ข้อมูลมีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความแตกต่างคงจะเป็นเรื่องของปริมาณ คุณภาพ ประเภท และการใช้ข้อมูล 1. ในแง่ปริมาณ ปริมาณน่าจะเพิ่มใน อัตราเร่งรัดจนเกิดสภาพที่ที่เรียกว่า การ - ระเบิดของข่าวสาร ทั้งนี้เกิดจาก 1) ค่าใช้จ่ายในการรวบรวมจัดเก็บและการ ประมวลผลถูกลง 2) ข้อมูลจำนวนมากหามาได้โดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่าย 3) สามารถหาซื้อได้เป็นจำนวนมาก
2. ในแง่คุณภาพข้อมูล เป็นที่ ยอมรับว่ามีคุณค่าการตรวจสอบความ ถูกต้อง (verification) และตรวจสอบ ความใช้ได้ (Validation) 3. ประเภทข้อมูล ข้อมูลมีหลาย ประเภทมากขึ้นดังที่ได้กล่าวไว้ในข้อที่ 3 4. การใช้ข้อมูล ข้อมูลได้ กลายเป็นทรัพยากรกลยุทธ์ (strategic resource) ที่สำคัญในการดำเนินกิจการ ต่างๆ
ถ้าวิเคราะห์ค่าของข่าวสารในแง่ของ หนี้หรือสิ่งที่จะต้องจ่าย (liability) กับสิ่งที่ เป็นสินทรัพย์ (Asset) 1. ยุคก่อนอุตสาหกรรม ข้อมูล ข่าวสารก็คงจะมีคุณค่าที่ต่ำทั้งในงาสิ่งที่ ต้องจ่าย เพราะสามารถหาได้จากแหล่ง ต่างๆ ในแง่ของผู้ที่มีข้อมูล ข่าวสารก็คง ทำให้เป็นเงินเป็นทองไม่ได้มากนัก เพราะฉะนั้นในยุคนี้จะเรียกว่า “Low Liability and Low Asset” 2. ยุคอุตสาหกรรม ในยุคนี้ผู้คนมา ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงาน ขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องเก็บหลักฐานต่าง ๆ ในการทำงาน ในระยะแรก ๆ องค์การ ต้องจ่ายเงิน
เพื่อจ้างบุคลากรดูแลงาน ซึ่งก็ หมายความว่าค่าใช้จ่ายเพิ่ม ข้อมูล ข่าวสารเริ่มแพงขึ้น เพราะฉะนั้นในยุค เริ่มต้นก็น่าจะเรียกได้ว่าเป็น “High Liability But Low Asset” 3. ยุคข่าวสาร ซึ่งเป็นยุคที่ คอมพิวเตอร์พัฒนาอยู่ในระดับมีวุฒิ ภาวะแล้ว องค์การได้ใช้ประโยชน์จาก คอมพิวเตอร์ได้อย่างกว้างขวาง คุณค่า ของข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนเป็น “Low Liability But High Asset”