๓ แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์”

ข้อความที่แก้ไข 1. ตัดข้อความในวรรคที่สามเรื่องนายจ้างต้องให้เหตุผลในการเลิกจ้างไปบัญญัติไว้มาตรา 119 วรรคสอง 2. แก้ข้อความในวรรคสี่เดิมเป็นวรรคสามใหม่ให้ข้อความกระชับขึ้น 3. เพิ่มข้อความว่า สัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา

1) ปัญหาหากจ้างลูกจ้างทดลองงานมีกำหนดระยะเวลาแน่นอน 110 วัน - ผลจะเป็นอย่างไร - ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไหม 2) ลูกจ้างทดลองงานถ้าไม่ผ่านทดลองงานต้องเลิกจ้าง 4 อย่าง - ต้องมีใบประเมินผลงาน - ถูกฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม - ลูกจ้างทดลองงานผิดต้องเตือน - ถ้าเลิกจ้างด้วยวาจาเข้า ม.118 ว.2

มาตรา ๑๑๘ ว ๒ การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุ อื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่ สามารถดำเนินกิจการต่อไป

*** ข้อควรระวัง คือ การบอกระงับทดลองงานทุกระยะต้อง Don Nordlund 4/4/2017 มาตรา 17...สัญญาจ้างทดลองงาน เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา *** ข้อควรระวัง คือ การบอกระงับทดลองงานทุกระยะต้อง 1. จ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 งวดค่าจ้าง 2. ถ้าบอกหลังครบ 120 วัน จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย The Patent Process

หลักเกณฑ์โดยย่อ 1.นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างได้ 2.โดยการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ 3.ต้องบอกกล่าวเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใดเพื่อให้มีผลเลิกสัญญาจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า 4.นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างตามจำนวนที่ต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาจ้างแล้วให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีที่บอกเลิกก็ได้ 5.กรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ต้องระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง มิฉะนั้นนายจ้าง จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างภายหลังไม่ได้ 6.กรณีที่ไม่บอกกล่าวล่วงหน้ามีดังนี้ 6.1 สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาเมื่อครบกำหนดเวลา 6.2 เมื่อลูกจ้างกระทำผิดตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัตินี้ 6.3 เมื่อลูกจ้างกระทำผิดตามมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา ๑๘ ในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้ กำหนดให้นายจ้างต้องแจ้งการดำเนินการอย่าง หนึ่งอย่างใดหรือส่งเอกสารต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่ง อธิบดีมอบหมายหรือพนักงานตรวจแรงงาน นายจ้างจะแจ้งหรือส่งด้วยตนเองไปรษณีย์ โทรศัพท์ โทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศ กำหนด”

“มาตรา ๒๓ ให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ ลูกจ้างทราบโดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของ การทำงานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทำงานของ แต่ละประเภทงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินแปดชั่วโมงในกรณีที่เวลาทำงานในวันใด น้อยกว่าแปดชั่วโมง นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันให้นำ เวลาทำงานส่วนที่เหลือนั้นไปรวมกับเวลาทำงานในวัน ทำงานปกติอื่นก็ได้ แต่ต้องไม่เกินวันละเก้าชั่วโมง และ เมื่อรวมเวลาทั้งสิ้นแล้ว สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปด ชั่วโมง

มาตรา ๒๓ (ต่อ) เว้นแต่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่กำหนดในกฏกระทรวง ต้องมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกินเจ็ดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบสองชั่วโมง ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนที่เหลือไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นตามวรรคหนึ่งเกินกว่าวันละแปดชั่วโมงให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างรายวันและลูกจ้างรายชั่วโมงหรือไม่น้อยกว่าเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน

     มาตรา ๒๓ (ต่อ)    ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจประกาศกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันได้เนื่องจากลักษณะหรือสภาพของงาน ให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดชั่วโมงทำงานแต่ละวันไม่เกินแปดชั่วโมง หรือเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง”

“มาตรา ๖๕ ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่หรือซึ่งนายจ้างให้ ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับค่า ล่วงเวลาตามมาตรา ๖๑ และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามมาตรา ๖๓ แต่ลูกจ้างซึ่งนายจ้างให้ทำงานตาม (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) หรือ (๙) มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ หรือการเลิกจ้าง งานเร่ขายหรืองานชักชวนซื้อสินค้าซึ่งนายจ้างได้จ่ายค่านายหน้าจากการขายสินค้าให้แก่ลูกจ้าง

มาตรา ๖๕ (ต่อ) (๓) งานขบวนการจัดงานรถไฟ ซึ่ง ได้แก่งานที่ทำบนขบวนรถและงานอำนวยความ สะดวกแก่การเดินรถ (๔) งานเปิดปิดประตูน้ำหรือประตูระบายน้ำ (๕) งานอ่านระดับน้ำและวัดปริมาณน้ำ (๖) งานดับเพลิงหรืองานป้องกันอันตรายสาธารณะ (๗) งานที่มีลักษณะหรือสภาพต้องออกไปทำงานนอกสถานที่และโดยลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจกำหนดเวลาที่แน่นอนได้

มาตรา ๖๕ (ต่อ) (๘) งานอยู่เวรเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันมิใช่หน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้าง (๙) งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง”

Don Nordlund 4/4/2017 มาตรา .๖๕..กล่าวถึง มาตรา ๖๑ กรณีที่ทำงานล่วงเวลาได้อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างวันทำงานปกติ มาตรา ๖๓ กรณีที่ทำงานล่วงเวลาในวันหยุดได้อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างวันทำงานปกติ ลูกจ้างตามมาตรา ๖๕ ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับค่าจ้างในชั่วโมงทำงานปกติ The Patent Process

“มาตรา ๖๗ ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิใช่กรณีตาม มาตรา ๑๑๙ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ ตามมาตรา ๓๐” ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาหรือนายจ้างเลิกจ้างไม่ว่าการเลิกจ้างนั้นเป็นกรณีตามมาตรา ๑๑๙ หรือไม่ก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา๓๐

หลักเกณฑ์โดยย่อ 1. นายจ้างเลิกจ้างโดยมิได้มีความผิดตามมาตรา 119 2 หลักเกณฑ์โดยย่อ 1.นายจ้างเลิกจ้างโดยมิได้มีความผิดตามมาตรา 119 2.นายจ้างต้องจ่ายสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง 2.1 จ่ายตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง 2.2 จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่สะสม ข้อสังเกต 1.ลูกจ้างถูกเลิกจ้างเพราะทำผิดตามมาตรา 119 ไม่ได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2.ลูกจ้างลาออกเองได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่ลาออก

“มาตรา ๗๕ ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นโดย เหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการ ของนายจ้างจนทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ ตามปกติซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือ บางส่วนเป็นการชั่วคราว ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่ น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้าง ได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้าง ไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงาน ทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือก่อนวันเริ่มหยุดกิจการตามวรรค หนึ่งไม่น้อยกว่าสามวันทำการ

หลักเกณฑ์โดยย่อ 1.นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วคราว 2.นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มหยุดกิจการ 3.กรณีหยุดกิจการชั่วคราวเนื่องจากเหตุสุดวิสัย นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในช่วงหยุดกิจการชั่วคราว 4.กรณีหยุดกิจการชั่วคราวเพราะเหตุอื่น นายจ้างต้องจ่ายเงินไม่น้อยกว่า ร้อยละ๗๕ ของค่าจ้างในวันทำงานในช่วงหยุดกิจการชั่วคราวให้แก่ลูกจ้าง

“มาตรา ๑๑๕/๑ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ของพนักงานตรวจแรงงานตามาตรา ๑๓๙ ให้นายจ้างซึ่งมี ลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปยื่นแบบแสดงสภาพการ จ้างและสภาพการทำงานต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดี มอบหมายภายในเดือนมกราคมของทุกปี ทั้งนี้ ให้ พนักงานตรวจแรงงานส่งแบบให้ตามที่อธิบดีกำหนดให้ นายจ้างภายในเดือนธันวาคมของทุกปี

มาตรา ๑๑๕/๑ (ต่อ) ในกรณีที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างและสภาพการทำงานที่ได้ยื่นไว้ตามวรรค หนึ่งเปลี่ยนแปลงไป ให้นายจ้างแจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นหนังสือต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายใน เดือนถัดจากที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ถ้าเตือนให้ยื่นแล้ว ไม่ยื่นภายใน 15 วัน มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท Don Nordlund 4/4/2017 มาตรา 115/1. ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง เช่น มีคนเข้าใหม่ – ลาออก – เปลี่ยนหน้าที่ ให้ยื่นการเปลี่ยนแปลงภายในเดือนถัดไป ถ้าเตือนให้ยื่นแล้ว ไม่ยื่นภายใน 15 วัน มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท The Patent Process

“มาตรา ๑๑๙ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ (๑) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง (๒) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (๓) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (๔) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้าง ได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่ จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่ง ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

(๕) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมี วันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร (๖) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในกรณี (๖) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือ ความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความ เสียหาย การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้าง ไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิก สัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิก จ้าง นายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างภายหลังไม่ได้

“มาตรา ๑๒๐ในกรณีที่นายจ้างจะย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น อันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ ในการนี้ ถ้าลูกจ้างไม่สงค์จะไปทำงานด้วยให้ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายจ้าง หรือวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ แล้วแต่กรณีโดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘

มาตรา ๑๒๐(ต่อ)ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า ตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าว ล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของ การทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม ผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษ หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกจ้างบอก เลิกสัญญา ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยพิเศษ หรือค่าชดเชยพิเศษ แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสาม ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้อง ต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันครบ กำหนดการจ่ายค่าชดเชยพิเศษ หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอก กล่าวหน้า

มาตรา ๑๒๐(ต่อ) ให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน พิจารณาและมีคำสั่งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำ ร้อง เมื่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาแล้ว ปรากฏว่า ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ หรือ ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวหน้า ให้ คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานมีคำสั่งเป็นหนังสือให้ นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษ หรือค่าชดเชยพิเศษแทน การบอกกล่าวหน้า แล้วแต่กรณี ให้แก่ลูกจ้าง ภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ทราบ หรือถือว่าทราบคำสั่ง

มาตรา ๑๒๐(ต่อ) ในกรณีคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน พิจารณาแล้วปรากฏว่า ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย หรือ ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แล้วแต่กรณี ให้ คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานมีคำสั่งเป็นหนังสือและแจ้งให้ นายจ้างและลูกจ้างทราบ คำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้เป็นที่สุด เว้นแต่ นายจ้างหรือลูกจ้างจะอุทธรณ์ คำสั่งต่อศาลภายในสามสิบวันนับ แต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางหลักประกันต่อศาลตามจำนวนที่ต้องจ่ายตามคำสั่ง นั้น จึงจะฟ้องคดีได้

หลักเกณฑ์โดยย่อ 1. นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น 2 หลักเกณฑ์โดยย่อ 1.นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น 2.การย้ายดังกล่าวมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลุกจ้างหรือครอบครัว 3.นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนย้ายไม่น้อยกว่า 30 วัน 4.นายจ้างไม่แจ้งล่วงหน้า ต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้าง 30 วัน 5.ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างกับนายจ้างและได้รับค่าเชยพิเศษตามมาตรา ๑๑๘ 6.ลูกจ้างมีสิทธิยื่นขอให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานวินิจฉัยว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษหรือไม่ 7.คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานวินิจฉัยแล้ว ผู้ไม่พอใจคำวินิจฉัยต้องฟ้องต่อศาลใน 30 วัน มิฉะนั้นคำวินิจฉัยเป็นที่สุด 8.ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างภายใน 30 วันนับแต่วันย้ายสถานประกอบกิจการ หรือนับแต่วันที่คำวินิจฉัยของคระกรรมการสวัสดิการแรงงานหรือคำพิพากษาของศาลเป็นที่สุด

= ค่าจ้างอัตราสุดท้าย ค่าชดเชย ตาม ม.๑๑๘ = ค่าจ้างอัตราสุดท้าย ครบ 120 วัน ไม่ถึง 1 ปี = 30 วัน ครบ 1 ปี ไม่ถึง 3 ปี = 90 วัน ครบ 3 ปี ไม่ถึง 6 ปี = 180 วัน ครบ 6 ปี ไม่ถึง 10 ปี = 240 วัน ครบ 10 ปี ขึ้นไป = 300 วัน

มาตรา ๑๘ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๑๒๔ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน        “เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนแล้วปรากฏว่า ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดที่นายจ้างมี หน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานตรวจ แรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย ตาม แบบที่อธิบดีกำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบ หรือถือว่าได้ทราบคำสั่ง”

มาตรา ๑๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๒๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ “มาตรา ๑๒๔/๑ ในกรณีที่นายจ้างปฏิบัติ ตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา ๑๒๔ ภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือได้ปฏิบัติ ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแล้ว การ ดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้างให้เป็นอันระงับไป”

การดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้างให้เป็นอันระงับ Don Nordlund 4/4/2017 มาตรา ๑๒๔/๑ในกรณีที่นายจ้างปฏิบัติตามคำสั่งของ เจ้าพนักงาน หรือ ตามคำสั่งของศาล แล้ว การดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้างให้เป็นอันระงับ ( ลูกจ้างสามารถแยกฟ้องคดีแรงงาน กับ คดีอาญา ศาลจะแยกกันพิจารณา แต่ฉบับใหม่เห็นความยุ่งยาก จึงให้แก้ว่าถ้านายจ้างปฏิบัติตามคำสั่งแล้ว ให้ถือว่าคดีสิ้นสุด การพิจารณาของศาลอาญาระงับไปด้วย ไม่ต้องพิจารณาต่อ ) The Patent Process

มาตรา ๒๐ ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของ มาตรา ๑๒๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “เมื่อคดีถึงที่สุดและนายจ้างมีหน้าที่ต้อง จ่ายเงินจำนวนใดให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดย ธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย ให้ศาลมี อำนาจจ่ายเงินที่นายจ้างวางไว้ต่อศาลให้แก่ ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ ความตาย หรือกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรณีที่ ได้จ่ายเงินตามมาตรา ๑๓๔ ได้ แล้วแต่กรณี”

คุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง “มาตรา ๑๓๕ ในกรณีที่กรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงานได้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา ๑๓๔ แล้ว ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานสิทธิไล่เบี้ย คืนจากผู้ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องจ่ายเงินดังกล่าว ให้แก่ลูกจ้างนั้นพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี นับแต่วันที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้แก่ลูกจ้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายจะได้จ่ายเงิน ดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างอีกหรือไม่ สิทธิไล่เบี้ยตามวรรคหนึ่งให้มีอายุความสิบปีนับแต่ วันที่จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง”

มาตรา ๑๔๔/๑ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑/๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท”

“มาตรา ๑๕๕/๑ นายจ้างผู้ใดไม่ยื่นหรือไม่แจ้งแบบสภาพการ จ้างและสภาพการทำงานตามมาตรา ๑๑๕/๑ และได้รับหนังสือเตือน จากพนักงานตรวจแรงงานแล้ว ยังไม่ยื่น หรือไม่แจ้งภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือเตือน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

เงินตามพระราชบัญญัตติคุ้มครองแรงงานนี้ 11 อย่าง 1.ค่าจ้าง 2.ค่าล่วงเวลา 3.ค่าทำงานในวันหยุด 4.ค่าล่วงเวลาในวันหยุด 5.ค่าชดเชย 6.ค่าชดเชยพิเศษ 7.เงินเพิ่ม 8. เงินสะสม 9.ค่าจ้างในวันทำงาน 10.ดอกเบี้ย 11.ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

1.ค่าจ้าง อยู่ในมาตรา ๕ มีความดังนี้ "ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็น ค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงาน ปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติ ของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ตามพระราชบัญญัตินี้

ข้อสังเกต ของคำว่าค่าจ้าง 1.ค่าจ้างต้องเป็นเงินเท่านั้น 2.ต้องมีการตกลงกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเป็นหนังสือหรือตกลงด้วยวาจา 3.ค่าจ้างต้องจ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนในการทำงาน 4.ต้องเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานเวลาปกติเท่านั้น 5.ค่าจ้างยังรวมถึงเงินที่เรียกชื่อ -เบี้ยเลี้ยง -ค่าครองชีพ -เงินค่านายหน้าหรือเงินประเภทเดียวกัน -ค่าน้ำมันรถ -ค่าคอมมิชชั่นหรือค่าตอบแทนการขาย(ฎีกา 3759/2546) - ค่าชั่วโมงบิน (ฏีกา 1394/2549)

กรณีที่มิใช่ค่าจ้าง เบี้ยขยันเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อจูงใจ (ฎีกา 9313-99976/2547) เงินค่าเช่าบ้าน -เงินเพิ่มจูงใจ -เงินช่วยเหลือบุตร ค่าพาหนะ ค่าค้างคืนนอกฝั่ง(ฎีกา9016-9043/2549) ค่าเข้ากะ(ฎีกา 9154-9528/2549) ค่าที่พักอาศัยและอาหาร(ฎีกา8681/2548) ค่าชดเชยอัตราแลกเปลี่ยน (ฎีกา 2269/2549) ค่าตรวจรักษาคนไข้ (ฎีกา5345/2549) ข้อสังเกต 1.เงินค่าภาษีเงินได้และเงินสมทบที่นายจ้างจ่ายให้มิใช่ค่าจ้าง 2.สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ามิใช่ค่าจ้าง

2.ค่าล่วงเวลา อยู่ในมาตรา ๕ มีความดังนี้ "ค่าล่วงเวลา" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็น การตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน ข้อสังเกต 1.ค่าล่วงเวลาเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานล่วงเวลา 2.ต้องเป็นการทำงานนอกเวลาหรือเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงาน 3.ต้องเป็นกรณีที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาด้วยหากลูกจ้างทำเองจะเรียกค่าล่วงเวลาไม่ได้

3.ค่าทำงานในวันหยุด อยู่ในมาตรา ๕ มีความดังนี้ "ค่าทำงานในวันหยุด" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็น การตอบแทนการทำงานในวันหยุด

4.ค่าล่วงเวลาในวันหยุด อยู่ในมาตรา ๕ มีความดังนี้ "ค่าล่วงเวลาในวันหยุด" หมายความว่า เงินที่ นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการ ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด

5.ค่าชดเชย อยู่ในมาตรา ๕ มีความดังนี้ "ค่าชดเชย" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่าย ให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงิน ประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง

6.ค่าชดเชยพิเศษ อยู่ในมาตรา ๕ มีความดังนี้ "ค่าชดเชยพิเศษ" หมายความว่า เงินที่นายจ้าง จ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเพราะมี เหตุกรณีพิเศษที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้

7.เงินเพิ่ม อยู่ในมาตรา ๙ วรรค ๒ มีความดังนี้ ในกรณีที่นายจ้างจงใจไม่คืนหรือไม่จ่ายเงินตาม วรรคหนึ่งโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เมื่อพ้น กำหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ถึงกำหนดคืนหรือ จ่าย ให้นายจ้างเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างร้อยละ สิบห้าของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวัน

8.เงินสะสม มาตรา ๕ มีความดังนี้ "เงินสะสม" หมายความว่า เงินที่ลูกจ้างจ่ายเข้า กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

9.ค่าจ้างในวันทำงาน อยู่ในมาตรา ๕ มีความดังนี้ "ค่าจ้างในวันทำงาน" หมายความว่า ค่าจ้างที่จ่าย สำหรับการทำงานเต็มเวลาการทำงานปกติ

10.ดอกเบี้ย อยู่ใน มาตรา ๙ และ มาตรา ๑๐

11 ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า อยู่ในมาตรา ๑๒๑ วรรค ๒

สรุปเรื่องที่ต้องทำเฉพาะหน้า 2 เรื่อง คือ 1. การจัดการกับพนักงาน Subcontract ว่า 1.1 จะจ้างเป็นพนักงานโดยตรง หรือ 1.2 ถ้ายังต้องมีอยู่ ต้องปรับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ ( ถ้าไม่ทำถูกปรับ 100,000 บาท ) การปรับเวลาทำงานของพนักงานรายเดือนที่โรงงาน จากวันละ 9 ชั่วโมง ให้ เป็นวันละ 8 ชั่วโมง ให้ถูกต้องตามมาตรา 23 ( ถ้าไม่ทำตามปรับไม่เกิน 5,000 บาท ถ้ามีคนร้องเรียนต้องจ่ายโอที ให้คนละ 1 ชั่วโมง + อาจจะจ่ายย้อนหลังใน 2 ปีที่ผ่านมาด้วย)